ศาลแพ่งไทยปกป้องสิทธิด้านทรัพย์สินทางปัญญาของผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ ตัดสินให้โรงงานในกรุงเทพฯ ที่ละเมิดลิขสิทธิ์จ่ายค่าเสียหายให้ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์
|
. |
ศาลไทยปกป้องสิทธิด้านทรัพย์สินทางปัญญาของผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ โดยตัดสินในคดีแพ่งให้โรงงานซึ่งตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพฯ ที่ละเมิดลิขสิทธิ์จ่ายค่าเสียหายจากการใช้ซอฟต์แวร์เถื่อน |
. |
นอกจากนี้ยังคดีแพ่งอีกหลายคดี ที่บริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์ฟ้องร้องกรณีละเมิดลิขสิทธิ์อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฯ เมื่อรวมกับการตรวจค้นจับกุมบริษัทที่ละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ของตำรวจ คิดเป็นมูลค่ากว่า 150 ล้านบาทในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2552 นี้แล้ว นับว่าเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับความพยายามลดการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในประเทศไทย |
. |
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ตัดสินให้ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ด้านการออกแบบและวิศวกรรม ได้รับค่าเสียหายมูลค่า 1.8 ล้านบาท |
. |
ศาลฯ พิจารณาจากหลักฐานที่จำเลยซึ่งเป็นโรงงานผลิตพลาสติกขนาดใหญ่และมีฐานลูกค้าอยู่ในเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือได้ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ และให้ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ได้รับค่าเสียหายมูลค่า 1.8 ล้านบาท ซึ่งรวมถึงค่าความเสียหายของซอฟต์แวร์ที่ถูกละเมิด และดอกเบี้ยนับตั้งแต่มีการใช้ซอฟต์แวร์เถื่อนเป็นต้นไป |
. |
คดีนี้เริ่มต้นเมื่อปลายปี 2548 โดยการสืบสวนของตำรวจ นำไปสู่การเข้าตรวจค้นสำนักงานของบริษัทฯ และพบซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ที่พนักงานของบริษัทใช้งาน หลังจากการดำเนินคดีในศาลอาญาจึงยื่นฟ้องต่อศาลแพ่งและได้รับชัยชนะเมื่อเดือนที่แล้ว |
. |
"คำพิพากษาของศาลฯ แสดงให้เห็นอีกครั้งหนึ่งว่าบริษัทในประเทศไทยที่ใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ในการดำเนินธุรกิจต้องเผชิญกับความรับผิดในคดีอาญาและคดีแพ่ง" ลีโอนาร์ด ยัง ผู้จัดการด้านลิขสิทธิ์ในกลุ่มประเทศอาเซียนของออโต้เดสค์กล่าว "เราพยายามให้ความรู้ลูกค้าทุกรายถึงความจำเป็นในการใช้ซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้อง การฟ้องร้องดำเนินคดีเป็นทางเลือกสุดท้ายในกรณีที่ไม่สามารถตกลงกันในเชิงธุรกิจได้เท่านั้น" |
. |
ศาลฯ พิพากษาว่าจำเลยใช้ซอฟต์แวร์ที่ผิดกฎหมายในการดำเนินธุรกิจจริง การกระทำของจำเลยเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้พัฒนาซอฟต์แวร์และฝ่าฝืนกฎหมายลิขสิทธิ์ของไทย |
. |
คดีนี้เป็นคดีที่สองของปีแล้วที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางของไทยตัดสินให้ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ได้รับชัยชนะในคดีละเมิดลิขสิทธิ์ เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ออโต้เดสค์ได้รับชัยชนะในคดีละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์เป็นครั้งแรก และได้รับค่าเสียหายมูลค่า 3.5 ล้านบาท |
. |
สถิติที่ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ได้รับชัยชนะในศาลแพ่งตอนนี้อยู่ที่ 100 เปอร์เซ็นต์ และผู้เชี่ยวชาญต่างกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า การตัดสินในครั้งนี้จะเป็นต้นแบบในการดำเนินคดีกับธุรกิจที่ละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ต่อไป |
. |
"มีความเป็นไปได้ที่คดีนี้จะส่งผลให้ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ตัดสินใจนำคดีขึ้นสู่ศาลแพ่งฯ มากขึ้น" มร. โรแลนด์ ชาน ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายการตลาดประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของกลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์หรือบีเอสเอกล่าว "ตอนนี้เห็นได้ชัดแล้วว่าผู้พัฒนาซอฟต์แวร์มีโอกาสชนะในศาลแพ่งและเราหวังว่าจะมีบริษัทผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ทำเช่นนั้นมากขึ้น" |
. |
จากข้อมูลของสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย (เอทีเอสไอ) คาดว่าในปี 2552 นี้ อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของไทยจะขยายตัวในอัตราที่ต่ำลง โดยจะอยู่ที่ 5% เมื่อเทียบกับ 18-19% ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา คุณสมเกียรติ อึงอารี นายกสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยกล่าว |
. |
ว่า การบังคับใช้กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อปกป้องนวัตกรรมซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยในปีที่ถือเป็นความท้าทายอย่างยิ่งปีนี้ |
. |
"การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ก่อให้เกิดความสูญเสียมากมาย ซึ่งรวมถึงโอกาสในการจ้างงาน รายได้ เงินเดือน การจัดเก็บภาษี ตลอดจนเม็ดเงินจากการค้าปลีกซอฟต์แวร์และโปรแกรมที่ใช้ในธุรกิจ” คุณสมเกียรติกล่าว “การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์เป็นภัยต่อความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของชาติและไม่อาจยอมรับได้ คำพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ ที่ให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายนับเป็นก้าวสำคัญในการต่อสู้กับการละเมิดลิขสิทธิ์" |
. |
คุณสมเกียรติกล่าวเสริมว่า ผลของคำพิพากษาในศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ ครั้งนี้ จะเป็นแบบอย่างในการดำเนินคดีกับธุรกิจที่ละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ต่อไป |
. |
"การดำเนินคดีทางแพ่งกับผู้ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ทำให้ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ได้รับผลประโยชน์ที่สูญเสียไปจากการละเมิดลิขสิทธิ์ซึ่งถือเป็นทางเลือก นอกเหนือไปจากการดำเนินคดีทางอาญา" คุณสมเกียรติกล่าว "นี่เป็นผลสำเร็จครั้งสำคัญสำหรับผู้ประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรมและผู้ประกอบการในประเทศไทย" |
. |
นอกเหนือจากแนวโน้มที่ดีในศาลแพ่งแล้ว บริษัทผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ของไทยเองยังได้รับประโยชน์จากการบังคับใช้กฎหมายลิขสิทธิ์ไทยอย่างเข้มงวดของตำรวจกองปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี (บก.ปศท.) ซึ่งดำเนินการสืบสวนและเข้าตรวจค้นจับกุมบริษัทที่ต้องสงสัยว่าละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ จำนวนกว่า 60 บริษัทในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ |
. |
บ่อยครั้งที่การดำเนินคดีทางกฎหมายกับผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ มีเบาะแสมาจากสายด่วนของบีเอสเอ ผู้ที่รายงานการละเมิดลิขสิทธิ์ผ่านทางสายด่วนโทร. 02-714-1010 มีโอกาสได้รับเงินรางวัลสูงสุดถึง 250,000 บาท ข้อมูลของผู้รายงานจะถูกเก็บไว้เป็นความลับ |
. |
. |