เนื้อหาวันที่ : 2006-10-26 13:56:08 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 3364 views

TAGS เผยความสำเร็จเชื่อมโยง ACCS คลังสินค้า สุวรรณภูมิ

เฉพาะวันแรกของการเปิดใช้สนามบินสุวรรณภูมิคือ 28 กันยายน 2549 วันเดียวการบินไทยเชื่อมโยงหน่วยงานเดียวสูงถึง 948 HAWB

นายศุภชัย   แก้วศิริ  ผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ  บริษัท ไทย แอร์พอร์ตส์  กราวด์ เซอร์วิสเซส จำกัด (TAGS)   กล่าวในฐานะประธานโครงการ ITX-FZ   ผู้จัดทำระบบ ACCS ( Air Cargo Communities Systems )   เพื่อเชื่อมโยงไอทีในคลังสินค้า สนามบินสุวรรณภูมิ ว่า    ตลอดระยะเวลา 27 วันหลังการเปิดดำเนินสนามบินสุวรรณภูมิ   การทำหน้าที่ในการเชื่อมโยงและดูแลระบบไอทีเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพตามแผนที่วางไว้  หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่นกรมศุลกากร  การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย ( AOT ) และ การบินไทย (TG) ฯลฯ ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบเกี่ยวกับคลังสินค้าพอใจในประสิทธิภาพของการเชื่อมโยง   โดย TAGS ได้เก็บบันทึกต่างๆ นับตั้งแต่วันแรกของการเปิดการใช้ระบบ ACCSอย่างเป็นทางการตั้งแต่ 28 กันยายน 2549  เป็นต้นมา   เพื่อรายงานผลต่อผู้เกี่ยวข้องมาอย่างต่อเนื่อง  พบว่าสถานะของระบบ ACCS เป็นไปตามข้อตกลงในการว่าจ้าง  การเชื่อมโยงระบบมีประสิทธิภาพตามที่กำหนด   โดยมั่นใจว่าเมื่อเปิดใช้ระบบ ACCS เพียงระบบเดียวในต้นปี 2007 ก็จะมีประสิทธิภาพครบทุกฟังชั่นเช่นเดียวกับปัจจุบัน

a

เฉพาะวันแรกของการเปิดใช้สนามบินสุวรรณภูมิคือ 28 กันยายน 2549 วันเดียวการบินไทยเชื่อมโยงหน่วยงานเดียวสูงถึง 948 HAWB   และสามารถเชื่อมโยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ  เช่นเดียวกับการเชื่อมโยงจากกรมศุลการกร และหน่วยงานอื่นๆ ยกเว้น BFS เพียงหน่วยงานเดียวที่การรายงานผลตามบันทึกระบบ แสดงผลว่า “NON”  คือไม่ได้แสดงผลการเชื่อมโยงแต่อย่างใด  โดยไม่ได้เชื่อมโยงทั้งระบบ EDI เดิมในแบบ MANUAL และระบบ ACCS ในแบบ PARALLEL ( คู่ขนาน) นายศุภชัยกล่าวและว่า  ภายหลังการเชื่อมโยงระบบถึงปัจจุบันถือเป็นความสำเร็จอีกขั้นหนึ่งของ TAGS และพันมิตรร่วมจัดทำระบบทั้ง 3 ราย

a

นายศุภชัยกล่าวถึงบันทึกที่แสดงผล“NON”  ของ BFS ว่า   เป็นเรื่องที่ BFS ต้องชี้แจ้งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่ามีสาเหตุอย่างไร    แต่สำหรับการจัดทำและเชื่อมโยงระบบ ACCS นั้นมีประสิทธิภาพแน่นอนและระบบ ACCS ไม่มีปัญหาใด ๆ เพราะตามบันทึกหน่วยงานอื่นๆ สามารถเชื่อมโยงได้นับตั้งแต่วันแรกที่เปิดดำเนินการสนามบินดอนเมือง    เพราะหากระบบ ACCS มีปัญหาจริงหน่วยงานอื่นๆ ทั้งการบินไทยและกรมศุลกากร ฯลฯจะต้องได้รับผลกระทบด้วย

a

สำหรับการจัดทำระบบคู่ขนานเป็นระยะเวลา 3 เดือนนั้น   นายศุภชัยกล่าวว่า  เป็นคำแนะนำของที่ปรึกษาใหญ่ของ AOT ที่มาจากการร่วมประชุมกับหน่วยงานต่างๆ และจัดทำบันทึกการประชุมนั้นเพื่อยืนยันสาระการประชุมกับผู้เกี่ยวข้องตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2549   ซึ่งทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับทราบโดยทั่วกัน    โดยการประชุมนั้นทางผู้บริหารของ BFS ก็เข้าร่วมประชุมด้วย ( โดยมีชื่อและตำแหน่งผู้ร่วมประชุมในบันทึกการประชุม )      ซึ่งผสรุปนั้นเน้นไปที่ความพร้อมผู้เกี่ยวข้อง    แต่ปัญหาไม่ได้เกิดจากระบบ ACCS  เพราะหากระบบ ACCS สร้างความเสียหายจริง   TAGS และหน่วยงานพันมิตรทั้ง 3 แห่ง ก็ต้องรับผิดชอบตามเงื่อนไขของสัญญา    ซึ่งปัจจุบัน TAGS ยืนยันว่าระบบ ACCS มีประสิทธิภาพตามแผนงานที่วางไว้  นอกจากนี้ TAGS ยังเป็นผู้ดูแลระบบต่อเนื่องเป็นเวลา 2 ปีตามเงื่อนไข

a

ACCS Components แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนแรกคือ  Operation Management Group  ซึ่งแยกออกเป็น Cargo Management System (CMS&RMS) ,  Declaration System (DS)  , Electronic Payment System (EPS)  และ Flight Information System (FIS)   สำหรับส่วนที่ 2 คือ   Business Management Group  ซึ่งแยกย่อยเป็นระบบต่างๆ เช่น  Management Information System (MIS) ,  Human Resource Management System (HRMS)   และ Document Management System (DMS)  ซึ่งระบบเหล่านี้ล้วนได้รับการพิจารณาจาก AOT แล้วว่าเหมาะสมในการสร้างให้มูลค่าเพิ่มให้สนามบินสุวรรณภูมิทั้งสิ้น