iTap หนุนอุตสาหกรรมเซรามิกนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีช่วยลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มปริมาณสินค้าสำเร็จ ด้วยเครื่องคลือบเซรามิกชั้นสูง "สีม่วงเอฟเฟค"
iTap หนุนอุตสาหกรรมเซรามิกนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีช่วยลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มปริมาณสินค้าสำเร็จด้วยเครื่องคลือบเซรามิกชั้นสูง "สีม่วงเอฟเฟค" |
. |
. |
บริษัท มายด์ฟูล 8 พอทเทอร์รี่ จำกัด ประสบความสำเร็จในการพัฒนาสูตรเคลือบเซรามิก เครื่องเคลือบเซรามิกชั้นสูง "สีม่วงเอฟเฟค" ทำให้คุณภาพสีสม่ำเสมอ ลดการสูญเสีย เพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์จากวัตถุดิบในประเทศ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภายใต้การสนับสนุนของโครงการ iTAP (สวทช.) เครือข่ายภาคเหนือ |
. |
อุตสาหกรรมเซรามิก เป็นอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการเป็นจำนวนมาก และมีการแข่งขันสูง จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนารูปแบบของผลิตภัณฑ์อยู่เสมอ และ "สี" เป็นสิ่งหนึ่งที่ช่วยเพิ่มความสวยงามสะดุดตาของผลิตภัณฑ์เซรามิก นับแต่อดีตที่ผู้ผลิตสินค้าได้คิดค้นหาวิธีการพัฒนาสูตรสีใหม่ๆ เพื่อดึงดูดความสนใจลูกค้าหรือผู้ที่ชื่นชอบในผลิตภัณฑ์เซรามิก |
. |
โดยในบรรดาการเคลือบเซรามิกที่สวยงามซึ่งนักเซรามิกหรือช่างปั้นทั้งหลายใฝ่ฝันที่จะทำให้ผลงานของตนได้เป็นผลงานชิ้นเอก (Master piece) ก็คือ การเคลือบเซรามิกด้วย "วิธีการเคลือบคอปเปอร์เรดออกไซด์" ซึ่งเป็นการเคลือบเซรามิกชั้นสูงที่ทำมาตั้งแต่สมัยราชวงค์ซ่ง มาจนถึงราชวงค์ชิงในประเทศจีน |
. |
นางกนกพร นฤภัย กรรมการผู้จัดการ บริษัท มายด์ฟูล 8 พอทเทอร์รี่ จำกัด |
. |
นางกนกพร นฤภัย กรรมการผู้จัดการ บริษัท มายด์ฟูล 8 พอทเทอร์รี่ จำกัด ตั้งอยู่ที่ ต.ปงแสงทอง อ.เมือง จ.ลำปาง เจ้าของผลงาน เครื่องเคลือบเซรามิกชั้นสูง "สีม่วงเอฟเฟค" เจ้าแรกเจ้าเดียว ที่สามารถควบคุมโทนสีการผลิตผลิตภัณฑ์เซรามิกให้ได้ตามความต้องการของลูกค้า ซึ่งพัฒนามาจากเคลือบสีม่วงคินโย คือ เคลือบคอปเปอร์เรดของจีนโบราณ เป็นหนึ่งในผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาสูตรเคลือบเซรามิก |
. |
"บริษัทเราถือเป็นเจ้าแรก One in the World ที่สามารถผลิตผลิตภัณฑ์เซรามิกสีม่วงที่มีโทนสีหลากหลายตามความต้องการของลูกค้าในเชิงอุตสาหกรรมได้สำเร็จ ซึ่งเราเรียกว่าสีม่วงเอฟเฟค หรือ Violet Effect แม้การผลิตเซรามิกทั่วโลกมีเหมือนกันหมด แต่สิ่งที่แตกต่างคือการเลือกใช้เงื่อนไขการผลิตที่ถูกต้องเหมาะสมที่สุด สำหรับวัตถุดิบที่เราเลือกใช้เกือบ 100% เป็นวัตถุดิบที่มีในเมืองไทย" นางกนกพร นฤภัย กล่าว |
. |
กรรมการผู้จัดการเล่าว่า "ก่อนที่จะมาทำธุรกิจเซรามิกตนและสามีเคยรับราชการมาก่อน ที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม สาเหตุที่ตัดสินใจลาออกจากราชการเพราะต้องการพิสูจน์ถึงแนวทางที่เคยให้คำแนะนำด้านเทคนิคการทำเซรามิกแก่ผู้ประกอบการรายอื่นๆ โดยนำประสบการณ์จากการเป็นนักวิชาการมาประยุกต์ใช้ |
