วิถีชีวิตของชาวบ้าน ต.ทรัพย์ทวี จ.สุราษฎร์ธานี ที่เคยอยู่อย่างสงบ ใช้ชีวิตเรียบง่ายตามปกติ ทำการเกษตรมาตั้งแต่บรรพบุรุษ จู่ ๆ ทางการก็ประกาศจะมีนิคมอุตสาหกรรมเกิดขึ้น พวกเขาก็กลายเป็น "ผู้บุกรุก" ตกอยู่ในสภาพยากลำบาก ด้วยไม่สามารถทำมาหากินบนพื้นดินที่เข้ามาบุกเบิกทำกินมาเนิ่นนานกว่า 50 ปี
รวยริน เพ็ชรสลับแก้ว ศูนย์สื่อสังคมภาคใต้ |
. |
"ก่อน ปี 2536 พวกเราอยู่กันอย่างสงบสุข ใช้ชีวิตเรียบง่ายตามปกติ อยู่ๆ ทางการก็ประกาศว่า จะมีนิคมอุตสาหกรรมเกิดขึ้นที่นี่ มีโรงงานประมาณ 700 โรง กลางทุ่งปากขอ จรดชุมชนบ้านขอบด้ง ชุมชนบ้านทับชัน และชุมชนบ้านไทรงาม หมู่ที่ 1 ตำบลทรัพย์ทวี อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี แล้วก็เงียบหายไป เพราะถูกคัดค้าน จนกระทั่งมาปี 2538 ทางราชการก็ไม่ให้เราจ่ายภาษีบำรุงท้องที่" |
. |
บังอร เบียดกสิน |
. |
บังอร เบียดกสิน |
นางบังอร เบียดกสิน ชาวไทดำซึ่งย้ายหนีความกันดาร ไร้เครื่องสาธารณูปโภค จากฝั่งอำเภอบ้านนาเดิม ซึ่งถูกกำหนดเป็นที่ตั้ง "นิคมอุตสาหกรรมบ้านนาเดิม" ภาย ใต้โครงการพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคใต้ หรือเซาเทิร์นซีบอร์ด มาซื้อที่ดินสร้างบ้านริมฝั่งแม่น้ำตาปี บ้านทับชัน หมู่ที่ 2 ตำบลกรูด อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฏร์ธานี ระบายความรู้สึกอัดอั้นตันใจท่ามกลางวงสนทนา |
. |
นางบังอร เบียดกสิน เล่าถึงที่มาที่ไปของชาวไทดำให้ฟังว่า มีต้นกำเนิดที่เมืองแถง หรือเดียนเบียนฟู ตอนเหนือของประเทศเวียดนาม อพยพมาอยู่ที่ลาวและเมืองไทย ตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี ปัจจุบัน ชุมชนไทดำปรากฏในหลายท้องถิ่น เช่น จังหวัดราชบุรี นครปฐม สุพรรณบุรี พิจิตร พิษณุโลก กาญจนบุรี ชุมพร และสุราษฏร์ธานี |
. |
"รุ่นแรกที่มาบุกเบิกที่ลุ่มน้ำตาปี จังหวัดสุราษฏร์ธานี เมื่อปี 2497 มากันเพียง 5 ครอบครัว หลังจากลงหลักปักฐานแล้ว ก็กลับไปบอกญาติๆ ถึงความอุดมสมบูรณ์ของแผ่นดินริมฝั่งแม่น้ำตาปี ชาวไทดำจึงเดินทางมาตั้งบ้านเรือนที่นี่อย่างต่อเนื่อง ตอนนี้กว่า 400 ครัวเรือนแล้ว" นางบังอร เบียดกสินเล่า |
. |
ลุงไร หรือ นายไร ทองศรีสุพรรณ ชาวไทดำ อยู่บ้านเลขที่ 159 บ้านทับชัน หมู่ที่ 1 ตำบลทรัพย์ทวี อำเภอบ้านนาเดิม ซึ่งอยู่คนละฟากฝั่งแม้น้ำตาปี ตรงกันข้ามกับบ้านนางบังอร เสริมขึ้นว่า ตอนที่กลุ่มไทดำกลุ่มแรกมาถึงที่นี่ แค่โก้งโค้งมองลอดหว่างขา ก็รู้แล้วว่าเป็นที่ลุ่ม เหมาะแก่การทำนา |
. |
ทว่า พอปักหลักลงฐานเข้าจริงๆ ก็รู้อาณาบริเวณนี้เป็นที่ลุ่มน้ำท่วม ทำนาไม่ได้ แต่ชาวไทดำไม่ได้ย่อท้อ เปลี่ยนไปทำเกษตรแบบยกร่องแทนชาวไทดำกลุ่มนี้ เริ่มจ่ายภาษีบำรุงท้องที่ มาตั้งแต่ปี 2509 หลายคนยังคงเก็บหลักฐานการจ่ายภาษีไว้ จนถึงวันนี้ กระทั่งปี 2538 ทางการให้หยุดชำระภาษีบำรุงท้องที่ พร้อมกับประทับข้อความลงในใบเสร็จรับเงินภาษีบำรุงท้องที่ในปี 2538 ว่า… "ใบเสร็จฉบับนี้ มิใช่เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน" |
. |
ต่อ มา มีประกาศของอำเภอบ้านนาสาร เรื่องที่ดินสาธารณประโยชน์ทุ่งปากขอ ในพื้นที่หมู่ที่ 1 ตำบลทรัพย์ทวี กิ่งอำเภอบ้านนาเดิมว่า มีหลักฐานตามทะเบียนที่ดินสาธารณประโยชน์ของทางราชการ ซึ่งได้ประกาศมาตั้งแต่ พ.ศ. 2475 ทางราชการได้ดำเนินการเร่งรัดตรวจสอบ เพื่อออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงแล้ว จำนวน 4,143 ไร่ 90 ตารางวา เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2529 "เราเพิ่งทราบ เมื่อปี 2546 หลังจากเพื่อนบ้านของเรา ถูกจับกุมข้อหาบุกรุกที่ดินสาธารณะ" |
