กว่า 2 ปีที่การเรียกร้องเงินทดแทนจากการเสียชีวิตของเส่ง ทุน แรงงานข้ามชาติชาวไทใหญ่ ที่ประสบอุบัติเหตุระหว่างการทำงานก่อสร้างปรับปรุงเขื่อนป้องกันตลิ่งที่ เชียงใหม่ ได้ดำเนินมาจนถึงปัจจุบันมีการพิจารณาคดีครั้งที่ 7 หากแต่ยังสรุปไม่ได้ ด้วยจำเลยคือนายจ้างไม่สนใจต่อคำสั่งศาล เมินต่อความรับผิดชอบตามหลักมนุษยธรรม
ชื่อบทความเดิม : กรณีเรียกค่าสินไหม 'จายเส่งทุน': ชะตากรรมแรงงานข้ามชาติผู้เสียชีวิตจากการทำงาน |
. |
สถานที่ก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง ริมแม่น้ำปิง (แฟ้มภาพ) |
. |
กรณี การเรียกร้องเงินทดแทนจากการเสียชีวิตของนายเส่ง ทุน หรือจายเส่ง ทุน แรงงานข้ามชาติชาวไทใหญ่ ที่ประสบอุบัติเหตุระหว่างการทำงานก่อสร้างปรับปรุงเขื่อนป้องกันตลิ่งที่ จังหวัดเชียงใหม่ นั้นได้มีการดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 จนล่าสุดในวันที่ 19 พ.ค. ที่ผ่านมาได้มีการพิจารณาคดีครั้งที่ 7 ซึ่งก็ยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้ เนื่องจากจำเลยไม่ได้มารายงานตัวกับศาล โดยล่าสุดได้มีการพิจารณาคดีเป็นครั้งที่ 7 และยังคงต้องมีการนัดพิจารณาคดีต่อไป |
. |
โครงการ ก่อสร้างปรับปรุงเขื่อนป้องกันตลิ่งที่จังหวัดเชียงใหม่นั้นเป็นโครงการ ที่ทางเทศบาลนครเชียงใหม่ได้ว่าจ้างให้บริษัทวังสิงห์คำวิศวกรรม จำกัด ดำเนินการในฐานะบริษัทรับเหมาต้นทางที่รับผิดชอบโครงการ ซึ่งทางบริษัทได้ทำการว่าจ้างผู้รับเหมาช่วง โดยผู้รับเหมารายนี้เป็นผู้จ้างแรงงานข้ามชาติจำนวนมากมาก่อสร้างในโครงการ แรงงานหนึ่งในนั้นคือ "เส่ง ทุน" |
. |
ชะตาชีวิต 'เส่ง ทุน' คนข้ามรัฐข้ามชาติ |
จายเส่ง ทุน หรือนายเส่ง ทุน อายุ 17 ปี เป็นชาวไทใหญ่ มาจากรัฐฉานประเทศพม่า เขามีพี่น้อง 3 คน บิดาและมารดาที่บ้านเกิดประกอบอาชีพทำนาและทำสวน |
. |
เดือนมีนาคม 2550 เขาได้เดินทางเข้ามาประเทศไทยเพื่อหางานทำ แต่ไม่มีเอกสารหรือบัตรใดๆ เนื่องจากเป็นช่วงที่ยังไม่มีการเปิดให้ขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว และเขาได้พักอยู่กับญาติที่สวนลำไยใน จ.ลำพูน |
. |
จนถึง ต้นเดือนมิถุนายนจึงได้ตกลงทำงานตามที่เพื่อนได้ติดต่อมา กับนายจ้างคนไทยซึ่งเป็นงานก่อสร้างปรับปรุงเขื่อนป้องกันตลิ่งดังกล่าว โดยเขาได้รับค่าแรงวันละ 170 บาท |
. |
เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน เวลาประมาณ 17.30 น. ขณะที่นายซาย เส่ง ทุน และเพื่อนร่วมงานกำลังทำงานอยู่นั้น มีรถผสมปูนถอยมาใกล้ที่พวกเขาทำงานอยู่ ทำให้ดินถล่มทับนายซาย เส่ง ทุน เพื่อนคนงานอีก 1 คน เป็นเหตุให้ทั้งคู่ได้รับบาดเจ็บสาหัสจนหมดสติ |
. |
