เนื้อหาวันที่ : 2006-10-27 10:56:04 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1586 views

สรท. นำเสนอปัญหาการส่งออกพร้อมแนวทางความร่วมมือด้านโลจิสติกส์กับกระทรวงพาณิชย์

ยอมรับโลจิสติกส์มีส่วนสำคัญที่จะส่งเสริมความสามารถในการแข่งขัน ทั้งในแง่ของความรวดเร็วในการส่งมอบ การลดต้นทุน และที่สำคัญคือการสร้างความพึงพอใจของลูกค้า

 

a

เมื่อวันศุกร์ที่ 20 ตุลาคม 2549 นาย เกริกไกร จีระแพทย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และคณะ ได้ให้เกียรติหารือร่วมกับคณะกรรมการ สรท.โดยนาย สุชาติ จันทรานาคราช ประธาน สรท. และคณะกรรมการให้การต้อนรับ โดยมีสาระสำคัญดังนี้

 a

สรท. เป็นองค์กรภาคเอกชนที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของผู้ส่งออก เกิดขึ้นตามพระราชบัญญัติสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ.2537 มีวิสัยทัศน์ขององค์กรในการเป็นสถาบันแกนนำในการพัฒนาด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชน สรท. ได้ดำเนินการผลักดันในเชิงนโยบายในการพัฒนาด้านโลจิสติกส์ สร้างความตระหนักถึงการบริหารจัดการโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพ โดย สรท. มีเครือข่ายความร่วมมือกับองค์กรต่างๆ ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ เช่น External Trade Organization (JETRO), Japan Institute on Logistics System (JILS), Federation of ASEAN Shippers’ Council (FASC), Asian Shippers’ Group (ASG), Global Shippers’ Forum (GSF)

a

สรท. ตระหนักถึงความสำคัญของโลจิสติกส์ในการที่จะส่งเสริมความสามารถในการแข่งขัน ทั้งในแง่ของความรวดเร็วในการส่งมอบ การลดต้นทุน และที่สำคัญคือการสร้างความพึงพอใจของลูกค้า

a

สรท. ได้เข้าไปมีบทบาทในการยกร่างกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของไทยร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ซึ่งวัตถุประสงค์ของกรอบแผนยุทธศาสตร์ดังกล่าว ได้แก่เรื่องของ Cost Efficiency, Reliability and Security และ Responsiveness

a

สรท. เป็นผู้ริเริ่มจัดตั้ง สมาพันธ์โลจิสติกส์ไทยจากการรวมตัวขององค์กรภาคเอกชน 16 สมาคม โดยสมาพันธ์ฯ มีวิสัยทัศน์ดังนี้ คือ เป็นองค์กรเครือข่ายด้านโลจิสติกส์ ที่มุ่งเน้นการดำเนินการและผลักดันให้ประเทศไทยมีระบบโลจิสติกส์ที่ทันสมัยมีประสิทธิภาพ สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศซึ่งขณะนี้กำลังจะมีการจัดตั้งสมาพันธ์ฯ เป็นนิติบุคคล อย่างไรก็ตาม สรท. ต้องการการสนับสนุนจากกระทรวงพาณิชย์เพื่อให้สมาพันธ์ฯ เป็นองค์กรที่เข้มแข็งต่อไป โดยสมาพันธ์ฯ จะมีรูปแบบและการดำเนินงานตาม Model ของ JILS

a

แผนการดำเนินงานในอนาคตระหว่างกระทรวงพาณิชย์ และ สรท.

a

ระดับสูง

บทบาทของ สรท. และสมาพันธ์ฯ

การจัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาโลจิสติกส์แห่งชาติ (Logistics Development Committee) ซึ่งประกอบด้วยภาครัฐและเอกชน โดยมีกระทรวงพาณิชย์เป็นหน่วยงานรับผิดชอบ

a

ระดับกระทรวง

การเร่งผลักดันระบบ Single Window Entry ให้เป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ

ปัญหาการส่งออกของสนามบินสุวรรณภูมิ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตปลอดอากร (Free Zone) ในเรื่องของความล่าช้าในการเคลียร์สินค้า ความไม่สะดวกในการรับเอกสาร D/O, Airway bill เจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอ และขาดความรู้ในการบริหารจัดการ ความไม่พร้อมของอุปกรณ์อำนวยความสะดวก ความไม่ชัดเจนในการกำหนดพื้นที่ในสนามบิน การเสียเงินค่าล่วงเวลา ความยุ่งยากในการเข้า ออกในเขตปลอดอากร ความยากลำบากในการจองเครื่องบิน

a

ระดับกรม/หน่วยงาน

-โครงการโลจิสติกส์คลินิก

-โครงการ Logistics Scorecard