. |
และเล็งเห็นว่าธุรกิจนี้ไม่มีทางตันเพราะหลังจากที่ประสบความสำเร็จในการคิดค้นสูตรเคลือบสีม่วงคินโย ทำให้กล้ารับออเดอร์จากลูกค้าและสามารถวางแผนการตลาดได้ดีขึ้น สำหรับผลิตภัณฑ์ของเราก่อนส่งลูกค้าทุกครั้งสิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ หนึ่งสินค้าต้องสวย สองต้องมีการคัดเกรด และสามต้องส่งสินค้าตรงตามกำหนด ซึ่งเป็นสิ่งที่ลูกค้ารู้สึกประทับใจและไว้วางใจเราเสมอมา" |
. |
ปัจจุบันบริษัทฯ ดำเนินกิจการมาแล้วกว่า 4 ปี โดยผลิตภัณฑ์เซรามิกที่ผลิตจะเป็นประเภทของใช้บนโต๊ะอาหาร (Tableware) ในสไตล์ทั้งไทยและญี่ปุ่นที่นิยมนำมาเป็นเครื่องใช้และของประดับตกแต่ง เช่น จาน ชาม ชุดน้ำชา-กาแฟ ไปจนถึงชุดห้องน้ำ เป็นต้น ส่วนใหญ่เป็นการผลิตตามออเดอร์ภายใต้แบรนด์ของลูกค้าและผลิตส่งตามออเดอร์ของโรงแรม รีสอร์ท สปา ร้านอาหาร รวมทั้งห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ โดยสินค้าของบริษัทฯ มีราคาตั้งแต่หลักสิบถึงหลักหมื่น |
. |
. |
โดยมี Showroom ตั้งอยู่ที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่า เชียงใหม่ แอร์พอร์ต เป็นทั้งที่จำหน่ายและรับออเดอร์ ลูกค้าส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มพรีเมี่ยมจากทั่วโลก อาทิ สิงคโปร์ บรูไน คูเวต มาเลเซีย ไต้หวัน ฮ่องกง ญี่ปุ่น อิตาลี สหรัฐอเมริกา แอฟริกาใต้ และประเทศในแถบยุโรป ฯลฯ ส่วนลูกค้าในประเทศร้อยละ 80 มาจากโรงแรมที่ ภูเก็ต กระบี่ สมุย พัทยา และกรุงเทพฯ |
. |
สำหรับการเคลือบคอปเปอร์เรดนั้น กนกพรอธิบายว่า จะมีลักษณะเป็นสีแดงฉ่ำ แดงอมม่วงหรือแดงอมชมพู ซึ่งขึ้นอยู่กับวัตถุดิบที่ใช้และสูตรเคลือบรวมทั้งฝีมือในการเผา ในกรณีที่เคลือบแล้วสีที่ได้ออกมาเป็นสีแดงฉ่ำหรือแดงอมดำ เรียกการเคลือบประเภทนี้ว่า Shinsha (Sang de boeuf or Ox blood) |
. |
อย่างไรก็ตามหากมีสูตรเคลือบที่เหมาะสมแล้วการเผาเคลือบคอปเปอร์ในบรรยากาศแบบรีดักชั่น สีที่ออกมาจะสวยงามในเฉดแดงอมม่วงเรียกการเคลือบประเภทนี้ว่าคินโย หรือ Kinyo (Rouge flambe’) ซึ่งการเคลือบแบบคินโยจะได้รับความนิยมเป็นอย่างมากจากลูกค้าระดับพรีเมี่ยมในแถบยุโรป |
. |
แม้บริษัทจะประสบความสำเร็จในการประกอบธุรกิจ แต่ยังประสบปัญหาด้านการควบคุมความสม่ำเสมอของการเคลือบในโทนสีม่วงคินโย ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตต่ำและมีผลกระทบต่อการส่งมอบสินค้ารวมทั้งไม่สามารถรับออเดอร์ในปริมาณมากได้ |
. |
ทางบริษัทฯ จึงนำหลักการทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพการผลิตผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพมาตรฐานมากยิ่งขึ้น โดยขอรับการสนับสนุนจาก โครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย (iTAP) ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี (TMC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เครือข่ายภาคเหนือ ใน "โครงการการพัฒนาเคลือบสีม่วงคินโยเพื่อเพิ่มมูลค่าในผลิตภัณฑ์เซรามิก" |
. |
