โรงไฟฟ้าจะนะ จังหวัดสงขลา เป็นโรงไฟฟ้าที่มีเทคโนโลยีทันสมัยใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงและนับเป็นอีกก้าวย่างที่สำคัญของ กฟผ. ในการให้ชุมชนได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
. |
โรงไฟฟ้าสีเขียว |
การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย โดยเฉพาะภาคใต้ตอนล่าง ได้ก่อให้เกิดความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงขึ้นถึง 1,400 เมกะวัตต์ ในขณะที่โรงไฟฟ้าที่มีอยู่ในพื้นที่จำนวน 2 โรงที่สามารถจ่ายไฟฟ้าได้ตลอดเวลาคือ โรงไฟฟ้าขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราชและโรงไฟฟ้ากระบี่ จังหวัด กระบี่ สามารถจ่ายไฟฟ้าได้รวมกันประมาณ 1,100 เมกะวัตต์ |
. |
และเมื่อผนวกกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนรัชชประภา จังหวัดสุราษฎร์ธานี และโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนบางลาง จังหวัดยะลา ที่จะเดินเครื่องเสริมระบบไฟฟ้าเฉพาะช่วงที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดในแต่ละวันอีก 300 เมกะวัตต์ ซึ่งยังไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ไฟฟ้าได้ จึงต้องส่งพลังงานไฟฟ้าจากภาคกลาง พร้อมทั้งซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านมาช่วยเสริมให้ภาคใต้มีไฟฟ้าใช้อย่างเพียงพอสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง |
. |
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบ ต่อการจัดหาและผลิตพลังงานไฟฟ้าให้เพียงพอต่อความต้องการของประเทศไม่เคยนิ่งนอนใจ ได้วางแผนสร้างโรงไฟฟ้าแห่งใหม่ เพื่อขยายกำลังการผลิตไฟฟ้าในพื้นที่จังหวัดสงขลา |
. |
. |
ทำให้ โรงไฟฟ้าจะนะ ถือกำเนิดขึ้น โดยเป็นโครงการที่บรรจุอยู่ในแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ พ.ศ. 2547-2558 (Power Development Plam : PDP 2004) ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้างเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2548 เพื่อช่วยเสริมสร้างและพัฒนาความมั่นคงให้กับระบบไฟฟ้าของประเทศไทย |
. |
โรงไฟฟ้าจะนะ จังหวัดสงขลาเป็นโรงไฟฟ้าที่มีเทคโนโลยีทันสมัยใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง และนับเป็นอีกก้าวย่างที่สำคัญของ กฟผ. ในการให้ชุมชนได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ พร้อมแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ตรงตามความต้องการของประชาชน ทำให้ได้รับการสนับสนุนด้วยดีจากชุมชนในพื้นที่ |
. |
ตลอดจนหน่วยงานราชการ และองค์กรส่วนท้องถิ่นต่างๆ ซึ่ง กฟผ. ได้นำข้อมูลที่ได้ไปปรับใช้ในแผนการดำเนินงานโครงการ ควบคู่ไปกับการพัฒนาชุมชนในทุกๆ ด้าน ทั้งการส่งเสริมการพัฒนาอาชีพ การศึกษา สังคม วัฒนธรรม และดูแลรักษาสภาพแวดล้อม กลายเป็นความร่วมมือที่นำมาซึ่งความไว้วางใจต่อกัน เกิดเป็นโรงไฟฟ้าสีเขียวที่สร้างรอยยิ้มอันเปี่ยมสุขให้แก่สมาชิกของชุมชน พร้อมๆ กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ชุมชน |
. |
. |
จ่ายไฟฟ้าสู่ระบบ |
