กรีนพีซ จี้ผู้นำอาเซียนให้เข้าร่วมการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับโลก เตือนการนิ่งเฉยทางการเมือง ไม่ลงมือทำ เป็นอันตรายรุนแรงต่อประชาชนในภูมิภาค
กรีนพีซเรียกร้องให้ผู้นำอาเซียนเข้าร่วมการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ณ กรุงโคเปนเฮเกน ในเดือนธันวาคมนี้ และร่วมเจรจาข้อตกลงด้านการปกป้องสภาพภูมิอากาศก่อนที่จะสายเกินไป |
. |
. |
กรีนพีซจัดบรรยายสรุป "วิสัยทัศน์ของกรีนพีซ ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ" จี้ผู้นำอาเซียนให้เข้าร่วมการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับโลก |
. |
"การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศได้เกิดขึ้นแล้ว ไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานใดเพิ่มเติมเพื่อเตือนภัยถึงผลกระทบอันร้ายแรงจากการนิ่งเฉยทางการเมือง หากยังคงขาดการตัดสินใจลงมือทำอย่างกล้าแกร่งของผู้นำอาเซียน อันตรายจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อประชาชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งจัดได้ว่ามีความเสี่ยงที่ล่อแหลมต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และมีการเตรียมการรับมือกับมหันตภัยดังกล่าวค่อนข้างน้อย" |
. |
นายธารา บัวคำศรี ผู้จัดการฝ่ายรณรงค์ ประจำประเทศไทย กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กล่าวว่าวิสัยทัศน์ของกรีนพีซ ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้อธิบายถึงสาเหตุ ผลกระทบในปัจจุบัน และความเสี่ยงในอนาคตของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และระบุถึงการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกและเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก |
. |
ซึ่งเป็นหนทางในการหลีกเลี่ยงผลกระทบอย่างรุนแรงและไม่สามารถเรียกกลับคืนมาได้ ที่จะเกิดขึ้นต่อระบบนิเวศ เศรษฐกิจ และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน นอกจากนี้ วิสัยทัศน์ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการร่วมกันหาทางออกของปัญหาสภาพภูมิอากาศว่าควรเป็นสากล มีความยุติธรรม และอยู่ในข้อตกลงระดับโลก |
. |
กรีนพีซเรียกร้องรัฐบาลแต่ละประเทศให้ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในทุกภาคลงให้มากที่สุดโดยการลงทุนและพัฒนาด้านเทคโนโลยี รวมทั้งเปลี่ยนแปลงแบบแผนการดำรงชีวิตให้มีการบริโภคน้อยลง |
. |
"ในขณะที่ การสนับสนุนด้านการเงินและเทคโนโลยีจากประเทศพัฒนาแล้วมาให้แก่ประเทศที่พัฒนาเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักในการที่จะบรรลุเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงให้ได้มากที่สุด สิ่งที่สำคัญมากไปกว่านั้นคือการรับประกันว่าการสนับสนุนมาตรการการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการปรับตัวที่จะไปถึงกลุ่มคนยากจน โดยการพัฒนากลไกการให้เงินทุนภายใต้กรอบภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC)" นายธารา กล่าวเสริม |
. |
ในการขยับขยายและสร้างความแข็งแกร่งของการลงมือทำทั่วโลก ประเทศกำลังพัฒนาอย่างประเทศในกลุ่มอาเซียนจะต้องลดการเพิ่มขึ้นของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 15-30 เปอร์เซ็นต์ภายในปี 2563 อย่างไรก็ตาม ควรทำควบคู่ไปกับการยุติการตัดไม้ทำลายป่า พร้อมปรับให้เข้ากับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ได้เกิดขึ้นแล้ว ประเทศกำลังพัฒนาจะต้องการเงินสนับสนุนจากประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งควรได้รับเงินสนับสนุนในภูมิภาค 140 พันล้านเหรียญสหรัฐ (110 พันล้านยูโร) ต่อปี |
. |
กรีนพีซยังเรียกร้องต่อสาธารณชนให้ร่วมผลักดันให้ผู้นำประเทศของตนเข้าร่วมการประชุมสุดยอดโลกร้อนที่โคเปนเฮเกน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการร่วมลงมือปกป้องสภาพภูมิอากาศของโลก |
. |
"ที่นี่คือโลกและอนาคตของพวกเรา ผู้นำของเราจะปฏิบัติหน้าที่ในฐานะตัวแทนของเรา ดังนั้น เราจึงควรบอกเล่าความคิดเห็นของเราให้พวกเขารับรู้" นายธารากล่าว "ผู้นำเหล่านี้ ควรได้รับการพิจารณาจากความสามารถของพวกเขาว่าสามารถรับมือกับการคุกคามด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้หรือไม่" นายธารา กล่าวสรุป |
. |
ที่มา : เว็บไซต์กรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ |