ดีเอชแอล ลุยนำเสนอโซลูชั่นสำหรับธุรกิจสายการบิน คาดมีมูลค่าสูงถึงปีละ 1.2 หมื่นล้านยูโรทั่วโลก พร้อมสานสัมพันธ์กับบริษัทในภาคธุรกิจสายการบิน พุ่งเป้าภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก
ดีเอชแอล ผู้นำธุรกิจขนส่งด่วนและลอจิสติกส์ระดับโลก ล่าสุด ได้เปิดเผยถึงโอกาสทางธุรกิจของบริษัท ในด้านการนำเสนอโซลูชั่นสำหรับธุรกิจสายการบิน ที่คาดว่าจะมีมูลค่าสูงถึงปีละ 1.2 หมื่นล้านยูโรทั่วโลก (ประมาณ 5.8 แสนล้านบาท) จากประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการให้บริการด้านการบริหารจัดการ ซัพพลายเชน |
. |
. |
รวมถึงโซลูชั่นสำหรับธุรกิจในส่วนนี้ ดีเอชแอลมุ่งเป้าหมายในการศึกษาโอกาสทางธุรกิจต่อไป พร้อมทั้งพัฒนาความสัมพันธ์กับบริษัทในภาคธุรกิจสายการบิน โดยดีเอชแอลได้เผยถึงโอกาสนี้ในการประชุมด้านการจัดซื้อในอุตสาหกรรรมวิศวกรรมอากาศยาน (Airline Engineering Purchasing) และซัพพลายเชนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่จัดขึ้นในกรุงเทพฯ เมื่อไม่นานมานี้ |
. |
ภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก เป็นอีกหนึ่งเป้าหมายสำคัญของ ดีเอชแอล ซัพพลายเชน ซึ่งเป็นหนึ่งในหน่วยธุรกิจของผู้นำธุรกิจขนส่งด่วนและลอจิสติกส์ระดับโลก จากการที่มีสายการบินจำนวนถึงสิบสายการบินจากจำนวน 35 สุดยอดสายการบินระดับโลกอยู่ในภูมิภาคนี้ นอกจากนี้ เอเชีย แปซิฟิก ยังถือเป็นตัวขับเคลื่อนการเดินทางทางอากาศระดับนานาชาติที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลกอีกด้วย |
. |
ดีเอชแอล ซัพพลายเชน มีความครบครันไปด้วยโซลูชั่นแบบครบวงจรสำหรับภาคธุรกิจการบริการอาหารของสายการบิน ตั้งแต่การจัดซื้อ การเตรียมการจัดบริการอาหาร ความบันเทิงบนเครื่องบิน ไปจนถึงการส่งมอบบริการสุดท้ายให้แก่เครื่องบิน และการบริหารจัดการ ในการกำจัดขยะจากอากาศยาน และการซักล้างสิ่งของที่สามารถนำมาใช้ใหม่ได้ |
. |
ดีเอชแอลมีประสบการณ์ที่กว้างขวางในการการบริหารจัดการซัพพลายเชนที่มีความซับซ้อนสูงของภาคธุรกิจต่างๆ หลากหลายสาขา นับตั้งแต่ธุรกิจสายการบิน ธุรกิจยานยนต์ ธุรกิจการดูแลสุขภาพ ธุรกิจค้าปลีก และยังรวมไปถึงการกระจายอาหารที่ต้องการสภาพแวดล้อมการขนส่งที่มีอุณหภูมิที่หลากหลายซึ่งมีค่าใช้จ่ายด้านซัพพลายเชนโดยทั่วไปอยู่ระหว่างร้อยละ 5 และร้อยละ 10 ของกำไรสุทธิ |
. |
เช่นเดียวกับการบริการบนเครื่องบิน หรือ ‘รายการให้บริการขณะเดินทาง (‘above the wing’ items)’ ที่นำเสนอเพื่อความสะดวกสบายของผู้โดยสารระหว่างการเดินทางบนเครื่องก็จะมีค่าใช้จ่ายอยู่ในระหว่างนี้เช่นกัน พร้อมกันนี้ การดำเนินการด้านการจัดเลี้ยงอาหารมีค่าใช้จ่ายคิดเป็นร้อยละ 20-30 ของค่าใช้จ่ายในการบริการทั้งหมด และโดยค่าใช้จ่ายที่เหลือร้อยละ 70 - 80 จะเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นสำหรับงานด้านซัพพลายเชน |
. |
"โซลูชั่นสำหรับสายการบินของดีเอชแอลจะช่วยให้สายการบินต่างๆ สามารถจัดการกับค่าใช้จ่ายประเภท 'above the wing' ได้ดียิ่งขึ้น พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มโดยการลดค่าใช้จ่าย และปรับปรุงทางเลือกด้านผลิตภัณฑ์เพื่อประโยชน์ของผู้บริโภค โดยวิธีการของดีเอชแอลถือเป็นการเปลี่ยนแปลงระดับพื้นฐานในการมองความต้องการบนเครื่องของสายการบินอันเป็นกระบวนการแบบครบวงจรทั้งหมด |
. |
ทั้งนี้ กรอบของแนวทางดังกล่าวช่วยให้เราสามารถทำงานอย่างใกล้ชิดกับสายการบินต่างๆ ซึ่งทำให้เรามองเห็นโอกาสในการปรับปรุงประสิทธิภาพ การเลือกสรรผลิตภัณฑ์ หรือการลดค่าใช้จ่าย" มร.พอล เกรแฮม ประธานกรรมการบริหาร ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ดีเอชแอล ซัพพลายเชน กล่าว |
. |
"จากการที่มีรายการสินค้ามากกว่า 40,000 รายการที่อยู่บนเครื่องบินโดยสารโบอิ้ง 747 ซึ่งทำให้สามารถสลับสับเปลี่ยนรายการผลิตภัณฑ์ได้หลากหลายรูปแบบ เพื่อมอบบริการให้แก่ผู้โดยสารตามระดับชั้นการบิน ด้วยระบบซัพพลายเชนที่สามารถให้บริการได้โดยไม่สะดุดถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของการให้บริการจากการที่สายการบินมีเวลาในการทำงานทั้งระบบที่สั้น และไม่สามารถรองรับการทำงานที่ล่าช้าได้ |
. |
นอกจากนี้ ด้วยสภาพทางเศรษฐกิจอันแสนท้าทายในปัจจุบันได้กระตุ้นให้องค์กรธุรกิจต่างๆ หันมาพิจารณาถึงแนวทางการปรับปรุงระบบการทำงานเพื่อให้เกิดความแตกต่างทั้งในด้านการนำเสนอผลิตภัณฑ์ คุณภาพการบริการ รวมไปถึงกำไรสุทธิอีกด้วย" |
. |
ดีเอชแอล ซัพพลายเชน มุ่งเดินหน้าสร้างความสำเร็จในเอเชียแปซิฟิก ดังเช่นที่ได้ทำสัญญารายปีมูลค่าหลายล้านปอนด์กับสายการบินบริติช แอร์เวย์ส เพื่อดำเนินการบริการด้านอาหารบนเครื่องบินให้กับเที่ยวบินเส้นทางระยะใกล้ และเที่ยวบินในประเทศจากท่าอากาศยานฮีทโธรว์ สัญญาที่มีระยะเวลาสิบปีดังกล่าว |
. |
. |
ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในปี พ.ศ. 2553 จะครอบคลุมถึงการจัดเตรียม การรวบรวม และการขนส่งอาหารสูงสุดกว่า 13 ล้านชุดต่อปีให้กับอากาศยาน เพื่อนำไปบริการในห้องโดยสายทั้งชั้นพรีเมียมและชั้นประหยัด การจำหน่ายสินค้าบนเครื่อง บริการสื่อความบันเทิงต่างๆ และบริการอื่นๆ ที่จะเพิ่มความสะดวกสบายในการเดินทางให้กับผู้โดยสารได้อย่างไม่รู้จบ |
. |
ลดความคับคั่งในท่าอากาศยาน : โอกาสทางธุรกิจด้านลอจิสติกส์รายย่อยให้กับท่าอากาศยาน |
พร้อมกันนี้ ดีเอชแอลยังได้มองหาโอกาสในการนำเสนอโซลูชั่นให้กับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติการในท่าอากาศยานที่ต้องการลดความคับคั่งของท่าอากาศยาน ซึ่งนับเป็นปัญหาที่กำลังก่อตัวขึ้น สร้างความวิตกกังวลให้แก่อุตสาหกรรมในส่วนนี้ โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งมีการเติบโตในด้านจำนวนผู้โดยสารที่มาใช้บริการที่อากาศยานสูง ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2547 ถึง พ.ศ. 2550 จำนวนผู้โดยสารที่ใช้บริการผ่านเข้าออก ณ ท่าอากาศยานกรุงเทพฯ มีอัตราการเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 13 |
. |
ส่วนท่าอากาศยานกรุงปักกิ่งตัวเลขอยู่ที่ร้อยละ 40 ท่าอากาศยานฮ่องกงเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 20 ท่าอากาศยานกรุงกัวลาลัมเปอร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 15 ท่าอากาศยานเซี่ยงไฮ้เพิ่มขึ้นร้อยละ 27 ท่าอากาศยานสิงค์โปร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 15 ท่าอากาศยานกรุงโซลเพิ่มขึ้นร้อยละ 17 และท่าอากาศยานกรุงจาร์การ์ตาเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 |
. |
