เนื้อหาวันที่ : 2006-03-10 13:20:23 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1897 views

สคส.สัญจร งัดไม้เด็ด นำนักวิจัยรุ่นใหม่ต่อโจทย์วิจัยจากองค์ความรู้ชาวบุรีรัมย์

การจัดการความรู้กำลังกลายเป็นกระแสหลักต่อความตื่นตัวขององค์กร หน่วยงานหรือชุมชน ในการนำไปใช้ในการพัฒนาคน งาน หรือองค์กร

.

ปัจจุบันการจัดการความรู้ได้กลายเป็นกระแสหลักที่ทำให้หน่วยงาน  องค์กรหรือชุมชน ตื่นตัวต่อการนำความรู้ไปใช้ โดยเห็นว่าเป็นเครื่องมือหนึ่ง ที่จะช่วยให้การพัฒนาคน พัฒนางาน พัฒนาองค์กร ให้มีประสิทธิภาพ และคุณภาพเพิ่มขึ้น

.

สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) ในฐานะองค์กรที่ส่งเสริมสนับสนุน และทั้งขับเคลื่อนสังคมไทยให้ไปสู่สังคมแห่งความรู้ทุกภาคส่วน ได้จัดกิจกรรมในรูปแบบแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หรือ กิจกรรม KM สัญจร ครั้งที่ 3 ในวันที่ 6 – 8 มีนาคม 2549 ที่ผ่านมา ณ ตำบลสนามชัย อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมุ่งเป้าไปที่ โครงการเครือข่ายนักจัดการความรู้ระดับชุมชน จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งเป็นโครงการที่ผลักดัน

.

สคส.มีส่วนเข้าไปกระตุ้นให้เกิดกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ "การจัดการความรู้" ระดับชาวบ้าน เป็นเครื่องมือ นำเกษตรกร "เรียนรู้ร่วมกัน" ภายใต้ความตระหนักที่ว่า ความรู้มีอยู่ ต้องแสวงหา เรียนรู้ ทดลองความรู้ ให้ได้ผลลัพธ์ที่นำไปสร้างบ้านแปงเมือง ให้กินอิ่มนอนอุ่น มีความรู้เพียงพอที่จะอาศัยอยู่ในพื้นที่นั้นให้ได้ ทั้งนี้

 .

สคส. ได้นำนักวิจัย และนักวิชาการจากทั่วประเทศ ไปร่วมเรียนรู้ องค์ความรู้ในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมจากประสบการณ์ตรงของชาวบ้าน และที่สำคัญเพื่อเป็นการคิดโจทย์วิจัยระดับประเทศจากความรู้ชาวบ้านอันน่าทึ่ง อาทิ ศูนย์การเรียนรู้เกษตรพอเพียงและฟาร์มโคขุน-ต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง"คันนาเงินหมื่น"หรือ"คันนาแก้จน" การเลี้ยง "หมูกู้อีจู้" และ การใช้ปุ๋ย "โบกาฉิ" ที่ช่วยทำให้พริกยาวขึ้นอย่างน่าอัศจรรย์ ผลจากการพัฒนาความรู้ระดับชาวบ้านนี้เองได้กลายเป็นงานวิจัยเล็กๆ ที่ก่อตัวขึ้นจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงของเกษตรกรชาวบุรีรัมย์ ซึ่งเห็นผลเป็นรูปธรรมที่สามารถจะเป็นต้นแบบของการพึ่งตนเอง สู่การแก้ปัญหาความยากจนได้อย่างยั่งยืน

.

ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ผอ.สคส. กล่าวว่า การวิจัยจากการต่อยอดองค์ความรู้ชาวบ้าน หมายความว่า ความรู้มีอยู่แล้ว แต่อาจจะยังไม่ดีพอ หรือ มีความรู้แล้วก็ไม่เหมาะที่จะนำไปใช้โดยทั่วไปซึ่งความรู้เดิมที่ชาวบ้านมีอยู่แล้ว  นักวิจัย และนักวิชาการควรหารูปแบบ ที่สามารถต่อยอดความรู้จากชาวบ้าน และพัฒนาเป็นโจทย์วิจัย นำความรู้นั้นไปพัฒนาหาคำตอบ กระทั่งสามารถนำความรู้กลับคืนความรู้สู่ชุมชนได้ จึงจะเป็นการวิจัยที่สมบูรณ์อย่างแท้จริง นักวิจัยหรือนักพัฒนา ต้องไม่มองว่าชาวบ้านไม่มีความรู้ เพราะแท้จริงแล้วชาวบ้านความรู้มีอยู่มากมาย เป็นความรู้ปฏิบัติ แต่ปัญหาก็คือ ชาวบ้านอธิบายไม่ได้ว่าความรู้เหล่านั้นเกิดจากอะไร ดังนั้น โครงการวิจัยฯ ต่างๆทั่วประเทศ ควรจะหาทางวิจัยเรื่องเกษตรพอเพียง โดยเข้าไปต่อยอดจากความรู้ชาวบ้าน ให้ชาวบ้านสร้างโมเดล ในการทำกิจกรรมการเรียนรู้ของชุมชน และเอาความรู้ของชาวบ้านมาต่อยอด ให้ความรู้นั้นเกิดวิทยาการที่เหมาะสม ในการใช้ประโยชน์ของชุมชนต่อไป ศ.ดร.วิชัย บุญแสง ฝ่ายวิชาการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) กล่าวว่า จุดสำคัญที่นักวิจัยรุ่นใหม่ มาเรียนรู้ร่วมกับชาวบ้าน เพื่อให้ได้มีมุมมองในการทำวิจัย ที่จะช่วยให้งานวิจัยนั้นกลับมาตอบโจทย์องค์ความรู้ที่ชาวบ้านต้องการ โดยช่วยยกระดับให้องค์ความรู้นั้นสูงขึ้น และเป็นยอมรับกันในวงกว้างได้

 .