ผู้เห็นเหตุการณ์ได้นำตัวทั้ง 2 คนส่งโรงพยาบาลนครพิงค์ จ.เชียงใหม่ โดยนายซาย เส่ง ทุน ได้รับการรักษาอยู่ 5 วันในห้องคนผู้ป่วยฉุกเฉิน (ICU) โดยต้องใช้เครื่องช่วยหายใจตลอดเวลา ในที่สุดเขาได้เสียชีวิตลง เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน ญาติพี่น้องจึงได้นำศพไปทำบุญตามประเพณี โดยเสียค่ารักษาพยาบาลประมาณ 5,000 บาท และค่าจัดการศพทั้งหมดประมาณ 20,000 บาท ซึ่งค่าใช้จ่ายดังกล่าวมาจากการรวบรวมของญาตินายเส่ง ทุน |
. |
ใน ระหว่างที่นายเส่ง ทุน ได้รับการรักษาอยู่ที่โรงพยาบาลนั้น ทางนายจ้างได้รับปากกับญาติของนายเส่ง ทุน ไว้ว่าจะช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลและเงินทดแทนรายเดือน หลังจากนั้นทางญาติได้ติดต่อกับนายจ้างในการขอรับเงินดังกล่าวเพื่อส่งกลับ ให้กับพ่อแม่ของนายเส่งทุนที่รัฐฉานประเทศพม่า แต่นายจ้างได้บ่ายเบี่ยงมาโดยตลอด เช่น เปลี่ยนสถานที่หรือวันนัด และย้ำกับทางญาติของนายเส่ง ทุน ว่า แรงงานข้ามชาติไม่สามารถเรียกร้องสิทธิใดๆ กับนายจ้างคนไทยได้ |
. |
นายเส่ง ทุน ขณะรักษาตัว (แฟ้มภาพ) (ที่มา: มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา) |
. |
ลำดับการเรียกร้องสิทธิในเงินทดแทน |
ภายหลังจากที่นายจ้างได้บ่ายเบี่ยงที่จะจ่ายเงินทดแทนหลายต่อหลายครั้ง นายวาริม มูลคำ น้าของนายเส่ง ทุน ที่อยู่ในเมืองไทยในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากบิดามารดาของของนาย เส่ง ทุน ได้แจ้งการประสบอันตราย เจ็บป่วย หรือสูญหาย และขอรับเงินทดแทน ตาม พ.ร.บ. เงินทดแทน พ.ศ. 2537 (แบบ กท. 16) ต่อสำนักงานประกันสังคมจังหวัดเชียงใหม่ ในวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2550 และได้ยื่นเอกสารหลักฐานจากประเทศพม่า เช่น |
. |
สำเนาทะเบียนบ้าน บัตรประจำตัวของบิดามารดา ที่แสดงว่าเป็นทายาทโดยธรรม พร้อมกับเอกสารที่แปลเป็นภาษาไทย ซึ่งแปลโดยคณะกรรมการชายแดนไทย-พม่า ประจำพื้นที่ 3 (แม่สอด) แต่เจ้าหน้าที่ของสำนักงานประกันสังคมไม่มั่นใจว่าการแปลโดยหน่วยงานดัง กล่าวมีความเที่ยงตรงเพียงใดจึงได้ขอบัตรประจำตัวข้าราชการของผู้แปล และได้เรียกนายวาริมเข้าพบเพื่อสอบถามเท็จจริงเพิ่มเติมอีกหลายครั้ง |
. |
ในช่วงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2550 จนถึงเดือนมีนาคม 2551 ทาง มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาได้ติดตามความคืบหน้าเรื่องการจ่ายเงิน ทดแทนจากสำนักงานประกันสังคม ซึ่งทางเจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคมก็ได้แจ้งว่าได้ออกหนังสือเชิญ นายจ้างเข้ามาพบแล้ว แต่นายจ้างไม่มาจึงมอบกรณีนายเส่งทุนให้นิติกรของสำนักงานประกันสังคม และส่งเรื่องให้ตำรวจติดตามนายจ้างเพื่อมาดำเนินคดี |
. |
อุปสรรคที่ "สำนักงานประกันสังคม" |
