เนื้อหาวันที่ : 2009-07-14 16:26:37 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1375 views

หอการค้าหวั่นเสรีอาเซียนทำอุตฯต้นน้ำส่อปิดกิจการ

ม.หอการค้าจี้รัฐหามาตรการรับมือเปิดเสรีอาเซียน ชี้อุตสาหกรรมต้นน้ำไทยเสี่ยงปิดกิจการ แรงงานวิชาชีพถูกแย่ง เสียแชมป์ส่งออกข้าว

ดร.อัทธ์  พิศาลวานิช  ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้ะหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

.

ดร.อัทธ์  พิศาลวานิช  ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้ะหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึง ผลศึกษา "ผลกระทบของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC) ต่อ เศรษฐกิจการค้าของไทย ใน 6 ปีข้างหน้า" ว่า จากการศึกษาพบว่า ภายหลังมีการรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนมีผลบังคับใช้ อย่างเต็มรูปแบบในปี 2558  ไทยจะมีการเกินดุลการค้าเพิ่มขึ้นเป็นมูลค่า 8,396.9 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับ ปี 2551 มีการเกินดุลมากขึ้น 1,400.8 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ หรือ 46,786.7 ล้านบาท

.

การเกินดุลมาจากการส่งออกไทยไปอาเซียนในปี 2558 จะมีมูลค่า 40,126.7 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ เทียบกับปี 2551 มีการส่งออกเพิ่มขึ้น 4,805.0 ล้านเหรียญฯ หรือ 2.7 % จาก ปี 2551 เฉลี่ยส่งออกเพิ่มขึ้นปีละ 646.4 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ หรือ 22,925.8 ล้านบาท

.

โดยสินค้าที่ทำให้ไทยส่งออกเพิ่มขึ้นและเกินดุลมากที่สุดคือ กลุ่มยานยนต์ และชิ้นส่วน ,เกษตรแปรรูป  โดยส่งออกไป อินโดนีเซีย มาเลเซีย ขณะเดียวกัน สินค้าที่ไทยจะมีการนำเข้าเพิ่มขึ้นจนทำให้ขาดดุลคือ อินโดนีเซีย ลาว พม่า และมาเลเซีย

.

ดร.อัทธ์ กล่าวต่อว่า แม้ไทยจะมีการเกินดุลและส่งออกมากขึ้น แต่ในเวลาเดียวกันควรต้องเข้าไปศึกษาในโครงสร้างการผลิต และการนำเข้าวัตถุดิบ ในระบบห่วงโซ่การผลิต (Supply Chain) ว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เนื่องจากข้อตกลงใน AEC จะ มีส่วนทำให้เคลื่อนย้ายสินค้า เงินทุน และแรงงานอย่างเสรี จะเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างด้านการนำเข้าวัตถุดิบ จากที่เคยใช้ในประเทศไปเป็นการไปใช้จากบางประเทศในอาเซียน โดยเฉพาะสินค้า ปิโตรเลียม และแร่ธาตุ รวมถึงกลุ่มโรงงานอุตสากหรรมที่เกี่ยวข้องกับต้นน้ำอาจจะต้องได้รับผลกระทบ

.

"ในอนาคตจะมีการนำเข้าวัตถุดิบเข้ามาจากประเทศรอบอาเซียนซึ่งมีต้นทุนถูกกว่า ทั้งประมง จากมาเลเซีย  และ สิ่งทอ จากอินโดนีเซีย ซึ่งมีต้นทุนที่ถูกกว่าเป็นสิ่งที่ภาครัฐควรการศึกษาในรายละเอียดรวมถึงหา มาตรการตั้งรับอย่างดี รวมถึงภาคแรงงานในอุตสาหกรรมที่เป็นต้นน้ำ จะต้องถูกเลิกจ้าง หากมีการย้ายฐานการผลิตไปหาแรงงานที่ถูกกว่า ตลอดจน แรงงานวิชาชีพ  อย่างเช่น แพทย์ วิศวกร บัญชี และอาจารย์ จากประเทศในอาเซียนจะเข้าแย่งงานในประเทศในไทยเพิ่มขึ้น" เขากล่าว

.

นายชัยนันท์  อุโฆษ กุล ประธานคณะอนุกรรมการการค้าระหว่างประเทศ สภาหอการค้าไทย กล่าวว่า สิ่งที่ทางเอกชนกังวลคือสินค้าเกษตร ที่จะเริ่มเปิดเสรีในปี 2553 จะมีการลดภาษี และไม่มีโควตา จะมีผลกระทบต่อข้าวไทยพอสมควร เพราะจะมีการนำเข้าโดยเสรี สินค้าที่กระทบกับไทยมากที่สุด คือข้าว จะมีการนำเข้าข้าวในในประเทศข้างเคียงที่มีราคาถูกกว่าเข้ามา

.

หากไม่มีมาตรการควบคุม ในอนาคต ไทยจะต้องเสียแชมป์เบอร์หนึ่ง  ประเทศ ที่เป็นผู้ส่งออกข้าวมากที่สุด ในปี 5 ปีข้างหน้า ดังนั้นควรเร่งหามาตาการควบคุมการค้าชายแดน และควบคุมผู้ที่ฉกฉวยโอกาสเอาสินค้ากประเทศอื่นเข้ามาโดยไม่คำนึงถึงคุณภาพ

.
ที่มา : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์