อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทยหรือซายน์พาร์ค "นิคมวิจัยแห่งแรกของไทย" จับมือทั้งภาครัฐและเอกชนจัดงาน "Services@TSP 2009" รวบรวมบริการสนับสนุนภาคเอกชนจากหน่วยงาน สวทช. ด้วยบริการที่หลากหลาย
ซายน์พาร์ค เปิดบ้านหนุนเอกชนด้วยบริการ R&D ครบวงจร อาทิ ให้พื้นที่เช่า, เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ, ให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยี, วิเคราะห์ทดสอบ, บริการฐานความรู้ด้านการวิจัย ฯลฯ อีกทั้งยังเป็นที่ตั้งของ 4 ศูนย์วิจัยแห่งชาติ ช่วยเอกชนแข่งขันธุรกิจด้วยเทคโนโลยี เมื่อเอกชนเติบโตได้ ย่อมสร้างศักยภาพทางเศรษฐกิจให้ประเทศได้เช่นกัน |
. |
อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทยหรือซายน์พาร์ค(Thailand Science Park: TSP) "นิคมวิจัยแห่งแรกของไทย" ภายใต้ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี (Technology Management Center : TMC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ดำเนินกิจกรรมวิจัยและพัฒนาเพื่อเสริมสร้างระบบนวัตกรรมของประเทศ พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการที่ตอบสนองความต้องการของธุรกิจเทคโนโลยี ล่าสุด ซายน์พาร์คได้ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน จัดงาน "Services@TSP 2009" ซึ่งเป็นงานนิทรรศการที่รวบรวมบริการสนับสนุนภาคเอกชนจากหน่วยงาน สวทช. ด้วยบริการที่หลากหลาย |
. |
ดร.สุพัทธ์ พู่ผกา รองผู้อำนวยการศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี(TMC) |
. |
ดร.สุพัทธ์ พู่ผกา รองผู้อำนวยการศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี(TMC) กล่าวเปิดงานว่า อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทยมีบริการต่างๆให้กับภาคเอกชนทั้งบริษัทที่อยู่ในอุทยานวิทยาศาสตร์ฯและบริษัทเอกชนทั่วไปเพื่อสร้างศักยภาพทางการแข่งขัน เนื่องจากไทยมีเศรษฐกิจเป็น Sandwich Economy คือ ถูกขนาบข้างด้วยประเทศที่มีขีดความสามารถทางการแข่งขันด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสูง มีความสามารถในการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าและผลิตภัณฑ์ อีกทั้งยังถูกขนาบข้างด้วยประเทศที่มีค่าแรงต่ำและมีสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการลงทุน |
. |
ดังนั้นซายน์พาร์คซึ่งเป็นหน่วยงานภาครัฐจึงสนับสนุนการพัฒนาขีดความสามารถทางการแข่งขันเพื่ออำนวยประโยชน์ให้กับภาคเอกชนผ่านกลไกสนับสนุนและบริการต่างๆ ทั้งนี้เชื่อมั่นว่าหากภาคเอกชนสามารถประกอบธุรกิจได้ดีย่อมหมายถึงความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนของประเทศด้วยเช่นกัน |
. |
ดร.เจนกฤษณ์ คณาธารณา ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย |
. |
ดร.เจนกฤษณ์ คณาธารณา ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย กล่าวแนะนำซายน์พาร์คว่า อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทยเป็นนิคมวิจัยที่มีบนพื้นที่กว่า 200 ไร่และให้บริการด้านต่างๆ อาทิ การให้บริการพื้นที่เช่าและโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, บริการเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ, การให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยี, บริการวิเคราะห์ทดสอบ, บริการฐานความรู้ด้านการวิจัย ฯลฯ อีกทั้งยังเป็นที่ตั้งของ 4 ศูนย์วิจัยแห่งชาติได้แก่ เนคเทค ไบโอเทค เอ็มเทค และนาโนเทค เพื่อให้บริการด้านงานวิจัยและพัฒนาหรือนำไปสู่การสร้างความร่วมมือและต่อยอดด้านงานวิจัยแก่ภาคเอกชน |
. |
ด้านทำเลที่ตั้งของอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทยนั้นยังติดกับสถาบันการศึกษาชั้นนำ ได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร และยังมีบริษัทเอกชนทั้งไทยและต่างชาติ เช่าพื้นที่เพื่อที่วิจัยกว่า 60 ราย จึงเป็นทำเลที่มีความพร้อมสูงสุดสำหรับกิจกรรมวิจัยและพัฒนา อีกทั้งเป็นที่ซึ่งมีนักวิจัยจากภาครัฐและเอกชนมากกว่า 2,000 คน ทำให้เป็นแหล่งรวมบุคลากรที่มีความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขนาดใหญ่ |
. |
ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย กล่าวอีกว่า นอกจากบริการที่ได้รับจากหน่วยงานต่างๆ ที่ตั้งอยู่ในอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทยแล้ว เอกชนผู้เช่าพื้นที่จะได้รับสิทธิและประโยชน์จากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเทียบเท่า BOI Zone 3 และการยกเว้นภาษีในการทำวิจัยและพัฒนา 200%จากกรมสรรพากร |
. |
อีกทั้งยังสามารถเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆที่อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทยจัดเตรียมไว้ให้ เช่น ศูนย์ประชุมที่มีพื้นที่แสดงนิทรรศการขนาด 2,000 ตารางเมตร และห้องประชุมขนาดใหญ่จุ 350 ที่นั่ง ห้องประชุมที่พร้อมสำหรับการจัดประชุมทางไกล (Teleconference และ Video Conference) ฐานข้อมูลงานวิจัย |
. |
. |
รวมถึงระบบโทรคมนาคมความเร็วสูง กิจการที่เริ่มก่อตั้งและกิจการขนาดเล็ก สามารถเช่าใช้พื้นที่เพื่อการทำวิจัยและพัฒนาภายในฝ่ายบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยีด้วยอัตราพิเศษ กิจการขนาดใหญ่สามารถเลือกระหว่างพื้นที่ในอาคารหรือที่ดินเปล่า เพื่อสร้างอาคารสำหรับการวิจัยและพัฒนาของตนเอง พร้อมด้วยการให้บริการทางเทคนิค การเงิน บุคลากร ธุรกิจ |
. |
จากบริการและการสนับสนุนที่ตอบสนองความต้องการของธุรกิจเทคโนโลยีนี้ยังส่งผลให้ระยะที่ 1 ของอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทยถูกเช่าใช้จนเต็มพื้นที่ ทำให้ต้องมีการขยายพื้นที่ใช้สอยของอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย เพิ่มขึ้นอีก โดยจะเป็นการก่อสร้าง อาคารกลุ่มนวัตกรรม 2 ซึ่งประกอบไปด้วย 4 อาคารที่เชื่อมต่อกัน มีพื้นที่ใช้สอยกว่า 124,000 ตรม. โดยอาคารนี้ออกแบบภายใต้แนวความคิด "Work-Life Integration" ที่ส่งเสริมให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ให้ผู้เช่ามีความยืดหยุ่นในการทำงานเหมาะสมกับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปในปัจจุบันอีกด้วย |
. |
อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทยจึงเป็นคำตอบหนึ่งที่พร้อมจะสนับสนุนภาคเอกชนไทยให้ก้าวสู่การแข่งขันด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันจะนำไปสู่การสร้างศักยภาพทางเศรษฐกิจให้กับประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป |