เนื้อหาวันที่ : 2006-10-31 17:52:13 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1683 views

ซีเอ็ด ยักษ์ใหญ่สื่อสิ่งพิมพ์เมืองไทย ได้รับการประเมินเป็นบรรษัทภิบาล ปี 2549

บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน) ได้รับการประเมินจากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ให้เป็นบริษัทที่มีบรรษัทภิบาล ของปี 2549 ในเกณฑ์ “ดีมาก” โดยเป็นบริษัทสิ่งพิมพ์แห่งเดียวในตลาดหลักทรัพย์ที่ได้รับคะแนนรวม บรรษัทภิบาล ในระดับ ดีมาก – ดีเลิศ

 

บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน) ได้รับการประเมินจากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ให้เป็นบริษัทที่มีบรรษัทภิบาล ของปี 2549 ในเกณฑ์ "ดีมาก"  โดยเป็นบริษัทสิ่งพิมพ์แห่งเดียวในตลาดหลักทรัพย์ที่ได้รับคะแนนรวม บรรษัทภิบาล ในระดับ ดีมาก ดีเลิศ

 

นายวิจิตร สุพินิจ ประธานกรรมการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการสร้างความรู้ ความเข้าใจและประชาสัมพันธ์การดำเนินการเกี่ยวกับ Corporate Governance ในประเทศไทย ภายใต้คณะกรรมการบรรษัทภิบาลแห่งชาติ เปิดเผยว่า คณะอนุกรรมการฯ ได้ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย  และสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD )  ได้รายงานผลสำรวจการกำกับดูแลกิจการบริษัทจดทะเบียน ประจำปี 2549  ซึ่งจัดทำขึ้นเป็นปีที่ 5 โดย IOD  ปรากฏว่า มีบริษัทจดทะเบียน 216 บริษัทมีผลการประเมินในเกณฑ์ดี ดีมาก และดีเลิศ 

 .

 ..

ผลสำรวจที่จัดทำและเผยแพร่ตลอด 5 ปีที่ผ่านมา กระตุ้นให้บริษัทจดทะเบียนต่าง ๆ  สนใจพัฒนาให้มีการกำกับดูแลกิจการที่ดีมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง และจริงจัง  เรื่องที่ควรให้ความสำคัญและพัฒนาต่อไป คือ  การสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้เห็นคุณค่าของการปฏิบัติตามหลักการที่ดี  ปรับหลักการไปสู่แนวปฏิบัติของแต่ละบริษัทให้เหมาะสมกับลักษณะของตนเอง  และขยายวงไปสู่การดูแลผู้มีส่วนได้เสียอย่างจริงจังยิ่งขึ้น 

 ..

วิจิตร สุพินิจ ประธานกรรมการ ตลาดหลักทรัพย์ฯ (ที่ 8 จากซ้าย) ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการสร้างความรู้ ความเข้าใจและประชาสัมพันธ์การดำเนินการเกี่ยวกับ Corporate Governance ในประเทศไทย  ทนง โชติสรยุทธ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน) (ที่ 1 จากซ้าย) ถ่ายภาพร่วมกับคณะกรรมการโครงการฯ และวิทยากร ในงานรายงานผลสำรวจที่แสดงถึงภาพรวมการกำกับดูแลกิจการของไทยที่ดีขึ้น และบริษัทจดทะเบียน 216 แห่งมีผลการประเมินระดับดี ถึง ดีเลิศ

 ..

สมาคมกรรมการบริษัทไทย  ซึ่งเป็นหน่วยงานที่จัดทำรายงานในครั้งนี้ ได้สำรวจข้อมูลและประเมินบริษัทจดทะเบียนทั้งในตลาดหลักทรัพย์ฯ และตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ (mai)  รวม  402 บริษัท โดยมีผลการประเมิน ดังนี้

 .

          - บริษัทฯ ที่ได้รับการประเมินว่ามีบรรษัทภิบาลในระดับเกณฑ์ที่ "ดีเลิศ"     มีจำนวน    9 บริษัท

          - บริษัทฯ ที่ได้รับการประเมินว่ามีบรรษัทภิบาลในระดับเกณฑ์ที่ "ดีมาก"    มีจำนวน  62 บริษัท

          - บริษัทฯ ที่ได้รับการประเมินว่ามีบรรษัทภิบาลในระดับเกณฑ์ที่ "ดี"           มีจำนวน 145 บริษัท

          - บริษัทฯ ที่ได้รับการประเมินว่ามีบรรษัทภิบาลในระดับเกณฑ์ที่ "ดีพอใช้มีจำนวน 133 บริษัท

          - บริษัทฯ ที่ได้รับการประเมินว่ามีบรรษัทภิบาลในระดับเกณฑ์ที่ "ผ่าน"       มีจำนวน 48 บริษัท

          - บริษัทฯ ที่ไม่ผ่านการประเมิน มีจำนวน 5 บริษัท

 .
หลักเกณฑ์ในการพิจารณา ประกอบด้วยหลักเกณฑ์รวม 123 ข้อ แบ่งเป็น 5 หมวดหลัก ได้แก่

- สิทธิของผู้ถือหุ้น

- การปฏิบัติที่เท่าเทียมกันต่อผู้ถือหุ้น

- บทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย

- การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส

- ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ

 .