อย่างไรก็ตามทาง มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาได้จัดรวบรวมเอกสารหนังสือมอบอำนาจจากบิดามารดาของนายเส่ง ทุนอีกครั้ง โดย หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวได้แปลเป็นภาษาไทยโดยคณะกรรมการชายแดนไทย-พม่า และภาษาอังกฤษ ซึ่งแปลโดยเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจในการรับรองเอกสาร (Notary Public) ของประเทศพม่า โดยได้ยื่นเอกสารดังกล่าวต่อทางสำนักงานประกันสังคมในช่วงเดือนพฤษภาคม 2551 ซึ่ง ทางสำนักงาน ประกันสังคมก็ได้ออกหนังสือแจ้งให้นายวารีมทราบว่ากรณีของนาย เส่ง ทุน นั้นอยู่ในระหว่างการแสวงหาข้อเท็จจริง หากผลเป็นประการใดจะได้แจ้งให้ทราบต่อไป |
. |
ต้นเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2551 นาย วารีม มูลคำ ได้ตอบหนังสือของสำนักงานประกันสังคมโดยขอให้สำนักงานประกันสังคมชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับความคืบหน้าภายใน 7 วัน และขอให้สำนักงานประกันสังคมออกคำสั่งภายใน 30 วัน มิฉะนั้นจะดำเนินตามขั้นตอนของกฎหมาย สำนักงานประกันสังคมจึงได้ตอบหนังสือให้กับนายวารีม โดยขอให้นำเอกสารหลักฐานต่างๆ ไปให้เจ้าหน้าที่ ไม่เช่นนั้นเจ้าหน้าที่จะทำการปิดกรณี ซึ่งในการเข้าพบของนายวารีมครั้งนั้นไม่สามารถนำเอกสารตามที่เจ้าหน้าที่ ประกันสังคมต้องการได้ เนื่องจากเป็นเอกสารที่ชาวพม่าส่วนใหญ่ไม่มี หรือเป็นเอกสารจากประเทศพม่า |
. |
จากการประชุมอย่างไม่เป็นทางการระหว่างหัวหน้าสำนักงานประกันสังคมจังหวัดเชียงใหม่และประธาน และเลขาธิการของมูลนิธิฯ เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2551 นั้น ในที่ประชุมเจ้าหน้าที่ประกันสังคมได้ชี้แจงว่าที่ยังไม่สามารถดำเนินการ จ่ายเงินทดแทนได้เนื่องจากเอกสารไม่ครบ และขาดหนังสือทะเบียนสมรสของบิดามารดาของผู้ตาย รวมถึงใบแจ้งการตายหรือใบมรณะบัตรของผู้ตายจากในทะเบียนบ้านของพม่า |
. |
ส่วน เอกสารที่นายวารีมได้จัดหามาจากประเทศพม่าและให้คณะกรรมการชายแดนแปลเสร็จ แล้วได้ยื่นกับสำนักงานประกันสังคมนั้น ทางเจ้าหน้าที่ได้กล่าวว่าเอกสารดังกล่าวต้องให้กระทรวงการต่างประเทศของ พม่ารับรอง ถ้าไม่เช่นนั้นสำนักงานประกันสังคมต้องยื่นให้กระทรวงการต่างประเทศของ ประเทศไทยพิสูจน์โดยประสานงานกับกระทรวงการต่างประเทศของพม่าว่าบุคคลดัง กล่าวเป็นประชาชนของพม่าหรือไม่ (รัฐบาลทหารพม่าไม่ยอมรับคนที่ออกประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาตว่าเป็นประชาชน ของประเทศตน) |
. |
ทาง มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา ได้เสนอว่าหากมีช่องทางใดที่สามารถทำได้ ขอให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการตามช่องทางนั้น เช่น ขอให้ตีความ ม.20(4) ของพรบ. กองทุนเงินทดแทน ให้รวมถึงผู้ที่อยู่ในอุปการะ [ม.20(4) บุตรมีอายุตั้งแต่สิบแปดปีและทุพพลภาพหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ซึ่งอยู่ในอุปการะของลูกจ้างก่อนลูกจ้างถึงแก่ความตายหรือสูญหาย] แต่ทางเจ้าหน้าที่ประกันสังคมยืนยันว่าต้องปฏิบัติตามขั้นตอนกระบวนการของสำนักงานประกันสังคมทุกอย่าง |
. |
ฟ้องนายจ้างเรียกค่าสินไหม |
หลังจากที่ไม่มีความคืบหน้าในการจ่ายเงินทดแทน ตาม พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ. 2537 ต่อสำนักงานประกันสังคม แล้วนั้น นายวารีม ในฐานะผู้รับมอบอำนาจได้มีการฟ้องต่อศาลแรงงานเพื่อเรียกร้องค่าสินไหมจากนายจ้างเป็นเงิน 450,000 บาท เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2551 โดยเป็นผู้ยื่นฟ้อง ซึ่งคดีนี้ยังไม่สามารถหาข้อยุติได้จนถึงปัจจุบัน เนื่องจากนายจ้างไม่ได้มาขึ้นศาลและหายตัวไป ส่วนบริษัทวังสิงห์คำวิศวกรรม จำกัด ในฐานะบริษัทรับเหมาต้นทางปฏิเสธว่ากรณีดังกล่าวไม่อยู่ในความรับผิดชอบของทางบริษัท โดยต่อมานายวารีมได้ฟ้องบริษัทดังกล่าวเป็นจำเลยร่วมด้วย |
. |
ในการนัดพิจารณาคดี ครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 11 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 นั้น ผู้พิพากษาได้แนะนำทนายโจทก์ว่าควรเรียกเทศบาลนครเชียงใหม่ที่เป็นเจ้าของ โครงการมาเป็นจำเลยร่วมด้วย เนื่องจากคดียังไม่ได้ข้อยุติ ทั้งที่ได้มีการเรียกร้องเงินทดแทนตามสิทธิเป็นเวลามาปีกว่า แต่ทายาทของนาย เส่ง ทุน ก็ยังไม่ได้รับเงินทดแทนและค่าเสียหายแต่อย่างใด |
. |
และเมื่อวันที่ 28 เมษายน ศาลได้นัดพิจารณาคดีอีกครั้ง แต่ยังหาข้อยุติไม่ได้ และได้มีการเปลี่ยนผู้พิพากษา โดยผู้พิพากษาท่านใหม่ได้แนะนำให้ระมัดระวังในการเรียกเทศบาลนครเชียงใหม่มา เป็นจำเลยร่วมว่า เทศบาลนครเชียงใหม่เป็น "นายจ้าง" หรือ "ผู้ว่าจ้าง" ซึ่งหากไม่ระมัดระวังอาจถูกทางเทศบาลนครเชียงใหม่ฟ้องหมิ่นประมาทได้ |
. |
การพิจารณาคดีครั้งที่ 7 และการต่อสู้ที่ต้องดำเนินต่อไป |
โดยการพิจารณาคดีล่าสุดวันที่ 18 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ได้มีการพิจารณาคดีครั้งที่ 7 โดยในวันดังกล่าวจำเลยที่เป็นนายจ้างโดยตรงและเป็นผู้รับเหมาช่วงไม่มาฟังการพิจารณาคดี ทั้งได้เปลี่ยนชื่อและที่อยู่ ศาลจึงนัดพิจารณาคดีในครั้งต่อไปเพื่อจะได้มีการปิดหมายศาลให้จำเลยทราบตามที่อยู่ที่ได้มีการเปลี่ยนแปลง โดยกำหนดในวันที่ 3 กรกฎาคม ที่จะถึงนี้ |
. |
ด้านทนายของบริษัทวังสิงห์คำวิศวกรรม จำกัด ซึ่งเป็นฝ่ายจำเลยร่วม ได้เสนอเงินช่วยเหลือจำนวน 40,000 บาท ขณะที่ฝ่ายโจทก์ปรับค่าเสียหายลงมาเป็นเงินจำนวน 150,000 บาท ดังนั้น ทนายฝ่ายจำเลยจึงขอนำข้อเสนอฝ่ายโจทก์ดังกล่าวไปเสนอกรรมการผู้มีอำนาจและจะ แถลงต่อศาลในนัดหน้า โดยศาลแนะนำให้ทั้งสองฝ่ายได้มีการเจรจาตกลงในประเด็นนี้ก่อนที่จะถึงนัดใน ครั้งหน้า ซึ่งหากคู่ความไม่สามารถตกลงกันได้ในนัดหน้าศาลได้ให้ทั้งสองฝ่ายเตรียมข้อ เท็จจริงรวมทั้งเอกสารที่เกี่ยวข้องมาศาลให้พร้อมเพื่อให้ศาลตรวจสอบ และสอบข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้อง |
. |
ที่มา : เว็บไซต์ประชาไท |