ชุดหัวพิมพ์ภาพ LED ความละเอียดสูงซึ่งพัฒนาโดยฟูจิซีร็อกซ์ ได้รับรางวัลด้านเทคโนโลยีชุดหัวพิมพ์ภาพ LED จากสมาคมด้าน Imaging แห่งญี่ปุ่น ยกย่องว่าให้งานพิมพ์ที่มีคุณภาพและความละเอียดสูง
ชุดหัวพิมพ์ภาพ LED (light-emitting diode) ความละเอียดสูงซึ่งพัฒนาโดยฟูจิซีร็อกซ์ ได้รับรางวัลเทคโนโลยีจากสมาคมด้าน Imaging แห่งญี่ปุ่น ชุดหัวพิมพ์ภาพ LED ประกอบด้วยอุปกรณ์สแกนภาพที่มีแหล่งกำเนิดแสงในตัว ซึ่งบรรจุอยู่ในเครื่องมัลติฟังก์ชั่นและพรินเตอร์สีของฟูจิซีร็อกซ์ |
. |
การพัฒนาการสแกนแบบ LED ที่ความละเอียด 1,200 จุดต่อนิ้ว พร้อมด้วยวงจร ASIC (application-specific integrated circuit) นี้ ทำให้สามารถเอาชนะอุปสรรคที่แต่เดิมเคยพบในเทคโนโลยีของ LED รวมทั้งยังได้ความละเอียดสูงไปพร้อมๆ กันอีกด้วย การได้รับรางวัลจากสถาบันด้าน Imaging แห่งญี่ปุ่นนี้ เป็นการยกย่องความพยายามของฟูจิซีร็อกซ์ในการนำเทคโนโลยีชุดหัวพิมพ์ LED มาพัฒนาให้เกิดความก้าวหน้าในด้านระบบภาพกราฟฟิกและไฟฟ้า (electrophotographic) |
. |
การได้รับรางวัลชุดหัวพิมพ์ภาพ LED |
กระจกที่ใช้ในชุดหัวพิมพ์ LED นั้น จะต้องไม่ใช้กระจกโพลิกอน หรือมอเตอร์เพื่อหมุนตำแหน่งกระจก ทั้งนี้ก็เพื่อลดพื้นที่และลดเสียงในขณะทำงาน แม้หัวพิมพ์ LED จะมีข้อดีนานาประการ แต่เป็นการยากที่จะผลิตงานพิมพ์คุณภาพ ทั้งนี้เพราะประกอบด้วยชุดปล่อยแสงจำนวนมาก ที่ก่อให้เกิดความไม่เสถียรของลำแสง และส่งผลให้ความเข้มจางของสีที่ไม่สม่ำเสมอ |
. |
ฟูจิซีร็อกซ์ แก้ปัญหานี้ด้วยการพัฒนาชุดหัวพิมพ์ภาพ LED ที่ประกอบด้วยอุปกรณ์สแกนภาพที่มีแหล่งกำเนิดแสงในตัว (self-scanning light-emitting device SLED1) พร้อม ๆ กับเทคโนโลยี DELCIS2 ที่ช่วยให้เกิดความแม่นยำในการควบคุมชุดกำเนิดแสงแต่ละชิ้น ให้เป็น ASIC ที่มีประสิทธิภาพสูงและเป็นหนึ่งเดียวกัน |
. |
ยิ่งกว่านั้นฟูจิ ซีร็อกซ์ ได้พัฒนาเลนส์จำนวนมากให้เป็นแบบออฟติคอลที่มีมาตรฐานเดียวกัน สะดวกและทำให้ชุดหัวพิมพ์ LED มีความละเอียดสูง (12,00 x 2,400 จุดต่อตารางนิ้ว) (ภาพที่ 1) พร้อมๆ กับการลดขนาดและให้คุณภาพงานพิมพ์ที่ดีเทียบเท่าหรือดียิ่งกว่าภาพที่เกิดจากการสแกนผ่านระบบเลเซอร์ (raster output scanner - ROS) |
. |
*1 Self-Scanning Light Emitting Device เป็นอุปกรณ์ที่สามารถปล่อยลำแสงอย่างเป็นระเบียบจากส่วนประกอบของตัวเอง |
. |
*2 Digitally Enhanced Lighting Control Imaging System เป็นเทคโนโลยีที่ควบคุม LED โดยที่ใช้ SLED จำนวนมาก และทำให้แสงจำนวนมากเหล่านี้มีความถูกต้องแม่นยำ โดยใช้ร่วมกับ ASIC ในการควบคุม SLED และส่งผลให้ได้ความละเอียดถึง 1,200 x 2,400 จุดต่อตารางนิ้ว เทคโนโลยี DELCIS นี้ได้รับการจดทะเบียนลิขสิทธิ์ที่ประเทศญี่ปุ่น |
. |
ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ชุดหัวพิมพ์ LED |
ฟูจิซีร็อกซ์ ได้เริ่มนำชุดหัวพิมพ์ LED เป็นอุปกรณ์ในเครื่องดิจิตอลมัลติฟังก์ชั่นสี 4 รุ่น ในเดือนพฤศจิกายน 2550 (ApeosPort-III C3300/C2200, DocuCentre-III C3300/C2200) ตามด้วยพรินเตอร์สีรุ่น DocuPrint C2250 (สำหรับประเทศไทยเครื่องพิมพ์ที่ใช้หัวพิมพ์ LED คือ พรินเตอร์สีรุ่น DocuPrint C2255) และเครื่องดิจิตอลมัลติฟังก์ชั่นสีรุ่น ApeosPort-III C3305 และ C2205 ซึ่งประกาศเปิดตัวผลิตภัณฑ์เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2551 |
. |
ชุดหัวพิมพ์ภาพ LED ของฟูจิซีร็อกซ์นี้ ถูกลดขนาดและน้ำหนักไปอย่างมาก เมื่อเทียบกับระบบเลเซอร์ ROS แบบเดิม ทำให้มีพื้นที่ในเครื่องมากขึ้นตรงทางเดินที่เป็นทางออกกระดาษ (มีพื้นที่เท่ากับขนาดของถาดกระดาษ 1 ถาด) ทำให้สามารถเพิ่มพื้นที่ของการเข้าเล่ม/เย็บเล่มได้ |
. |
ภาพที่ 1 |
. |
- กลุ่มของเลนส์ชนิดใหม่: เลนส์ชุดใหม่นี้เป็นชนิดเลนส์ออพติคอลที่เป็นแบบเดียวกันทำให้ได้ภาพที่มีความละเอียดสูง |
. |
ภาพที่ 2 |
เมื่อนำชุดหัวพิมพ์ LED นี้มาใช้กับอุปกรณ์ ช่วยให้มีช่องว่างในช่วงทางออกของกระดาษ |