ทิปปิงพอยท์จัดตั้งทีม DVLabs บริการวิจัยและป้องกันการบุกรุกเครือข่ายแบบเรียลไทม์ พร้อมขึ้นแท่น "กลุ่มผู้นำ" ในระบบป้องกันการบุกรุกเครือข่าย โดยการจัดอันดับของ Magic Quadrant
ทิปปิงพอยท์จัดตั้งทีม DVLabs บริการวิจัยและป้องกันการบุกรุกเครือข่ายแบบเรียลไทม์ พร้อมขึ้นแท่น "กลุ่มผู้นำ" ในระบบป้องกันการบุกรุกเครือข่าย โดยการจัดอันดับของ Magic Quadrant |
. |
ทิปปิงพอยท์ ผู้นำระบบป้องกันการบุกรุกเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ประกาศจัดตั้งทีมวิจัยด้านความปลอดภัยภายในหน่วยงาน หรือ Digital Vaccine Laboratories (DVLabs) เพื่อทำหน้าที่วิจัยเกี่ยวกับช่องโหว่และความปลอดภัยในอุตสาหกรรม โดยทีม DVLabs ซึ่งได้สร้างระบบอัจฉริยะด้านการรักษาความปลอดภัยที่อยู่เบื้องหลังผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของทิปปิงพอยท์ ประกอบด้วยนักวิจัยด้านความปลอดภัยที่มีชื่อเสียงระดับโลก ซึ่งได้ใช้ความเชี่ยวชาญด้านงานวิศวกรรมและการวิเคราะห์ที่ใช้เทคโนโลยีล้ำสมัยในการปฏิบัติงานรายวันภายในทีมของตน |
. |
ทีมหน่วยวิจัย DVLabs จะให้ข้อมูลตัวกรองระบบป้องกันการบุกรุกและการคุกคามเครือข่ายแบบเรียลไทม์แก่ลูกค้า เพื่อให้ลูกค้ากำหนดการเปลี่ยนแปลงนโยบายการรักษาความปลอดภัยตามที่จำเป็นในการใช้ระบบ IPS ของทิปปิงพอยท์ |
. |
มร. โรหิต ธามานการ์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยระบบรักษาความปลอดภัย DVLabs ของทิปปิงพอยท์ |
. |
มร. โรหิต ธามานการ์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยระบบรักษาความปลอดภัย DVLabs ของทิปปิงพอยท์ กล่าวว่า "ความเชี่ยวชาญและความรู้ที่มีอยู่อย่างลึกซึ้งของทีมวิจัย DVLabs ของทิปปิงพอยท์ ยากที่จะหาคู่แข่งในวงการมาเปรียบเทียบได้ ด้วยมาตรฐานที่ทีมงานของเราได้สร้างขึ้นในการเปิดเผยช่องโหว่การวิจัยเรื่องความปลอดภัยและการพัฒนาตัวกรอง เป็นการให้ข้อมูลเรื่องการรักษาความปลอดภัยได้อย่างครอบคลุมที่สุด และรวดเร็วที่สุดแก่ลูกค้าของเรา และยังเป็นการเพิ่มขอบข่ายการบริการของระบบ IPS เพิ่มเติมอีกด้วย" |
. |
ทั้งนี้ ระบบป้องกันการบุกรุกเครือข่ายของ TippingPoint? จะป้องกันการโจมตีทางอินเทอร์เน็ตทั้งจากภายในและภายนอกระบบ (เช่น หนอนคอมพิวเตอร์, ไวรัส, โทรจัน, การโจมตีแบบ DDoS, สปายแวร์, P2P, ช่องโหว่ในเว็บแอพพลิเคชั่น และ SCADA) ซึ่งอาจคุกคามโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญได้ ระบบ IPS ทุกระบบของทิปปิงพอยท์จะมาพร้อมกับ "การตั้งค่าที่แนะนำ" ที่จะให้นโยบายในการกำหนดค่าล่วงหน้า ซึ่งจะบล็อกการโจมตีได้โดยอัตโนมัติและแม่นยำโดยที่ไม่ต้องทำการปรับค่าใดๆ จึงช่วยลดเวลาและทรัพยากรที่ต้องใช้ในการป้องกันและรักษาเครือข่ายให้มีความแข็งแกร่งได้เป็นอย่างมาก |
. |
ในปี 2548 ทิปปิ้งพอยท์ได้จัดตั้ง Zero Day Initiative (ZDI) ซึ่งเป็นโครงการที่จะให้รางวัลแก่นักวิจัยสำหรับการรายงานช่องโหว่ของระบบที่ค้นพบด้วยความรับผิดชอบ โครงการนี้ได้แพร่หลายจนมีผู้เข้าร่วมโครงการเกือบถึง 1,000 ราย และได้ผลักดันให้ทิปปิงพอยท์ก้าวขึ้นมาอยู่แถวหน้าในการวิจัยและการเปิดเผยช่องโหว่ของระบบ |
. |
ในการศึกษาที่มีทิปปิ้งพอยท์เป็นคณะกรรมการ บริษัทวิจัยอินโฟเนติกส์ได้รายงานว่า นับตั้งแต่ได้มีการเปิดตัวโครงการ ZDI ทิปปิงพอยท์ ได้ค้นพบช่องโหว่ในซอฟต์แวร์มากกว่าที่ผู้แข่งขันด้าน IPS รายที่มีคะแนนสูสีมากที่สุดค้นพบถึงหกเท่า การศึกษานี้ยังค้นพบว่า ในปี 2551 ทิปปิงพอยท์ได้ค้นพบช่องโหว่ในระบบมากกว่าที่ผู้แข่งขันด้าน IPS รายที่มีคะแนนใกล้เคียงมากที่สุดค้นพบอยู่สามเท่า |
. |
นอกจากนี้ การ์ทเนอร์ อิงค์ ซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทวิเคราะห์ด้านอุตสาหกรรม ยังได้จัดอันดับให้ทิปปิงพอยท์อยู่ในกลุ่มผู้นำ (Leaders Quadrant) จากรายงานการจัดอันดับ Magic Quadrant สำหรับอุปกรณ์ระบบป้องกันการบุกรุกเครือข่าย (Network Intrusion Prevention System Appliances) |
. |
รายงานของการ์ทเนอร์ระบุว่า ผู้ที่ได้ขึ้นอันดับเป็นผู้นำได้แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าแบบสมดุล และความพยายามทั้งในส่วนของการดำเนินการทั้งหมดและการมีวิสัยทัศน์ที่โดดเด่น สิ่งที่ผู้นำได้ปฏิบัติถือเป็นการยกระดับเส้นการแข่งขันสำหรับทุกผลิตภัณฑ์ในตลาด และผู้นำก็สามารถเปลี่ยนเส้นทางของอุตสาหกรรมได้ และเพื่อคงไว้ซึ่งความเป็นผู้นำ |
. |
พวกเขาจะต้องแสดงให้เห็นถึงภาพรวมของผลงานที่ผ่านมาซึ่งเป็นที่รับรู้ ในการนำเสนอวิธีการใช้ระบบป้องกันการบุกรุกเครือข่ายสำหรับองค์กรได้อย่างเป็นผลสำเร็จ และในการชนะการประเมินความสามารถเชิงแข่งขัน ผู้นำได้สร้างผลิตภัณฑ์ที่ให้คุณภาพด้านซิกเนเจอร์ในระดับสูง และเวลาหน่วงที่ต่ำ รวมทั้งได้สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ที่ล้ำหน้าเกินกว่าปัญหาท้าทายของลูกค้า (อย่างเช่น การใช้ระบบ endpoint intelligence เพื่อทำให้การตรวจจับการบุกรุกเครือข่ายมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น) และการมีตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายให้เลือก |