เป็นผู้นำเปิดโมเดลธุรกิจโลกใหม่ Globally-Integrated Enterprise ทำให้ธุรกิจการบริการทวีความสำคัญมาก ยิ่งขึ้น
a |
ไอบีเอ็มแถลงผลการดำเนินธุรกิจปี 2549 บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ องค์กรธุรกิจไทยขานรับนโยบายการสร้างนวัตกรรมในการดำเนินธุรกิจเพื่อความได้เปรียบ แตกต่างเหนือคู่แข่งและการจริญเติบโตที่ยั่งยืน พร้อมกันนี้ ไอบีเอ็มยังได้ประกาศทิศทางอุตสาหกรรมไอทีและนโยบายบริษัทฯ ในปี 2550 ที่ธุรกิจโลกกำลังปรับโมเดลการดำเนินธุรกิจไปสู่รูปแบบ Globally-Integrated Enterprise ทำให้ธุรกิจการบริการทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้น เกิดเป็นยุคเศรษฐกิจการบริการบนพื้นฐานของความก้าวหน้าด้านไอทีและการจัดการที่ทันสมัย (Modern Service Economy Era) |
a |
ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา กระแสโลกาภิวัฒน์กำลังเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจ (Business Model) ไปสู่รูปแบบที่เรียกว่า ‘Globally-Integrated Enterprise’ ที่องค์กรมองโลกเสมือนหนึ่งเดียว ไม่มีพรมแดนหรือข้อจำกัดด้านภูมิศาสตร์ องค์กรสามารถกำหนดกลยุทธ์ นโยบายและรูปแบบการจัดการ รวมทั้ง ใช้แนวทางการดำเนินงานแบบระบบเดียวใช้ทั่วโลก องค์กรสามารถจัดแบ่งและเอาท์ซอร์สส่วนงานต่างๆ ได้แก่ งานด้านบัญชี งานจัดซื้อจัดจ้างในองค์กร งานพัฒนาซอฟต์แวร์ เป็นต้น ซึ่งต่อมากลายเป็นงานบริการใหม่ๆ ที่มองหาแหล่งผลิตและผู้ให้บริการที่ใดก็ได้ในโลก (Outsourcing Services) ขณะที่ผู้รับให้บริการงานก็สามารถพัฒนาขีดความสามารถจนแข็งแกร่ง มีศักยภาพเปิดรับงานเฉพาะนั้นๆ จากผู้จ้างงานรายอื่น โดยบริษัทผู้รับงานต้องพัฒนาให้องค์กรมีปัจจัยเอื้ออำนวย ดังต่อไปนี้ •ปัจจัยด้านเศรษฐศาสตร์ว่าด้วยเรื่องของต้นทุนและกำไร (Economics) •ทักษะและความเชี่ยวชาญเฉพาะของแรงงานสำหรับชิ้นงานนั้นๆ (Expertise) ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญที่สร้างความแตกต่างและได้เปรียบในการให้งานบริการเหนือคู่แข่ง ซึ่งในยุคเศรษฐกิจใหม่นี้ จุดที่สร้างความแตกต่างคือ ระดับความรู้ (Knowledge-based) ทักษะ ความเชี่ยวชาญ และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการจัดการที่ทันสมัย •ที่สำคัญ รูปแบบธุรกิจใหม่นี้ต้อง “เปิด” (Open) ให้เกิดความร่วมมือ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่เสรี เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในการดำเนินธุรกิจ |
a |
นางศุภจี สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าวในงานแถลงข่าว A Day with IBM ถึงทิศทางอุตสาหกรรมไอทีปีหน้าว่า “ไอบีเอ็มมีบทบาทสำคัญในการนำกระแสการปรับเปลี่ยนองค์กรแบบรอบด้านไปสู่การดำเนินธุรกิจในรูปแบบ Globally-Integrated Enterprise ซึ่งไม่เพียงเป็นการสร้างโอกาสทางธุรกิจที่ยั่งยืนให้กับไอบีเอ็มเองเท่านั้น แต่ยังดึงความโดดเด่นและเสริมสร้างขีดความสามารถของบุคลากรและปัจจัยเอื้ออำนวยต่างๆ ในแต่ละประเทศ ที่ผ่านมา ไอบีเอ็มได้เปิดตลาดงานบริการสำคัญๆ ในส่วนต่างๆ ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นการเปิดส่วนงานจัดซื้อรวมศูนย์ (a global procurement mission) ขึ้นที่จีน การเปิดให้บริการ global services delivery ที่อินเดีย และส่วนงานบริหารจัดการเว็บไซต์ของบริษัทฯ ที่บราซิลและไอร์แลนด์ เป็นต้น เพราะฉะนั้น จากปีนี้เป็นต้นไป เราจะเริ่มเห็นองค์กรธุรกิจชั้นนำของโลกปรับองค์กรและโมเดลการดำเนินธุรกิจไปตามระบบใหม่นี้มากขึ้นเรื่อยๆ เกิดการสร้างงานในรูปแบบของงานบริการหลากหลายขึ้นทั่วโลก ดังนั้น จึงเป็นโอกาสอันดีที่ประเทศต่างๆ รวมทั้ง ประเทศไทย ต้องเตรียมความพร้อมและเสริมสร้างศักยภาพ เตรียมเปิดรับและสร้างประโยชน์จากธุรกิจโมเดลใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมพร้อมทักษะความเชี่ยวชาญของบุคลากรในประเทศให้มีคุณสมบัติตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานในโลกโมเดลธุรกิจใหม่ การลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคมอย่างชาญฉลาด การส่งเสริมงานวิจัยและพัฒนาแบบการผสมผสานทั้งภาคทฤษฏีและปฏิบัติ และต้องผสมผสานหลายแขนงทักษะวิชา รวมทั้ง รัฐบาลต้องช่วยสร้างเสริมบรรยากาศความร่วมมือกันทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ในประเทศและต่างประเทศ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิด ทรัพยากรเทคโนโลยี และวิธีการจัดการใหม่ๆ ไม่จำกัดอยู่แค่ที่มีในพื้นที่ |
a |
จากแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงของโลกธุรกิจใหม่ ที่กระแสโลกาภิวัฒน์และนวัตกรรมเป็นตัวผลักดันที่สำคัญ ไอบีเอ็มจึงกำหนดกลยุทธในการดำเนินบทบาททางธุรกิจในปีหน้าไว้ ดังนี้ |
a |
-ในฐานะผู้นำอุตสาหกรรมไอที ไอบีเอ็มจะให้ความสำคัญในการช่วยไทยสร้างบุคลากรไอที โมเดลธุรกิจใหม่นี้กระตุ้นให้ธุรกิจงานบริการต่างๆ รวมไปถึง งานบริการด้านไอทีมีแนวโน้มขยายตัวอย่างก้าวกระโดด ซึ่งในอุตสาหกรรมไอทีเองจะทวีความต้องการในบุคลากรที่มีทักษะและความเชี่ยวชาญด้านใหม่ กล่าวคือ นอกจากความรู้ ทักษะและความเชี่ยวชาญเชิงลึกในด้านวิศวกรรมไอที แล้ว บุคลากรไอทียุค Globally-Integrated Enterprise จำเป็นที่จะต้องมีความรู้และทักษะในด้านการกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจ ขั้นตอนการดำเนินธุรกิจ การบริหารองค์กรและทรัพยากรบุคคล ซึ่งที่ผ่านมา ไอบีเอ็มได้ร่วมมือกับสถาบันการศึกษาชั้นนำหลายแห่งพัฒนาหลักสูตร Services Sciences, Management, and Engineering (SSME) ซึ่งเป็นแขนงวิชาใหม่ที่มีหลักสูตรการสอนเน้นหนักไปที่เรื่องการสร้างนวัตกรรมการให้บริการ (Services Innovation) ได้แก่ Computer Science, Engineering, Management Sciences และ Business strategies จุดมุ่งหมายสำคัญคือ การผลิตบุคลากรที่มีทักษะ ความรู้ และความเชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่ในด้านการประยุกต์ใช้เพื่องานธุรกิจอย่างแท้จริง ซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการในตลาดธุรกิจการบริการและเทคโนโลยียุคใหม่ |
a |
ทุกธุรกิจอุตสาหกรรมต่างกำลังพัฒนาองค์กรอย่างเป็นระบบเพื่อสร้างให้เกิดมูลค่าเพิ่มในการดำเนินธุรกิจและนวัตกรรมการให้บริการ (Services Innovation) โลกธุรกิจกำลังมองหาบุคลากรที่มีความรู้และทักษะสอดรับกับความเปลี่ยนแปลงนี้ ไอบีเอ็มจึงประกาศเจตนารมย์ชัดเจนที่จะเข้ามามีบทบาทนำที่สำคัญโดยร่วมมือกับสถาบันการศึกษาชั้นนำทั่วโลก รวมทั้ง ในประเทศไทย และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องสร้างบุคลากรไอทียุคใหม่สำหรับงานด้านบริการไอที ทั้งนี้ ไอบีเอ็มมีแผนที่จะจ้างงานนักศึกษาจำนวน 50,000 คนทั่วโลกที่มีทักษะทางด้าน Service Sciences ในอีก 10 ปีข้างหน้า นางศุภจีกล่าวเสริม |
a |