. |
หลัง จากนั้น วันที่ 3 มีนาคม 2546 ชาวบ้านได้รับประกาศจากอำเภอบ้านนาเดิม เรื่องการขอเข้าอยู่อาศัย หรือขอใช้ประโยชน์ในที่ดินชั่วคราว โดยให้ผู้ที่อยู่วันประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 96 ลงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2515 ไปยื่นคำขอเข้าอยู่อาศัยหรือขอใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐเป็นการชั่วคราว ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ที่ว่าการอำเภอบ้านนาเดิม ลงชื่อนายอวยชัย อินทร์นาค นายอำเภอบ้านนาเดิมในขณะนั้น |
. |
ถัดมา วันที่ 20 มิถุนายน 2550 ชุมชนทับชัน - ขอบ ด้ง ได้ทำหนังสือถึงนายกองค์การบริหารส่วนตำบลทรัพย์ทวี และนายอำเภอบ้านนาเดิม เรื่องกรณีชุมชนไม่มีเอกสารสิทธิ์ในที่ทำกินและไม่สามารถดำเนินการปรับปรุง พื้นที่ได้ เนื่องจากเป็นที่ดินที่มีหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง ขอสนับสนุนให้ชุมชนดั้งเดิมมีเอกสารสิทธิ์ในการถือครองที่ดิน |
. |
ต่อ มา วันที่ 25 มิถุนายน 2550 นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทรัพย์ทวี ได้ทำหนังสือถึงนายอำเภอบ้านนาเดิม เพื่อขอให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีราษฎรบุกรุกที่สาธารณประโยชน์ |
. |
จนกระทั่ง วันที่ 17 มีนาคม 2551 นายนิมิตร ฐิตะโชติการ อนุกรรมการแก้ปัญหาที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยภาคใต้ ถึงนายกองค์การบริหารส่วนตำบลทรัพย์ทวี เพื่อขอใช้ประโยชน์ในที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยแปลงทุ่งปากขอ |
. |
วัน ที่ 19 ธันวาคม 2551 นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทรัพย์ทวี กำนันตำบลทรัพย์ทวี ได้แจ้งต่อที่ประชุมรับฟังความเดือดร้อนปัญหาที่ดินทำกินทุ่งปากขอ ที่องค์การบริหารส่วนตำบลทรัพย์ทวีว่า จะมีโครงการแก้มลิง ในพื้นที่หมู่ที่ 1 ตำบลทรัพย์ทวี |
. |
วัน ที่ 26 ธันวาคม 2551 ชุมชนบ้านทับชันจึงได้ทำหนังสือถึงผู้อำนวยการโครงการชลประทาน จังหวัดสุราษฏร์ธานี เพื่อขอทราบความคืบหน้าโครงการแก้มลิง หมู่ที่ 1 ตำบลทรัพย์ทวี |
. |
ต่อ มา วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2551 คณะทำงานพัฒนาแหล่งน้ำเป็นพื้นที่แก้มลิง ได้มอบหมายให้โครงการชลประทานสุราษฏร์ธานี เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการสำรวจ ออกแบบ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2551 โครงการชลประทานสุราษฎร์ธานีได้เข้าพิจารณาพื้นที่ |
. |
ต่อ มา ทางจังหวัดสุราษฏร์ธานีได้ทำหนังสือเชิญผู้อำนวยการโครงการชลประทานจังหวัด สุราษฏร์ธานี ประชุมคณะทำงานพัฒนาแหล่งน้ำเป็นพื้นที่แก้มลิง เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งและอุทกภัยจังหวัดสุราษฏร์ธานี เพื่อแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินสาธารณประโยชน์ บริเวณทุ่งปากขอ ตำบลทรัพย์ทวี |
. |
นับจากวันนั้นเป็นต้นมา ชาวบ้านทั้งสองฟากแม่น้ำตาปี ที่เคยอยู่กันอย่างสงบ ก็ตกอยู่ในสภาพยากลำบาก ด้วยไม่สามารถทำมาหากินบนพื้นดินที่เข้ามาบุกเบิกทำกินมาเนิ่นนานกว่า 50 ปี เช่นที่ผ่านมา |
. |
ที่มา : เว็บไซต์ประชาไท |