เนื้อหาวันที่ : 2009-08-17 10:35:03 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1268 views

รัฐทุ่ม 180 ล้านหนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมด้วยซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส

เนคเทค เผยรัฐทุ่มเม็ดเงินกว่า 180 ล้านบาทดำเนินโครงการ "พัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ด้วยโอเพนซอร์ส" ภายใน 3 ปีคาดผู้ประกอบการคอมพิวเตอร์ของไทยเข้าร่วมโครงการ ไม่น้อยกว่า 60 บริษัท

.

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ 14 สิงหาคม 2552 : กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือเนคเทค ประกาศความพร้อมดำเนินการตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลภายใต้งบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจ ตามแผนปฎิบัติการไทยเข้มแข็ง ส่งเม็ดเงินลงทุน 180 ล้านบาทดำเนินโครงการ "พัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ด้วยโอเพนซอร์ส"

.

ในกรอบระยะเวลา 3 ปี คาดจะมีผู้ประกอบการคอมพิวเตอร์ของไทยเข้าร่วมโครงการ Local brand PC : Ecolonux ไม่น้อยกว่า 60 บริษัท เพิ่มบุคลากรด้านโอเพนซอร์สได้ 27,000คน ยกระดับขีดความสามารถนักพัฒนาและโครงสร้างพื้นฐานให้พร้อมสำหรับกิจกรรมทางธุรกิจซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส ที่สำคัญคือ ช่วยลดการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ของประเทศไทย

.

ดร.วิรัช ศรเลิศล้ำวาณิช ผู้ช่วยผู้อำนวยการเนคเทค กล่าวถึงแผนการดำเนินโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ด้วยโอเพนซอร์ส ภายใต้งบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจตามแผนปฎิบัติการไทยเข็มแข็งว่า "เนคเทค จะดำเนินการพัฒนาโอเพนซอร์สซอฟต์แวร์ที่เหมาะสมกับคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ประกอบขายภายในประเทศ (Local brand PC)

.

โดยจะดำเนินการร่วมกับบริษัทผู้ผลิตและนักพัฒนาโอเพนซอร์สซอฟต์แวร์ใน ประเทศไทยเพื่อออกแบบโอเพนซอร์สซอฟต์แวร์ให้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้งานและผนวกโอเพนซอร์สซอฟต์แวร์ลงบนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา เพื่อมุ่งสู่การขยายการใช้งานโอเพนซอร์สซอฟต์แวร์ในตลาดซอฟต์แวร์ ทั้งนี้เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายทั้งทางเศรษฐกิจและทางสังคม               

.

ได้แก่ การประหยัดต้นทุนอันเกิดจากการจ่ายค่าลิขสิทธิซอฟต์แวร์ การสร้างนักพัฒนาซอฟต์แวร์ที่มาจากส่วนของชุมชนโอเพนซอร์สซอฟต์แวร์ และส่วนของการใช้งานต้องเร่งสร้างความเข้าใจตลอดจนการใช้งานในหน่วยงานภาครัฐ โดยให้การฝึก-อบรม หลักสูตรการใช้งาน และการเตรียม call center และคลังความรู้เพื่อตอบคำถามและให้เป็นแหล่งหาคำตอบด้านการ ใช้งานที่ผู้ใช้สามารถเข้าถึงได้ทุกเมื่อ" 

.

โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ด้วยโอเพนซอร์ส ภายใต้งบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจตามแผนปฎิบัติการไทยเข็มแข็ง เนคเทคได้รับจัดสรรงบประมาณจำนวน 180 ล้านบาทภายในระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี โดยผลการดำเนินงานที่คาดว่าจะได้รับตลอดโครงการ คือ มีระบบปฎิบัติการลินุกซ์ 3 เวอร์ชั่น , อบรมบุคลากรด้านโอเพนซอร์สได้จำนวน 27,000 คน , บุคลากรเข้าทดสอบทักษะจำนวน 4,800 คน ,      

.

เกิดผู้ประกอบการคอมพิวเตอร์ของไทยเ Local brand PC : Ecolonux ไม่น้อยกว่า 60 บริษัท , ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สพื้นฐาน มีความพร้อมใช้งานในระดับดีเยี่ยม ที่สำคัญที่สุดคือ จะเกิดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่พร้อมสำหรับกิจกรรมทางธุรกิจและพร้อมสำหรับนักพัฒนา ลดปัญหาการละเมิดซอฟต์แวร์ลิขสิทธิของประเทศไทย

.

ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สเป็นซอฟต์แวร์ที่ได้รับการพัฒนาจากนักวิจัยทั่วโลก ซึ่งมีมาตรฐานระดับสากลและเปิดซอร์สโค้ดให้แก่บุคคลทั่วไป ซึ่งรวมถึงนักวิจัยและพัฒนาซอฟต์แวร์ สามารถนำมาใช้ต่อยอดเชิงการวิจัยและพัฒนา ตลอดจนต่อยอดเชิงธุรกิจได้ โดยทราบทั่วกัน เนคเทค ได้เริ่มมีส่วนในการผลักดันการใช้งานซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สมาตั้งแต่ปี 2540 และยังคงส่งเสริม สนับสนุนแนวคิดของซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส

.

เพื่อพัฒนาบุคลากรและลดการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์อย่างต่อเนื่อง ผลักดันให้เกิดความร่วมมือในขององค์กรภาครัฐ ภาคเอกชนได้กว่า 30 องค์กร สร้างเครือข่ายความร่วมมือ อาทิ ความร่วมมือ เรื่อง "การร่วมวิจัยและพัฒนาซอฟต์แวร์" กับ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อผลักดันการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ ผ่านงานวิจัยและพัฒนาของเนคเทค ผนวกเข้ากับเทคโนโลยีของไมโครซอฟท์

.

เพื่อพัฒนาสู่การใช้งานที่เปิดกว้าง ข้ามแพล็ตฟอร์ม และความร่วมมือการส่งเสริมการใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส ระหว่าง เนคเทค กับผู้ประกอบธุรกิจคอมพิวเตอร์ คือ บริษัท เอสวีโอเอ จำกัด (มหาชน) บริษัท โพเวล คอมพิวเตอร์ จำกัด บริษัท ซิเน็ค ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) และกลุ่มบริษัท ดีคอมพิวเตอร์ จำกัด เป็นการแสดงให้เห็นถึงการผลักดันการใช้งานซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส สู่การใช้งานในเชิงธุรกิจ ช่วยลดปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ ทำให้เกิดการสร้างโอกาสในการพัฒนาซอฟต์แวร์สู่ตลาด

.

โดยนักวิจัยไทย คอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส จะช่วยสร้างความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์รวมทั้งยังเป็นการแสดงถึงภาพลักษณ์ของผู้ประกอบธุรกิจ และเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้การพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อส่งเสริมธุรกิจ สู่การใช้งานในประเทศ เพิ่มศักยภาพความเป็นไปได้ในการพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อการผลิตและจำหน่ายภายในและส่งออกต่างประเทศ

.
.