ซี.พี. อัดนโยบายรับประกัน-จำนำห่วยทั้งคู่จี้รื้อโครงสร้างพัฒนาคุณภาพยกแผง จวกการแก้ปัญหาด้วยการแทรกแซงราคามีรูรั่วให้ทุจริตก่อนถึงมือเกษตรกร
ซี.พี. อัดนโยบายรับประกัน-จำนำห่วยทั้งคู่จี้รื้อโครงสร้างพัฒนาคุณภาพยกแผง จวกการแก้ปัญหาด้วยการแทรกแซงราคามีรูรั่วให้ทุจริตก่อนถึงมือเกษตรกร |
. |
นายมนตรี คงตระกูลเทียน ประธานคณะผู้บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ร่วม กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร เครือเจริญโภคภัณฑ์ |
. |
นายมนตรี คงตระกูลเทียน ประธานคณะผู้บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ร่วม กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซี.พี.) เปิดเผยว่า หากรัฐบาลต้องการแก้ปัญหาระบบสิน ค้าเกษตร น่าจะเริ่มพัฒนาที่โครงสร้างการผลิต การตลาด มากกว่ามุ่งแก้ปัญหาด้วยการแทรกแซงราคาเพียงอย่างเดียว เพราะไม่ว่าจะแทรกแซงด้วยการเปิดโครงการรับจำนำ หรือประกันราคาขั้นต่ำ ล้วนมีจุดรั่วไหลก่อนไปถึงมือเกษตรกรทั้งนั้น |
. |
"ตามหลักการทั้งโครงการประกันราคา หรือการเปิดรับจำนำ มีจุดแข็งที่เป็นประโยชน์ต่อเกษตรกร แต่ขึ้นอยู่กับรายละเอียด ว่าเมื่อลงมือปฏิบัติจะทำประโยชน์ถึงมือเกษตรกรมากน้อยแค่ไหน ซึ่งตอนนี้ยังตอบไม่ได้ว่าแบบไหนดีกว่ากัน เพราะรัฐบาลยังไม่มีหลักเกณฑ์การประกันราคาชัดเจน แต่ ที่จริงการที่รัฐเสียงบประมาณปีหนึ่งหลายหมื่นล้านบาท น่าจะนำไปใช้พัฒนาแหล่งน้ำ การพัฒนาคุณภาพผลผลิต การตลาดและราคาทั้งระบบมากกว่า แทรกแซงราคาอย่างเดียว" |
. |
นายมนตรีกล่าวว่า ถ้ารัฐบาลพัฒนาการผลิตและคุณภาพสินค้าเกษตรให้ได้ผลดี ราคาจะเพิ่มสูงขึ้นอัตโนมัติ อย่างที่ ซี.พี.ส่งออกมังคุดไปญี่ปุ่นขายได้ถึงลูกละ 100 บาท โดยสินค้าเกษตรไทยหลายชนิด เป็นผู้นำตลาดและมีคุณภาพสูงอยู่แล้ว หากรัฐเพิ่มบริหารจัดการถูกต้อง เช่น เก็บรักษาผ่านไซโลเพื่อยืดคุณภาพให้นานกว่าเก็บผ่านโกดังปกติ ก็จะช่วยให้ราคาสูงไปเอง |
. |
"ที่จริงรัฐบาลทำให้ข้าวราคาสูงได้โดย ไม่ต้องเสียงบมาก เพราะไทยก็เป็นเจ้าตลาดส่งออกปีละ 9.5 ล้านตัน หรือ 30% ของยอดส่งออก ทั่วโลก แถมมีคุณภาพดีกว่าคู่แข่งหากจัดการดี เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี ชาวนาขายข้าวเปลือกได้ตันละ 50,000-80,000 บาท เพราะรัฐเป็นเจ้ามือกว้านซื้อข้าวจากชาวนาราคาแพงมาเก็บทั้งหมด จากนั้นขายต่อให้โรงสี ผู้ส่งออกในราคาสูงอีกทอด ซึ่งรัฐไม่ต้องเสียงบอุดหนุน แต่ในประเทศอาจต้องจ่ายเงินกินข้าวแพงขึ้นบ้าง" |
. |
ทั้งนี้ราคาสินค้าเกษตรจำเป็นต้องทำให้สูง เพราะผลสำรวจจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรระบุว่าเกษตรกรไทยอายุเฉลี่ย 50 ปีขึ้น และคนรุ่นใหม่ไม่สนใจเข้า มาทำเพราะได้ผลตอบแทนต่ำ จึงน่ากลัวว่า ต่อไปคนไทยอาจไม่ทำอาชีพกสิกรรมอีก โดยตอนนี้ชาวนาไทยขายข้าวเปลือกได้ตันละ 15,000-20,000 บาท ก็มีความสุขแล้ว |
. |
รายงานจากวงการค้าข้าวระบุว่า ได้ตั้งข้อสังเกตสาเหตุที่ทำให้โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรังปี 52 จำนำ 4 ล้านตัน เต็มโควตาเร็ว ผิดปกติ เพราะมีการนำข้าวเก่าสมัยที่ นายไชยา สะสมทรัพย์ เป็น รมว.พาณิชย์ สั่งระบายข้าว ในสต๊อกให้ผู้ส่งออก 2.5 ล้านตัน มาเวียนเทียนเข้าโครงการรับจำนำและมีปัญหาลักลอบนำเข้าข้าว จากประเทศเพื่อนบ้านมาสวมสิทธิเพิ่มขึ้น |
. |
ทั้งนี้จากการประเมินผลผลิตข้าวนาปรังปีนี้อยู่ที่ 6 ล้านตัน แต่ที่น่าแปลกคือแม้ข้าวเข้าโครงการจำนำแล้ว 4 ล้านตัน แต่ข้าวกลับเหลือในตลาดถึง 5-6 ล้านตัน เท่ากับว่าเกิดส่วนต่างข้าวที่ไม่รู้ที่มาถึง 3-4 ล้านตัน. |
. |
ที่มา : เดลินิวส์ออนไลน์ |