โรงไฟฟ้าจะนะ บ้านควนหัวช้าง ตำบลคลองเปียะ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา โรงไฟฟ้าแห่งใหม่ของประเทศไทย ภายใต้การดำเนินงานของ กฟผ. ได้เดินเครื่องเข้าระบบแล้วเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2551 โดยได้รับเกียรติจากพลโทหญิงพูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังาน เป็นประธานในพิธีขนานเครื่องจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบพร้อมด้วย นายสนธิ เตชานันท์ ผู้ว่าราชการ จังหวัดสงขลา นายสมบัติ ศานติจารี ผู้ว่าการ กฟผ. ข้าราชการ เอกชน และประชาชน ร่วมเป็นเกียรติในงาน |
. |
จากนี้ไป โรงไฟฟ้าจะนะ คือหนึ่งในโรงไฟฟ้าที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศด้วยกำลังผลิตติดตั้ง 731 เมกะวัตต์ ใช้ก๊าซธรมชาติจากแหล่งพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย (Malaysia-Thailand Joint Development Area : JDA) เป็นเชื้อเพลิงในอัตราสูงสุด 130 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน |
. |
โดยผลิตไฟฟ้าเสริมความมั่นคงในระบบไฟฟ้าภาคใต้ และรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มสูงขึ้นจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ ภายใต้การดำเนินงานของ กฟผ. ที่มุ่งสร้างความมั่นคงของระบบฟ้า ควบคู่กับการสร้างความมั่นคงในวิถีชีวิตของชุมชนและสังคมรอบๆ โรงไฟฟ้า ร่วมกับสมาชิกทุกคนในชุมชน เพื่อให้ประโยชน์ที่เกิดขึ้นเป็นไปตามความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริงสมกับที่โรงฟ้าจะนะเป็นโรงไฟฟ้าต้นแบบแห่งการมีส่วนร่วมของชุมชน |
. |
. |
โรงไฟฟ้าต้นแบบแห่งการมีส่วนร่วมของชุมชน |
จากการเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลาโรงไฟฟ้าจะนะ ได้ทำหน้าที่สมาชิกที่ดีของสังคมแห่งนี้ ด้วยการดูแลและสนับสนุนเพื่อสร้างเสริมความสุขอย่างยั่งยืนให้แก่ชุมชนและท้องถิ่นในทุกๆ ด้าน กิจกรรมมากมายที่ กฟผ. ได้ดำเนินการตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ประกอบด้วยการสนับสนุนงบประมาณพัฒนาคุณภาพชีวิตสำหรับหมู่บ้านในอำเภอจะนะ ปีละกว่า 5 ล้านบาท |
. |
มอบทุนการศึกษาปีละกว่า 3.5 แสนบ้าน บริจาคเงินจำนวน 20 ล้านบาท เพื่อจัดตั้งมูลมิธิประมงคลองนาทับ สร้างเสริมสมดุลย์ธรรมชาติด้วยการปล่อยพันธุ์สัตว์นำสู่คลองนาทับ ปีละ 1 ล้านตัว พัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐาน ทั้งการปรับปรุงถนนหนทางและพัฒนาแห่งน้ำ พร้อมส่งเสริมการประกอบสัมมาชีพด้านเกษตรกรรม ทั้งการอบรมการทำน้ำหมักชีวภาพและปุ๋ยหมักชีวภาพจัดทำแปลงสาธิตเกษตรแบบผสมผสาน และส่งเสริมการปลูกข้าวแบบเกษตรกรรมธรรมชาติ |
. |
อีกทั้งสนับสนุนกิจกรรมทางศาสนาทั้งการสนับสนุนการซ่อมแซมและก่อสร้างมัสยิด จัดโครงการร่วมละศีลอดของศาสนาอิสลาม และจัดทอดกฐินสามัคคีในวันออกพรรษา เป็นต้น ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างโรงไฟฟ้าจะนะกับชาวบ้านเป็นไปอย่างสร้างสรรค์ พร้อมร่วมมือร่วมใจกันพัฒนาชุมชนให้รุ่งเรือง |
. |
นอกจากกิจกรรมดังกล่าวข้างต้น กิจกรรมอันโดดเด่นที่ กฟผ. ได้เข้าไปร่วมสนับสนุนและส่งเสริมในบริเวณพื้นที่อำเภอจะนะ จนส่งผลอย่างเป็นรูปธรรม ได้แก่ การส่งเสริมการทำกะปิคลองนาทับ การทำกรงนกคลองเปียะและการปลูกป่าชายเลน เป็นต้น |
. |
. |
กะปิตำบลนาทับ ก้าวไกลสู่กสากล |