โดย iTAP จัดส่งนายสมบูรณ์ อรัณยภาค ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านเซรามิกเข้ามาเป็นที่ปรึกษา เพื่อทำการศึกษาวิจัยปัญหาและหาแนวทางในการพัฒนาทักษะทางเทคนิค โดยใช้ระยะเวลาประมาณ 1 ปี การเคลือบในโทนสีม่วงคินโยในผลิตภัณฑ์เซรามิกให้มีคุณภาพสีที่สม่ำเสมอ ลดการสูญเสียและยังเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ |
. |
. |
ผลจากการดำเนินโครงการ ทำให้บริษัทฯ ได้เทคนิคในการควบคุมเฉดสีอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถพัฒนาต่อยอดเทคนิคการเคลือบ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและตรงกับความต้องการที่หลากหลายของลูกค้าได้ ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น เนื่องจากสามารถผลิตเซรามิกเคลือบในโทนสีม่วงคินโย เกรด A ได้มากถึง 80-90% จากเดิมที่ผลิตเสียประมาณ 50% หรือบางครั้งเกิดการสูญเสียมากถึง 100% |
. |
นอกจากนี้ยังสามารถใช้ประโยชน์จากวัตถุดิบได้เพิ่มขึ้น ลดการสูญเสียในการผลิตสินค้าเกรด B ลง 50% ส่งผลให้ต้นทุนในการผลิตลดลง 15% มียอดขายเพิ่มขึ้น 20% และปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้น 10% นอกจากนี้ยังทำให้พนักงานมีความรู้ทางเทคนิคมากขึ้น มีการพัฒนาทักษะและความสามารถในการผลิตเพิ่มขึ้นถึง 30% |
. |
อย่างไรก็ดี กนกพรกล่าวว่า จากการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน บริษัทฯ ยังไม่ได้รับผลกระทบมากนักเพราะลูกค้าส่วนใหญ่คือกลุ่มที่มีกำลังซื้อ สำหรับแผนการตลาดของบริษัทฯ นอกจากจะผลิตเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารแล้วยังต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลายเพื่อเพิ่มทางเลือกให้กับลูกค้ามากขึ้น รวมทั้งคิดค้นสูตรเคลือบ |
. |
เซรามิกเกรดที่ดีขึ้นแบบ Ruskin คือ การผลิตเคลือบคอปเปอร์เรดของชนชั้นสูงของอังกฤษที่นิยมกันเมื่อ 100 ปีก่อน ให้มีความหลากหลายของสูตรเคลือบเพิ่มขึ้นจากเดิมที่มีอยู่แล้ว 4 สูตร ซึ่งยังต้องอาศัยความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ความเชี่ยวชาญในเรื่องของดีไซน์เข้ามาช่วยต่อไป |
. |
นอกจากเป็นเจ้าของผลงาน เครื่องเคลือบเซรามิกชั้นสูง "สีม่วงเอฟเฟค" เจ้าแรกเจ้าเดียวแล้ว อีกหนึ่งผลงานที่สร้างชื่อเสียงให้กับบริษัทฯและประเทศไทยก็คือ การคว้ารางวัลบนเวทีระดับนานาชาติ "Award of Excellence for Handicrafts 2008 South-East Asia Programme จาก Unesco (Seal) ในผลงานที่มีชื่อว่า "ไหลายน่าน" ซึ่งเป็นการทำเลียนแบบของโบราณที่ขุดพบในบ้านบ่อสวก อ.เมือง จ.น่าน จากแหล่งเตาในสมัยโบราณ จึงเป็นทั้งความภาคภูมิใจและใบเบิกทางที่ดีต่อการทำงานในธุรกิจนี้ต่อไปในอนาคต |
. |
ด้วยการนำหลักการทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาใช้ พัฒนาปรับปรุงสินค้าเพิ่มเติม พร้อมกับความทุ่มเทและความใส่ใจในการรักษาคุณภาพมาตรฐานสินค้าของ กนกพร นฤภัย กรรมการผู้จัดการ บริษัท มายด์ฟูล 8 พอทเทอร์รี่ จำกัด และทีมงาน ผนวกกับการไม่หยุดนิ่งในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา ได้นำมาสู่ความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจอย่างเป็นรูปธรรม |