ปัจจุบันดีเอชแอล ซัพพลายเชน เป็นผู้ดำเนินการคลังรวบรวมสินค้าระดับรางวัล ประจำท่าอากาศยานฮีทโธรว์ (Heathrow Consolidation Center) ในนามของการท่าอากาศยานอังกฤษ โดยอาคารปฏิบัติการระบบหลายอุณภูมิ (multi-temperature) ของคลังสินค้าแห่งนี้ตั้งอยู่บนพื้นที่ 25,000 ตารางฟุต และใช้เป็นจุดรวบรวมสินค้าหลากหลายชนิดที่จะนำไปส่งให้กับผู้ค้าปลีกรายต่าง ๆ ของท่าอากาศยานฮีทโธรว์ |
. |
ซึ่งจะไม่เป็นเพียงการขจัดขั้นตอนการเดินทางมารับสินค้าของผู้ค้ารายต่างๆ เพื่อส่งสินค้าให้กับผู้ค้าปลีกแต่ละรายในอาคารผู้โดยสารแต่ละหลังเท่านั้น แต่ยังช่วยให้ผู้ค้าปลีกสามารถลดปริมาณสินค้าคงคลังที่เก็บไว้ ณ คลังเก็บสินค้าของท่าอากาศยาน จากการที่สามารถเติมสินค้าใหม่คลังรวบรวมสินค้าได้บ่อยครั้งมากขึ้น |
. |
"ท่าอากาศยานฮีทโธรว์ เป็นหนึ่งในท่าอากาศยานที่มีการจราจรทางอากาศหนาแน่นที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยโมเดลของคลังรวบรวมสินค้าประจำท่าอากาศยานแห่งนี้ได้ช่วยลดการเดินทางของผู้ค้าปลีกได้มากถึงร้อยละ 70 ช่วยให้สามารถนำกระดาษแข็งกว่า 120 ตันมาผ่านกระบวนการรีไซเคิ่ลใหม่ นอกจากนี้ยังช่วยลดปริมาณการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศได้มากกว่า 60 ตันต่อปี" มร. เกรแฮม กล่าว |
. |
การปฏิบัติการของดีเอชแอลช่วยให้บริษัทฯ สามารถเข้าใจในเชิงลึกถึงความต้องการและข้อจำกัดของภาคธุรกิจการให้บริการด้านสายการบิน "เราเป็นสายการบินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่เก้าของโลก โดยทำหน้าที่จัดการสินค้ากว่าร้อยละ 12 ของปริมาณสินค้าที่มาจาก 220 ท่าอากาศยานทั่วโลก ภาคธุรกิจการให้บริการด้านสายการบินมีความต้องการใช้โซลูชั่นหลายอย่างที่แตกต่างไปจากอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เราให้บริการไม่ว่าจะเป็นภาคธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภค หรือเอฟเอ็มซีจี (FMCG) เทคโนโลยี ยานยนต์ และแฟชั่น" มร. เกรแฮม กล่าว |
. |
"นอกเหนือจากเครือข่ายอันเหนือชั้นที่ครอบคลุมกว่า 220 ประเทศและดินแดนทั่วโลก ดีเอชแอลยังมีทักษะความชำนาญหลักในด้านการพัฒนาขีดความสามารถในการดำเนินธุรกิจ (Business Transformation) โดยมีทีมงานที่มีความมุ่งมั่นในการให้บริการช่วยเหลือผ่านการดำเนินการแบบไม่มีสะดุด เพราะเราทำงานร่วมกับธุรกิจในการออกแบบซัพพลายเชนใหม่ให้กับลูกค้าของเรา" |
. |
จากภาพ มร.พอล เกรแฮม (ที่สองจากขวา) ประธานกรรมการบริหาร ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ดีเอชแอล ซัพพลายเชน พร้อมด้วย มร. คริส แจ็คสัน (ขวาสุด) รองประธานระดับโลก โซลูชั่นด้านธุรกิจสายการบิน ดีเอชแอล ซัพพลายเชน ในงานแถลงข่าวเปิดเผยกลยุทธ์การทำธุรกิจของดีเอชแอลในการนำเสนอโซลูชั่นด้านการบริหารจัดการซัพพลายเชนแบบครบวงจรสำหรับภาคธุรกิจการบริการอาหารของสายการบินที่คาดว่าจะมีมูลค่าสูงถึงปีละ 1.2 หมื่นล้านยูโรทั่วโลก (ประมาณ 5.8 แสนล้านบาท) |
. |
พร้อมเสริฟ ดีเอชแอลเปิดเผยกลยุทธ์การทำธุรกิจในด้านการนำเสนอโซลูชั่นด้านการบริหารจัดการซัพพลายเชนแบบครบวงจรสำหรับภาคธุรกิจการบริการอาหารของสายการบิน ที่คาดว่าจะมีมูลค่าสูงถึงปีละ 1.2 หมื่นล้านยูโรทั่วโลก (ประมาณ 5.8 แสนล้านบาท) โดยโซลูชั่นดังกล่าวสามารถช่วยยกระดับประสิทธิภาพการบริการอาหารของสายการบิน และช่วยลดต้นทุนการดำเนินงานให้ต่ำลง |