-ทางด้านธุรกิจ ไอบีเอ็มเดินหน้าช่วยลูกค้าแปรระบบเป็น SOA และชูธงปรับทัพการให้บริการไอทีใหม่ภายใต้แผนงาน GTS Transformation ในส่วนของการดำเนินกลยุทธทางธุรกิจของไอบีเอ็มในปีหน้านี้ จะเน้นหนักไปที่การช่วยให้ลูกค้านำเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้เพื่อสร้างนวัตกรรมทางธุรกิจในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การสร้าง Product Innovation, Services Innovation, Business Process Innovation, Business Model Innovation และรูปแบบการจัดการองค์กรที่มีนวัตกรรม ทั้งนี้ ไอบีเอ็มยังคงสานต่อนโยบายที่ประสบความสำเร็จในการร่วมมือกับองค์กรทั้งภาครัฐและธุรกิจในทุกอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็น อุตสาหกรรมการสื่อสาร อุตสาหกรรมการขนส่ง อุตสาหกรรมการเงินการธนาคาร ภาคอุตสาหกรรม เริ่มปรับเปลี่ยนระบบไอทีและกระบวนการดำเนินธุรกิจ โดยเน้นการนำเสนอเป็นโซลูชั่นครบวงจรทั้งทางด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และบริการไอทีให้ตรงตามความต้องการและแผนงานในอนาคตของลูกค้า |
a |
ในส่วนงานของธุรกิจซอฟต์แวร์ ไอบีเอ็มจะเน้นหนักไปในเรื่องของการช่วยลูกค้าปรับระบบไอทีและกระบวนการภายในไปตามสถาปัตยกรรม Service-Oriented Architecture (SOA) เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นและประสิทธิภาพการแข่งขันในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งจากผลการศึกษา 2006
|
a |
สำหรับตลาดภาคบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งกำลังเปลี่ยนแปลงไปและกลายเป็นตลาดที่สร้างความต้องการโซลูชั่นที่เป็นนวัตกรรมในด้านเครือข่ายและการสื่อสาร ไอบีเอ็มได้เริ่มการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์กรในด้านการให้บริการและการทำงานเรื่อยมาในปี 2549 และในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา เพื่อให้การให้บริการมีความง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น บริการแรกที่ไอบีเอ็ม ประเทศไทย นำเสนอเป็นบริการแรกนี้ได้แก่ หน่วยธุรกิจบริการสื่อสารแบบครบวงจร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความมุ่งมั่นของไอบีเอ็มในการส่งมอบโซลูชั่นที่ให้บริการสื่อสารครบวงจรสำหรับลูกค้า นอกจากนี้ จะเน้นหนักในการให้บริการ IP Telephony, Network Convergence Services,
|
a |
หน่วยธุรกิจบริการสื่อสารแบบครบวงจรของไอบีเอ็มประกอบด้วย: |
a |
-บริการระบบสื่อสารแบบผนวก (Converged Communications Services) – ช่วยให้ลูกค้าสามารถเชื่อมต่อ สื่อสาร และทำงานร่วมกัน โดยใช้ประโยชน์จากการผนวกรวมเสียง วิดีโอ และข้อมูลบนมาตรฐานการสื่อสาร Internet Protocol (IP) |
-บริการจัดวางกลยุทธ์และการปรับระบบเครือข่าย (Networking Strategy and Optimization Services) – ช่วยปรับสภาพแวดล้อมเครือข่ายและการสื่อสารของลูกค้าให้สอดคล้องกับเป้าหมายทางธุรกิจ โครงการสำคัญ และความต้องการทางด้านธุรกิจ |
-บริการพกพา ไร้สาย และ เทคโนโลยีคลื่นความถี่วิทยุ (Mobility, Wireless and RFID Services) – ช่วยให้ลูกค้าสามารถกำหนดและปรับใช้กลยุทธ์สำหรับสภาพแวดล้อมที่ใช้ระบบพกพา ไร้สาย และ เทคโนโลยีคลื่นความถี่วิทยุ |
-บริการติดตั้งและบริหารจัดการเครือข่าย (Network Integration and Management Services) – ช่วยให้ลูกค้า ปรับปรุง และปรับเปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐานทางด้านเครือข่าย เพื่อลดค่าใช้จ่าย ผนวกรวมเทคโนโลยีใหม่ๆ ขยายจุดติดตั้งเพิ่มเติม ปรับปรุงประสิทธิภาพ เพิ่มความรวดเร็วในการตอบสนองและความพร้อมใช้งาน และรองรับโครงการสำคัญๆ ทางด้านธุรกิจ |