คอลลิเออร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ระบุบริษัทต่างชาติหลายแห่งได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก ส่งผลกระทบต่อธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ และอพาร์ทเม้นท์สำหรับชาวต่างชาติ เหตุความต้องการลดลง
คอลลิเออร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย บริษัทผู้นำทางด้านธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับตลาดที่อยู่อาศัยให้เช่าในกรุงเทพมหานคร |
. |
. |
นายปฏิมา จีระแพทย์ กรรมการผู้จัดการ คอลลิเออร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย กล่าว "บริษัทต่างชาติหลายแห่งเลือกประเทศไทยเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากว่าประเทศไทยมีความพร้อมในด้านต่างๆ ทั้งระบบโทรคมนาคม และระบบการขนส่ง อีกทั้งค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตประจำวันยังน้อยกว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเดียวกัน |
. |
แต่ในช่วงปลายปีที่ผ่านมาบริษัทต่างชาติหลายแห่งได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก ทำให้ต้องปิดตัว หรือลดขนาดขององค์กรลง โดยเฉพาะในธุรกิจบริการ และอุตสาหกรรมการผลิต ซึ่งส่งผลกระทบต่อธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ และอพาร์ทเม้นท์สำหรับชาวต่างชาติ เนื่องจากว่าความต้องการลดลง และงบประมาณในการเช่าที่อยู่อาศัยที่ถูกปรับลดลง" |
. |
นางสาวอานุช ฤทธิชัยเสรี ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ฝ่ายที่อยู่อาศัย คอลลิเออร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ให้ความเห็นเกี่ยวกับชาวต่างชาติที่เข้ามาทำงานและอาศัยอยู่ในประเทศไทยว่า "หลายๆคนถูกลดค่าใช้จ่ายเรื่องที่อยู่อาศัย ซึ่งจะมีผลกระทบต่อตลาดที่อยู่อาศัยในระดับบน ถึงแม้ว่าตลาดระดับกลางยังคงมีลูกค้าเข้าพักอยู่ในระยะสั้น |
. |
และจากการที่บริษัทหลายแห่งได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกจนต้องปิดตัว หรือลดขนาดขององค์กรลง ทำให้มีผลกระทบต่อธุรกิจเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ และอพาร์ทเม้นท์สำหรับชาวต่างชาติในกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะในย่านสุขุมวิท ที่มีชาวญี่ปุ่นที่เป็นกลุ่มลูกค้าหลัก" |
. |
นางสาวริษิณี สาริกบุตร ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและให้คำปรึกษา กล่าวว่า "การขยายตัวเพิ่มขึ้นของเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ใหม่ บวกกับที่มีอยู่เดิมนั้น ส่งผลให้การแข่งขันในย่านสุขุมวิทมีค่อนข้างสูง ซึ่งในช่วงไตรมาสแรกของปี 2552 มีชาวต่างชาติที่เข้ามาทำงานใหม่และอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯราวๆ 1,496 ราย ทำให้สามารถคาดการณ์ได้ว่าจำนวนหนังสือยินยอมการทำงานใหม่ในปี 2552 มีแนวโน้มลดลง และด้วยเหตุนี้ทำให้อัตราการเช่าเฉลี่ยในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2552 ลดลงอยู่ที่ 73.1 เปอร์เซ็นต์ และต่ำกว่าจุดสูงสุดในปี 2548 17.07 เปอร์เซ็นต์" |
. |
