โครงการเหมืองแร่โปแตชอาเซียนวุ่น รัฐบาลหวั่นสะดุด บริษัทยุบ ขาดรายได้ สั่งเดินหน้าโครงการต่อ จี้บริษัทหาพันธมิตรเข้าร่วมทุน โปรยยาหอมเน้นคุมเข้มมาตรการป้องกันผลกระทบสิ่งแวดล้อม สร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่
. |
นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ(ครม.เศรษฐกิจ)พิจารณาความเหมาะสมแนวทางดำเนินโครงการเหมือนแร่โปแตชของอาเซียนในระยะต่อไป เนื่องจากเป็นโครงการสำคัญจึงต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับขั้นตอนของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะการป้องกันและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม และการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียในพื้นที่ |
. |
ทั้งนี้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต้องสร้างความชัดเจนของเงื่อนไขด้านการป้องกันและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพื่อให้สามารถทราบต้นทุนดำเนินการ และกำหนดตารางเวลาการพิจารณาที่ชัดเจน ก่อนให้กระทรวงการคลังดำเนินการตามขั้นตอนอื่นๆ ต่อไป |
. |
"กระทรวงการคลังเห็นว่าโครงการนี้มีประโยชน์ที่จะสามารถลดการนำเข้าโปรแตช และเพิ่มรายได้จากการส่งออกมูลค่าหลายร้อยล้านดอลลาร์ต่อปี เพื่อความมั่นคงในการจัดหาปุ๋ยให้กับภาคการเกษตรในต้นทุนที่ต่ำกว่า รวมถึงการจ้างงาน ผลพลอยได้ทางอุตสาหกรรมต่อเนื่องในภาคอีสาน" นายพุทธิพงษ์ กล่าว |
. |
ที่ประชุมฯ เสนอให้บริษัทคัดเลือกพันธมิตรเข้าร่วมทุน และให้กระทรวงการคลังคงสัดส่วนการถือหุ้นไม่ต่ำกว่า 20% ตลอดโครงการ โดยระหว่างคัดเลือกพันธมิตร กระทรวงการคลังควรซื้อหุ้นเพิ่มทุนตามสัดส่วนวงเงินไม่เกิน 100 ล้านบาทเพื่อแก้ไขปัญหาสภาพคล่อง พร้อมทั้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสนับสนุนการเปิดพื้นที่และขอประทานบัตร เพราะหากไม่ได้รับการสนับสนุนโครงการจะเดินต่อไม่ได้จนต้องยุบบริษัท |
. |
"กระทรวงการคลังชี้แจงว่าโครงการขาดสภาพคล่องในการดูแลเหมือง อาจจะส่งผลให้เหมืองถล่มและมีผลให้เงินลงทุน 1 พันล้านบาทสูญเปล่า และหากไม่ได้รับการเปิดพื้นที่โครงการจะหยุดชะงัก" นายพุทธิพงษ์ กล่าว |
.. |
ปัจจุบัน บริษัทร่วมทุนเมืองแร่โปรแตชอาเซียน อยู่ระหว่างการหาพันธมิตรร่วมทุนใหม่ ซึ่งผู้ถือหุ้นเดิมเป็นฝ่ายไทย 71% และสมาชิกอาเซียน ได้แก่ บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย และสิงคโปร์ ที่ถือหุ้นรวมกัน 29% โดยกระทรวงการคลังลงทุนไปจำนวน 257.4 ล้านบาท และได้ยุบเลิกบริษัทร่วมทุน แล้วให้ผู้ถือหุ้นไทยทุกรายเข้าถือหุ้นโดยตรงในบริษัทเหมืองแร่ฯ |
. |
"นายกฯ ขอให้ไปดูในเรื่องการแก้ปัญหาในพื้นที่ที่อาจต้องนำเรื่องเข้าพิจารณาต่อที่ประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติในส่วนของเทคนิค ขณะที่การประทานบัตรทางบริษัทฯ ขอรับอนุญาต 10,000 ไร่ แต่กระทรวงทรัพย์ฯ อนุญาตให้ 2,500 ไร่ซึ่งก็ต้องไปดู รวมทั้งต้องดำเนินตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ 2550 ทั้งเรื่อง EIA HIA และปฏิบัติตตามความเห็นขององค์กรอิสระ" นายพุมธิพงษ์ กล่าว |