กะปิกุ้งเคยของตำบลนาทับ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา เป็นกะปิที่มีชื่อเสียงด้านความอร่อยมาช้านาน ด้วยทำจากกุ้งเคยล้วนๆ ไม่มีวัสดุใดเจือปน ผ่านกระบวนการผลิตซึ่งเป็นกรรมวิธีแบบภูมิปัญญาชาวบ้านที่ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น กฟผ. ได้เข้าไปร่วมให้การสนับสนุนการทำกระทำกะปิของกลุ่มแม่บ้านตำบลนาทับในปี 2547 ในรูปแบบของงบประมาณ และความช่วยเหลือด้านการอบรมให้ความรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานด้านการผลิต รวมถึงส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า |
. |
ปัจจุบันคณะกรรมการการอิสลามจังหวัดสงขลา ได้ออกหนังสือรับรองมาตรฐานอิสลามหรือที่เรียกว่า "ตราฮาลาลา" ให้แก่กะปินาทับที่ผ่านการอบรมจากโครงการ ทำให้สามารถจัดจำหน่ายไปยังประเทศมาเลเซีย ตะวันออกกลางและประเทศมุสลิมทั่วโลก และ กฟผ. ยังได้นำเสนอรัฐบาลให้กะปิตำบลนาทับเป็นโครงการวิสาหกิจชุมชนเพื่อให้มีการพัฒนาและขยายผลอย่างต่อเนื่อง |
. |
. |
กรงนกจะนะ ศิลปะแห่งภูมิปัญญา |
จากการที่ กฟผ. ได้เห็นชาวบ้านตำบลคลองเปียะ อำเภอจะนะ กลุ่มเล็กๆ ทำกรงนกขายเป็นวิถีชีวิตที่แสดงศิลปะแห่งภูมิปัญญาอันนำรายได้มาสู่ครัวเรือน ที่ไม่เพียงเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์เท่านั้น หากยังก่อให้เกิดกระบวนการแห่งความร่วมมือ ที่สร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน กฟผ. จึงได้เข้าไปส่งเสริมและสนับสนุนด้านเครื่องมือและอุปกรณ์ |
. |
. |
จัดหาแบบกรงนก ให้คำแนะนำปรึกษา และแนะนนำช่องทางการตลาด จนกลุ่มมีการพัฒนารูปแบบการผลิต สามารถทำลวดลายต่างๆ เพิ่มมูลค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์ ขายกรงนกได้ราคาสูงขึ้น ทำให้คุณภาพชีวิตของชาวบ้านดีขึ้น ในปัจจุบัน กฟผ. ได้แนะนำแนวทางเพื่อการวางแผนต่อยอดสู่อนาคต เช่น การทำเครื่องหมายการค้าหรือเอกลักษณ์ที่แสดงให้เห็นแหล่งที่มาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป |
. |
การทำกรงนกของกลุ่มเยาวชนคลองเปียะในวันนี้ แม้จะเป็นเพียงกลุ่มเล็กๆ ที่รอวันเติบโต แต่ก็นำความภาคภูมิใจมาสู่โรงไฟฟ้าจะนะที่ได้มีส่วนร่วมในความสำเร็จของชุมชน พร้อมสานต่อภูมิปัญญาชาวบ้านให้คงอยู่เป็นมรดกของลูกหลานสืบไป |
. |
. |
. |
พลิกฟื้นป่าชายเลน พลิกฟื้นวิถีชีวิต |
ปัญหาสำคัญอีกปัญหาหนึ่งที่ กฟผ. พบเมื่อเข้าไปเริ่มโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าจะนะคือ การบุกรุกทำลายป่าชายเลนจนทำให้ทรัพยากรสัตว์น้ำที่เคยมีอยู่อย่างสมบูรณ์ลดน้อยลง กฟผ. ได้เข้าไปให้ความรู้ถึงประโยชน์ของป่าชายเลน จนได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากชาวบ้าน และผู้นำส่วนท้องถิ่น |
. |
เช่น องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ตลอดจนโรงเรียนในพื้นที่ และกรมทรัพยากรชายฝั่งทะเล มาช่วยกันปลูกป่าชายเลนให้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ โดย กฟผ. ได้จัดหาพันธุ์ไม้พร้อมทำงานร่วมกับชาวบ้าน จนสามารถปลูกป่าชายเลนได้ถึง 200 ไร่ในปัจจุบัน |
. |
. |
จากการดำเนินงานที่ผ่านมา ความสำเร็จของโรงไฟฟ้าจะนะในวันนี้ ได้สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นเพื่อประโยชน์สุขของประเทศชาติและประชาชน ด้วยการตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมของชุมชน อันเป็นรากฐานที่สำคัญในการพัฒนาประเทศ กฟผ. จะยังคงเดินหน้าต่อไปเพื่อจัดหาและผลิตพลังงานไฟฟ้าให้เพียงพอต่อความต้องการของประเทศควบคู่ไปกับการสร้างรอยยิ้มและความสุขให้แก่สมาชิกทุกคนในสังคม |