นางสาวชุติมา บุณยประภัศร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (คต.) เปิดเผยว่าคณะกรรมาธิการยุโรปประกาศยกเลิก Decision 2002/231/EC และได้ออกประกาศข้อตัดสิน (Commission Decision) ว่าด้วยการจัดทำเกณฑ์ในการปิดฉลาก Eco Label สำหรับสินค้ารองเท้า ฉบับที่ L196 ลงวันที่ 28 กรกฎาคม 2552 กำหนดให้สินค้ารองเท้า (footwear รหัส 017) ที่จะปิด ฉลาก Eco Label ต้องสอดคล้องตามเกณฑ์ของ Decision ซึ่งประกอบด้วยหัวข้อหลัก 10 เรื่องคือ |
. |
1. ข้อห้าม/ข้อกำหนดสารอันตรายในผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้าย (Dangerous substances in the final product) |
. |
3. ข้อกำหนดในการปล่อยน้ำเสีย (Emissions from the production of materials) 4. ข้อห้าม/ข้อกำหนดในการใช้สารอันตราย (Use of hazardous substances) 5. ข้อกำหนดการใช้สาร VOCs สำหรับการประกอบสินค้ารองเท้าในขั้นสุดท้าย (Use of volatile organic compounds during final assembly of shoes |
. |
6. การสำแดงข้อมูลการใช้พลังงานในขั้นตอนโรงงานผลิต (Energy Consumption) 7. การบรรจุหีบห่อผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้าย (Packing of the final product) 8. ข้อมูลบนหีบห่อ (Information of the packaging) 9. ข้อมูลปรากฎบนฉลาก Eco Label (Information appearing on the Eco Label) 10. ตัวบ่งชี้ความคงทนสินค้า (parameters contributing to durability) ทั้งนี้ เกณฑ์ทางนิเวศน์วิทยา (ecological criteria) |
. |
รวมทั้งการประเมินที่เกี่ยวข้องและข้อกำหนดในการตรวจพิสูจน์ จะมีผล 4 ปี นับจากวันที่ Decision ฉบับนี้ได้รับความเห็นชอบ โดยคำขอปิดฉลาก Eco Label ที่ยื่นก่อนวันที่ Decision นี้ได้รับความเห็นชอบ จะได้รับการประเมินตามเงื่อนไขใน Decision 2002/231/EC ส่วนคำขอที่ยื่นตั้งแต่วันที่ Decision นี้ได้รับความเห็นชอบจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2553 จะใช้เกณฑ์ใน Decision 2002/231/EC หรือ Decision นี้ก็ได้อันใดอันหนึ่ง ซึ่งการปิดฉลาก Eco Label ตามเกณฑ์ใน Decision 2002/231/EC จะใช้ได้ 12 เดือน นับจากวันที่ Decision นี้ได้รับความเห็นชอบ |
. |
อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศกล่าวเพิ่มเติมว่าไทยส่งออกสินค้ารองเท้าไปสหภาพยุโรปมีมูลค่าเฉลี่ยปีละ 13,167 ล้านบาท (ปี 2549-2551) ในปี 2551 ไทยส่งออกมูลค่า 12,431 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 9 และในปี 2552 (ม.ค.-มิ.ย.) ไทยส่งออกมูลค่า 6,010 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 7 |