จากความต้องการที่ลดลงทำให้อัตราค่าเช่าเฉลี่ยต่อตารางเมตรของเซอร์วิส อพาร์ทเม้นท์ เกรด เอ ลดลง 4 เปอร์เซ็นต์ จาก 1,256 บาทต่อตารางเมตร ต่อเดือน เป็น 1,210 บาทต่อตารางเมตร ต่อเดือน อย่างไรก็ตามอัตราค่าเช่าเฉลี่ยของเซอร์วิส อพาร์ทเม้นท์ เกรด บี ในไตรมาสแรกของ ปี 2552 ลดลง จากปี 2551 ราว 2 เปอร์เซ็นต์ |
. |
จาก 898 บาทต่อตารางเมตร เป็น 881 บาทต่อตารางเมตร ต่อเดือน ในไตรมาสแรกของ ปี 2552 ซึ่งคาดการณ์ได้ว่า อัตราค่าเช่าเฉลี่ยของ เซอร์วิส อพาร์ทเม้นท์ เกรด บี จะลดลง 10 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ เซอร์วิส อพาร์ทเม้นท์ เกรด เอ จะลดลง 15 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2552 |
. |
นางสาวอานุช กล่าวเสริมว่า "ตลาดอพาร์ทเม้นท์สำหรับชาวต่างชาติในกรุงเทพฯ มีแนวโน้มที่ดีในช่วงปี 2551 แต่ในช่วงปลายปีเดียวกันก็ส่อเค้าถึงช่วงขาลงอย่างชัดเจน อย่างไรก็ตามในขณะที่การว่างงานมีมากขึ้น แต่ตลาดอพาร์ทเม้นท์ก็ยังมีแนวโน้มสดใสอยู่ แต่ในสภาวะเศรษฐกิจในขณะนี้ชาวต่างชาติที่เข้ามาทำงานและอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ ปรับลดงบประมาณของตัวเองลงเพื่อหาที่อยู่อาศัยที่ราคาถูกกว่า ประกอบกับการอ่อนตัวลงของค่าเงินปอนด์ และค่าเงินสกุลอื่นๆ ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงกับงบประมาณในการเช่าที่อยู่อาศัยในราคาที่สมเหตุสมผล" |
. |
"อัตราการเช่าเฉลี่ยโดยรวมของอพาร์ทเม้นท์ยังคงมีระดับราคาที่ค่อนข้างสูง เฉลี่ยราคาอยู่ที่ 90.89 เปอร์เซ็นต์ ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 โดยอัตราการเช่าเฉลี่ยของอพาร์ทเม้นท์ เกรดเอ อยู่ที่ 90.89 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ เกรดบี อยู่ที่ 90.88 เปอร์เซ็นต์ ในทางกลับกันเจ้าของกิจการโดยรวมไม่ได้ปรับลดราคาค่าเช่าลงมากมายแต่อย่างใดในช่วงปลายปี 2551 เนื่องจากจำนวนผู้ที่ย้ายออกยังไม่มากอย่างที่คาดการณ์เอาไว้ |
. |
อัตราค่าเช่าเฉลี่ยอพาร์ทเม้นท์สำหรับชาวต่างชาติที่เข้ามาทำงานและพักอาศัยในกรุงเทพฯ ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 อยู่ที่ 349 บาทต่อตารางเมตร ต่อเดือน อัตราค่าเช่าเฉลี่ย อพาร์ทเม้นท์เกรด เอ อยู่ที่ 457 บาทต่อตารางเมตร ต่อเดือน ในขณะที่ อพาร์ทเม้นท์เกรด บี อยู่ที่ 303 บาทต่อตารางเมตร ต่อเดือน" นางสาวริษิณีกล่าวในตอนท้าย |
. |
ในปี 2546 ถึง ปี 2551 การเพิ่มขึ้นของอพาร์ทเม้นท์ใหม่เฉลี่ยอยู่ที่ 5.6 เปอร์เซ็นต์ ต่อปี ขณะที่การเพิ่มขึ้นของเซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ ณ สิ้นปี 2552 เพิ่มสูงขึ้นถึง 23.4 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งทำให้ปีนี้เป็นปีมีการแข่งขันสูงที่สุดในรอบ 5 ปี |
. |
นายปฏิมากล่าวสรุป "ความต้องการของตลาดการเช่าที่อยู่อาศัยที่มีปริมาณลดลงนั้นเนื่องมาจากสภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย และการปิดสนามบินเมื่อปลายปี 2551 ทำให้เกิดผลกระทบต่อเนื่องกับเซอร์วิส อพาร์ทเม้นท์ ที่มีจำนวนมากเกินกว่าความต้องการของตลาดในปีนี้ เป็นที่น่าสนใจว่าเจ้าของกิจการรายใหม่ๆ จะสามารถแชร์ส่วนแบ่งทางการตลาดได้มากน้อยแค่ไหนในช่วงที่ยากที่สุดของการทำธุรกิจ" |