 .

อย่างไรก็ตาม ตนเชื่อว่านักวิจัยที่มาศึกษาองค์ความรู้ และภูมิปัญญาจากชาวบ้านครั้งนี้ ส่วนใหญ่ได้มุมมองใหม่ในการทำวิจัย ที่จะช่วยให้นักวิจัยคิดต่อโจทย์วิจัยได้ไม่ยาก ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่ที่ชาวบ้านต้องการคำตอบจากองค์ความรู้ที่ตนเองทดลองนั้น เช่น เรื่องจุลินทรีย์ และธาตุอาหารที่มีประโยชน์ต่างๆในดิน หรือในพืช แม้กระทั่งสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืชและสัตว์ ที่มีอยู่ในน้ำหมักจุลินทรีย์ ที่ชาวบ้านทดลองทำขึ้นเพื่อลดการใช้สารเคมี และลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำลง ทั้งนี้มองว่า ประเด็นเกษตรอินทรีย์ หรือการทำเกษตรแบบผสมผสานอาจจะมีกำไรไม่มาก แต่เกษตรกรสามารถพึ่งตนเองได้ ที่สำคัญชาวบ้านมีความสามารถพัฒนาองค์ความรู้ขึ้นมาใช้กับอาชีพของตนเองได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี เกิดประโยชน์ต่อตัวเองและชุมชน

.

สำหรับนักวิจัยจะช่วยไขปัญหา และความรู้ใหม่ให้ชาวบ้านได้ไม่ยากนัก ซึ่ง สกว. ได้เชิญนักวิจัยในแถบภาคอีสานจำนวนหนึ่งมาเรียนรู้ในพื้นที่ใกล้เคียง ซึ่งเป็นต้นแบบของการใช้องค์ความรู้จากภูมิปัญญา ที่จะเป็นตัวกระตุ้นให้นักวิจัย หันมาให้ความสำคัญกับประเด็นเกษตรอินทรีย์มากขึ้นด้วย เพราะที่ผ่านมางานวิจัยด้านนี้จะมีน้อยมาก ทั้งๆที่เป็นประเด็นที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั้งประเทศ

.

ด้าน ดร. วาริน อินทนา ผู้เข้าข่ายชุดโครงการเกษตรอินทรีย์ สำนักวิชาการเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กล่าวว่า การได้มาศึกษาด้านเกษตรอินทรีย์ ได้ประโยชน์มาก เนื่องจากทำวิจัยด้านเกษตรอินทรีย์โดยตรง และต้องการเห็นว่าระหว่างนักวิชาการ กับเกษตรกรจะสามารถเชื่อมโยงความรู้กันได้อย่างไร เพราะตนเอง ประสบปัญหาจากการเชื่อมงานวิจัยกับเกษตรกรในพื้นที่ภาคใต้มาก่อน เมื่อได้มาเรียนรู้กระบวนการจัดการความรู้กับเกษตรกรชาวบุรีรัมย์ ก็ช่วยให้เข้าใจชาวบ้านมากขึ้น และได้เห็นเทคนิค วิธีการสร้างความรู้ของชาวบ้านขึ้นใช้เอง จากการรวมกลุ่มแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความรู้ของชาวบ้าน ซึ่งเป็นสิ่งที่นักวิจัยรุ่นใหม่ต้องศึกษาองค์ความรู้จากชาวบ้านให้มาก

.

ทั้งนี้ยังเห็นว่าพลังของเกษตรกรที่เรียนรู้ร่วมกัน เป็นพลังที่สำคัญที่นักวิจัยควรจะให้ความสำคัญ แม้จะมีเพียงกลุ่มเล็กๆ แต่ในอนาคตเกษตรกรเหล่านั้นจะสามารถพัฒนาตัวเองเป็นหัวหน้าฐานที่เข้มแข็งของชุมชน ที่จะช่วยเชื่อมโยงองค์ความรู้ของชาวบ้านกับฝ่ายวิชาการให้เกิดประโยชน์และทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี กิจกรรม KM สัญจรจึงเป็นกิจกรรมหนึ่งของ สคส.ที่เข้าไปกระตุ้นให้เกิดการใช้ การจัดการความรู้ขึ้นในคนทุกกลุ่มของสังคมไทย เพื่อร่วมกันสร้างสมดุลของการพัฒนาประเทศ

.

ทั้งนี้ยังเห็นว่าพลังของเกษตรกรที่เรียนรู้ร่วมกัน เป็นพลังที่สำคัญที่นักวิจัยควรจะให้ความสำคัญ แม้จะมีเพียงกลุ่มเล็กๆ แต่ในอนาคตเกษตรกรเหล่านั้นจะสามารถพัฒนาตัวเองเป็นหัวหน้าฐานที่เข้มแข็งของชุมชน ที่จะช่วยเชื่อมโยงองค์ความรู้ของชาวบ้านกับฝ่ายวิชาการให้เกิดประโยชน์และทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี กิจกรรม KM สัญจรจึงเป็นกิจกรรมหนึ่งของ สคส.ที่เข้าไปกระตุ้นให้เกิดการใช้ การจัดการความรู้ขึ้นในคนทุกกลุ่มของสังคมไทย เพื่อร่วมกันสร้างสมดุลของการพัฒนาประเทศ