เนื้อหาวันที่ : 2009-07-30 12:14:03 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 2210 views

การโจรกรรมข้อมูลระดับโลก ภัยคุกคามเอเชียแปซิฟิก

หากจะนึกถึงเหตุการณ์ใหญ่ที่เกิดขึ้น และส่งผลกระทบทั่วโลกอย่างแท้จริง น่าจะเป็นข่าวการเสียชีวิตของไมเคิล แจ็คสัน ซึ่งถือเป็นเรื่องใหญ่มากถึงกับทำให้เครื่องมือการค้นหาของกูเกิลต้องหยุดชะงักเมื่อผู้คนจากทั่วโลกพากันเข้ามาค้นหาข่าวสารเกี่ยวกับการตายที่เกิดขึ้นก่อนเวลาอันสมควรของแจ็คสัน

.

เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา หากจะนึกถึงเหตุการณ์ใหญ่ที่เกิดขึ้น และส่งผลกระทบทั่วโลกอย่างแท้จริง น่าจะเป็นข่าวการเสียชีวิตของไมเคิล แจ็คสันเมื่อวันที่ 25 มิถุนายนที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นเรื่องใหญ่มากถึงกับทำให้เครื่องมือการค้นหาของกูเกิลต้องหยุดชะงัก

.

เมื่อผู้คนจากทั่วโลกพากันเข้ามาค้นหาข่าวสารเกี่ยวกับการตายที่เกิดขึ้นก่อนเวลาอันสมควรของแจ็คสัน ในเบื้องต้นกูเกิลตีความเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับบริการของตนว่าเป็นการโจมตีของมัลแวร์ สาเหตุก็เพราะเป็นที่ทราบกันดีกว่าอาชญากรไซเบอร์มักจะใช้ประโยชน์จากเหตุการณ์ในลักษณะดังกล่าวในรูปแบบของเทคนิคกลลวงทางสังคม (Social Engineering) ของตนเอง

.

แน่นนอนว่าอาชญากรไซเบอร์ย่อมไม่ปล่อยเวลาให้สูญเปล่าในการใช้ประโยชน์จากเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ในครั้งนี้ หลังจากที่ข่าวดังกล่าวเผยแพร่ อาชญากรไซเบอร์ได้ดำเนินการปรับปรุงบ็อต ข้อความสแปม และซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสลวงในทันทีเพื่อใช้เหตุการณ์นี้เป็นกลลวงทางสังคมและหลอกล่อให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจำนวนมากดาวน์โหลดส่วนของโค้ดที่เป็นอันตราย

.

หัวข้อกลลวงทางสังคมอีกอย่างหนึ่งที่อาชญากรไซเบอร์ยังคงใช้ประโยชน์ได้เป็นอย่างดีก็ คือ การแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดใหญ่ H1N1 ที่กำลังขยายตัวเพิ่มขึ้นทั่วโลก ในเดือนมิถุนายน องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ยกระดับความร้ายแรงของการแพร่ระบาด H1N1 เป็นระดับ 6 ส่งผลให้ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตที่กังวลเกี่ยวกับพัฒนาการของไวรัสที่กำลังแพร่ระบาดอยู่นี้ (โดยเฉพาะในแถบเอเชียซึ่งมีจำนวนผู้ติดเชื้อที่ได้รับการยืนยันแล้วว่ากำลังขยายตัวในอัตราที่น่ากลัว) อาจตกเป็นเหยื่อของการโจมตีทางไซเบอร์ที่ใช้หัวข้อนี้ในรูปแบบของกลลวงทางสังคม เช่น SEO poisoning (การเพิ่มประสิทธิภาพการค้นหาลวง) ที่จะเกิดขึ้นกับผลลัพธ์การค้นหาของพวกเขาได้

.

สำหรับการโจมตีแบบมีเป้าหมายที่สำคัญอีกอย่างในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก คือ การโจมตีแบบฟิชชิง ซึ่งทำให้ผู้เสียภาษีในออสเตรเลียตกอยู่ในภาวะเสี่ยงที่จะโดนขโมยข้อมูลส่วนบุคคลจากอาชญากรไซเบอร์ ขณะที่ผู้ใช้ทวิตเตอร์ (Twitter) ก็ยังคงเป็นหนึ่งในเหยื่อเป้าหมายที่อาชญากรไซเบอร์ให้ความสำคัญมากที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากจำนวนผู้ใช้กว่า 19 ล้านรายทั่วโลก (และการใช้งานในเอเชียกำลังขยายตัวเพิ่มขึ้น) ทำให้มัลแวร์ อย่าง Koobface เริ่มแทรกซึมเข้าไปยังกลุ่มประชากรทวิตเตอร์ที่กำลังขยายตัวอยู่ในขณะนี้

.

รูปที่ 1:  ประเทศที่มีผู้ใช้ทวิตเตอร์

*ที่มา: http://www.alexa.com/siteinfo/twitter.com
.
การแพร่ระบาดของภัยคุกคาม 

ตารางที่ 1 และ 2 ด้านล่างจะแสดงรายชื่อประเทศ และมัลแวร์ที่ติดอันดับสูงสุดจากการพิจารณาจำนวนของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดมัลแวร์ ซึ่งได้มาจากรายงานของศูนย์ติดตามไวรัสทั่วโลก (World Virus Tracking Center: WTC) บริษัท เทรนด์ ไมโคร อิงค์

.

ตารางที่ 1:  รายงาน 12 อันดับแรกของประเทศที่มีจำนวนพีซีติดมัลแวร์สูงสุด

.

ตารางที่ 2: รายงาน 20 อับดับแรกของมัลแวร์ที่มีจำนวนพีซีติดเชื้อสูงสุด

 .