เนื้อหาวันที่ : 2006-11-17 17:09:20 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1640 views

ไอบีเอ็มเปิดเผยผลการวิจัย เอาท์ซอร์สไอทียังเติบโต

บริษัทที่มีการทำเอาท์ซอร์สทางไอที มีมูลค่าถึง 50 ล้านเหรียญดอลล่าร์ และมีการพัฒนาด้านธุรกิจระยะยาวเมื่อเปรียบเทียบกับคุ่แข่งขัน

นาย สุราษฎร์ เลิศภูมิปัญญา กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไอบีเอ็ม โซลูชั่นส์  ดิลิเวอรี่ จำกัด กล่าวว่า เพื่อที่จะเอาท์ซอร์สให้เกิดประโยชน์กับบริษัท บริษัทจำเป็นต้อง มีความเข้าใจชัดเจนว่ากลยุทธ์ทางไอทีสามารถนำมาสนับสนุนกลยุทธ์ทางธุรกิจได้อย่างไร และเข้าใจถึงสถานะปัจจุบันของโครงสร้างพื้นฐานทางไอที เพื่อที่จะวัดว่าส่วนงานใดของบริษัทที่ควรทำการเอาท์ซอร์ท และ มีรูปแบบในการปกครองพนักงานที่ดี เพื่อที่จะควบคุมทีมงานและวัดผล  ซึ่งไอบีเอ็มสามารถช่วยเหลือลูกค้าในด้านนี้ ตั้งแต่การออกแบบโมเดลทางธุรกิจจนกระทั่งการวางรากฐานและจัดการการสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานทางไอที ทางไอบีเอ็ม มีความเชื่อว่าการลงนามสัญญาและการควบคุมที่ดี จะทำให้องค์กรได้รับประโยชน์นานัปประการจากการเอาท์ซอร์สเฉพาะส่วน ซึ่งมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นในเอเซีย แปซิฟิก

a

จากการศึกษาล่าสุด ได้มีการวัดผลกระทบระยะยาวของการทำเอาท์ซอร์สทางไอทีที่มีต่อผลประกอบการของธุรกิจ และพบว่าบริษัทที่มีการทำเอาท์ซอร์สทางไอที มีมูลค่าถึง 50 ล้านเหรียญดอลล่าร์ และมีการพัฒนาด้านธุรกิจระยะยาวเมื่อเปรียบเทียบกับคุ่แข่งขัน จากบริษัทต่างชาติจำนวน 56 บริษัทที่สอบถาม ที่ได้มีการทำสัญญาทางไอที พบว่าร้อยละ 63 มีการพัฒนาด้านรายได้เร็วกว่าคู่แข่งขันในธุรกิจเดียวกัน ร้อยละ 74 สามารถลดค่าใช้จ่ายด้านการขาย ค่าใช้จ่ายทั่วไปและค่าใช้จ่ายด้านธุรการ (SG&A: Selling, General and  Administrative Expenses) เมื่อเปรียบเทียบกับธุรกิจเดียวกัน และมากกว่าร้อยละ 60 สามารถเอาชนะคู่แข่งขันในด้านผลตอบแทนทางสินทรัพย์ที่มากขึ้นหลังจากมีการเริ่มการทำเอาท์ซอร์สทางไอทีเป็นเวลา 2-3 ปี  การศึกษาวิจัยนี้ ประกอบด้วยบริษัทจำนวน 38 บริษัทไม่ใช่ลูกค้าไอบีเอ็ม ในขณะที่บริษัทจำนวน 18 บริษัทเป็นลูกค้าของไอบีเอ็ม บริษัทที่มีการเอาท์ซอร์สทางไอที ล้วนตระหนักถึงการปรับปรุงการดำเนินธุรกิจในระยะยาวได้ดังนี้ 

         -การเติบโตทางรายได้ที่สูงขึ้น หลังจากการเอาท์ซอร์สทางไอที บริษัทที่ทำการเอาท์ซอร์ททางไอที มีการเติบโตทางรายได้ในแต่ละปี ในอัตราร้อยละ 11.8 มากกว่าอัตราเฉลี่ยของอุตสาหกรรมโดยรวม

         -ค่าใช้จ่ายด้านการขาย ค่าใช้จ่ายทั่วไปและค่าใช้จ่ายด้านธุรการ หรือค่าใช้จ่ายด้านเอส จีแอนด์เอลดลง หลังจากที่มีการเอาท์ซอร์สทางไอทีประมาณ 1-2 ปี บริษัทที่มีการเอาท์ซอร์ททางไอที สามารถลดอัตราค่าใช้จ่ายด้านนี้ได้ถึงร้อยละ9.9 เมื่อเปรียบเทียบอัตราเฉลี่ยของอุตสาหกรรมโดยรวม

         -การเติบโตด้านผลตอบแทนทางสินทรัพย์ (Return on Asset) ก่อนการทำเอาท์ซอร์ส อัตราการเติบโตของผลตอบแทนทางสินทรัพย์ อยู่ที่ร้อยละ 7.5 ซึ่งเป็นอัตราที่น้อยกว่าอัตราเฉลี่ยของอุตสาหกรรมโดยรวม หลังจากเอาท์ซอร์ททางไอทีไปสองถึงสามปี บริษัทที่มีการทำเอาท์ซอร์สทางไอที มีการเติบโตทางไอทีร้อยละ 8.6 ซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่าอัตราเฉลี่ยของอุตสาหกรรมโดยรวม

a
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ใช้การวิเคราะห์เชิงปริมาณ จัดทำโดยนักวิทยาศาสตร์ด้านวิทยาศาสตร์ตัวเลข ที่สถาบันวิจัยไอบีเอ็ม วัตสัน  นักวิจัยได้วิเคราะห์ผลการดำเนินงานทางด้านการเงินของแต่ละบริษัท เป็นเวลา 2 ปีก่อนการทำเอาท์ซอร์สและวัดผลเปรียบเทียบผลการดำเนินการภายหลังการทำเอาท์ซอร์สแล้วเป็นเวลา 3 ปี ทีมงานการวิจัยของไอบีเอ็ม มีลิขสิทธิ์ที่รอการจดทะเบียนเพื่อป้องกันทรัพย์สินทางปัญญา เนื่องจากการวิจัยทางสถิตินี้ จะช่วยทำให้เกิดเทคนิคใหม่ ๆ ในการวัดการเปลี่ยนแปลงด้านผลการดำเนินงานของธุรกิจในช่วงระยะยาวได้