ซีเอ็ด ได้รับการประเมินโดยรวมว่ามีบรรษัทภิบาลในระดับเกณฑ์ที่ "ดีมาก" โดยเฉพาะหมวดสิทธิของผู้ถือหุ้นและ การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส ได้รับการประเมินในเกณฑ์ที่ "ดีเลิศ"

 .

ซีเอ็ด เป็นบริษัทสิ่งพิมพ์เพียงบริษัทเดียวในตลาดหลักทรัพย์ที่ได้รับการประเมินในระดับ ดีมาก-ดีเลิศ  แต่หากพิจารณาในกลุ่มสื่อและสิ่งพิมพ์ แล้วจะมีบริษัทฯ ในกลุ่มธุรกิจดังกล่าวได้รับการประเมินร่วมด้วยจำนวน 4 บริษัท ดังนี้ บมจ. ซีวีดี, บมจ จีเอ็มเอ็ม มีเดีย, บมจ. จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่, บมจ. อสมท

.

 

.

ผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนที่มีผลการประเมินบรรษัทภิบาลระดับ "ดีมาก" ได้แก่ ทนง โชติสรยุทธ์ กรรมการผู้จัดการบมจ.ซีเอ็ดยูเคชั่น ธีระ วิภูชนิน กรรมการอิสระ บมจ.พรีเชียส ชิพปิ้ง สุพล วัธนเวคิน ประธานกรรมการ บมจ.ธนาคารเกียรตินาคิน นพดล ตัณศลารักษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.มาสเตอร์ แอด  และเทพ รุ่งธนาภิรมย์ กรรมการตรวจสอบ บมจ.แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ ร่วมอภิปรายเรื่อง "ก้าวต่อไปเพื่อความเป็นเลิศของการกำกับดูแลกิจการไทย" โดยมียุทธ วรฉัตรธาร ที่ปรึกษาศูนย์พัฒนาการกำกับดูแลกิจการและงานผู้ลงทุนสัมพันธ์ ตลาดหลักทรัพย์ฯ (ที่ 3 จากขวา) ดำเนินการอภิปราย ณ อาคารตลาดหลักทรัพย์ฯ

 .

นอกจากนั้น ซีเอ็ด โดยคุณทนง โชติสรยุทธ์ กรรมการผู้จัดการ ได้ร่วมเป็นตัวแทนของผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนที่มีผลการประเมินบรรษัทภิบาลระดับ "ดีมาก" ร่วมอภิปรายเรื่อง "ก้าวต่อไปเพื่อความเป็นเลิศของการกำกับดูแลกิจการไทย" กับผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนอีก 4 บริษัทฯ  ซึ่งมีกรรมการบริษัทจดทะเบียน และ ผู้ที่เข้ารับฟัง จำนวนกว่า 200 ท่าน

 .

ในปี 2549 นี้ นอกจากที่ ซีเอ็ด ได้รับการประเมินว่ามีบรรษัทภิบาลในระดับเกณฑ์ที่ "ดีมาก" แล้ว  เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา  ซีเอ็ดฯ ได้รับการประเมินจาก สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ในเรื่องการจัดการประชุมผู้ถือหุ้นสามัญ (AGM) ประจำปี 2549 ซึ่งเป็นการประเมินปีแรก เพื่อให้บริษัทจดทะเบียนได้ตระหนักถึงสิทธิของผู้ถือหุ้นและหลักบรรษัทภิบาลที่ดี  ให้อยู่ในเกณฑ์ "ดี"  โดยได้คะแนน 81.24%  ในส่วนของการจัดการประชุม  ได้รับคะแนนถึง 95.87% ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์ "ดีเยี่ยม"  โดยการประชุมเป็นตามหลักบรรษัทภิบาล  โปร่งใส  และยังเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นซักถามได้เต็มที่จนหมดคำถาม"

 .

นอกจากนั้น  ซีเอ็ด ยังได้รับการประเมินผลการร่วมกิจกรรม "บริษัทจดทะเบียนพบผู้ลงทุน" (Opportunity Day) สำหรับผลการดำเนินงาน Q4/2549 ซึ่งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้รวบรวมความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมฟังซึ่งเป็นผู้ลงทุน และนักวิเคราะห์ ว่าอยู่ในเกณฑ์ "ดีเยี่ยมที่สุด"  โดยเกือบทุกคนมีความพึงพอใจต่อข้อมูลและการนำเสนอข้อมูลของซีเอ็ดในระดับ มากถึงมากที่สุด ถึง 98.29% (โดยในจำนวนนี้ มีสัดส่วนผู้ที่พึงพอใจมากที่สุดถึงประมาณ 60%)  และได้รับคะแนนการประเมินสูงสุดอย่างโดดเด่นในทั้ง 3 ด้าน คือ  ประโยชน์ของข้อมูลที่ได้รับ  การนำเสนอข้อมูล  และความเหมาะสมของเวลาในการนำเสนอ จากการเปรียบเทียบกับบริษัทจดทะเบียนที่เข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้น 68 ราย