อัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์เครื่องคอมพิวเตอร์พีซีในไทยปี 2551 ลดลง 2 เปอร์เซ็นต์ มูลค่าความสูญเสียจากการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์สูงกว่า 609 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ
วันนี้กลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ (บีเอสเอ) ได้เผยผลการศึกษาของไอดีซี-บีเอสเอเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในประเทศต่างๆ ทั่วโลก ครั้งที่ 6 ที่ทำการศึกษาโดยไอดีซี บริษัทศึกษาวิจัยตลาดด้านเทคโนโลยีสารสนเทศชั้นนำระดับโลกพบว่า อัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์พีซีในประเทศไทยลดลง 2 เปอร์เซ็นต์เป็นปีที่สองติดต่อกันโดยอยู่ที่ 76 เปอร์เซ็นต์ในปี 2551 |
. |
อย่างไรก็ตาม มูลค่าความสูญเสียที่เกิดจากการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในประเทศไทยยังคงอยู่ในอัตราที่สูงขึ้นคิดเป็นมูลค่า 609 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐในปี 2551 เมื่อเทียบกับปี 2550 ที่มีมูลค่า 468 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ |
. |
แม้ว่าการศึกษาอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ปี 2551 ใน 110 ประเทศทั่วโลก พบว่าใน 57 ประเทศ มีอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ลดลงเล็กน้อย ใน 36 ประเทศคงอัตราเดิมและ16 ประเทศที่มีอัตราการละเมิดซอฟต์แวร์สูงขึ้น |
. |
อย่างไรก็ตาม อัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในเครื่องคอมพิวเตอร์พีซีทั่วโลกยังคงมีอัตราสูงขึ้นเป็นปีที่สองจาก 38 เปอร์เซ็นต์เป็น 41 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากการนำเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ทางเรือมีอัตราเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในประเทศที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์สูง อย่างเช่น ประเทศจีนและอินเดีย ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย |
. |
"ผลการศึกษาครั้งนี้เป็นสัญญาณที่ดีสำหรับผู้ประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรม อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ และภาคธุรกิจโดยรวมของไทย" นางสาวศิริภัทร ภัทรางกูร โฆษกคณะกรรมการกลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ประจำประเทศไทยกล่าว "ความพยายามของกรมทรัพย์สินทางปัญญาในการให้ความรู้แก่ภาคธุรกิจ |
. |
ประกอบกับการป้องปรามอย่างจริงจังของตำรวจ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางดีเช่นนี้ขึ้น อย่างไรก็ตามเรายังจำเป็นต้องดำเนินการกับผู้ที่ละเมิดพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ไทยต่อไป อัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ที่ 76 เปอร์เซ็นต์นั้นสูงเกินกว่าที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไปข้างหน้าได้" |
. |
มูลค่าความสูญเสียที่เกิดแก่อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์โลกจากการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์บนพีซีทะลุ 50,000 ล้านเหรียญสหรัฐเป็นครั้งแรก มูลค่าความสูญเสียทั่วโลกเพิ่มขึ้น 11 เปอร์เซ็นต์คิดเป็น 53 พันล้านเหรียญสหรัฐ แต่กว่าครึ่งเป็นผลมาจากการอ่อนค่าของเงินสกุลดอลลาร์ หากไม่คิดผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยน มูลค่าความสูญเสียเพิ่มสูงขึ้น 5 เปอร์เซ็นต์ เป็น 50.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ |
. |
"เราคืบหน้าไปมากในการต่อสู้กับการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์บนพีซี ซึ่งไม่เพียงส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เท่านั้นแต่ยังส่งผลดีต่อเศรษฐกิจและสังคมในวงกว้างด้วย" มร. โรเบิร์ต ฮอลลี่แมน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์กล่าว "ข่าวร้ายคือการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ยังคงเกิดขึ้นทั่วโลก ส่งผลเสียต่อบริษัทผู้ให้บริการด้านไอที สร้างความได้เปรียบทางธุรกิจที่ไม่เป็นธรรมให้แก่ผู้ที่ใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ รวมทั้งเพิ่มความเสี่ยงในเรื่องความปลอดภัย" |
. |
มร. เจฟฟรีย์ ฮาร์ดีย์ รองประธานและผู้อำนวยการประจำภูมิภาคเอเชียของบีเอสเอ กล่าวถึงผลการศึกษาครั้งนี้ว่า "ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก อัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์บนพีซีลดลงใน 8 ประเทศ คงที่ใน 7 ประเทศ และเพิ่มขึ้นใน 3 ประเทศ อัตราการละเมิดลิขสิทธิ์เฉลี่ยของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเพิ่มขึ้นเป็น 61 เปอร์เซ็นต์ จาก 59 เปอร์เซ็นต์เมื่อปีที่แล้ว โดยมีมูลค่าความสูญเสียกว่า 15 พันล้านเหรียญสหรัฐ |
. |
อัตราการละเมิดลิขสิทธิ์เฉลี่ยของภูมิภาคเพิ่มขึ้นเนื่องจากการเติบโตของตลาดพีซีในประเทศที่มีอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์สูง แม้ว่าอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ในประเทศที่มีอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์สูงเหล่านี้จะลดลง การเติบโตของตลาดพีซียังอาจทำให้อัตราการละเมิดลิขสิทธิ์เฉลี่ยของทั้งภูมิภาคเพิ่มขึ้นอยู่ดี" |
. |
"เรายินดีที่ประเทศอย่างเช่น จีน กำลังเดินไปในทิศทางที่ถูกต้องในการลดอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์บนพีซี เช่นเดียวกับการที่รัฐบาลของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคนี้ให้การสนับสนุนโดยจัดทำโครงการรณรงค์สร้างความรับรู้ ชักชวนภาคธุรกิจให้ปรับเปลี่ยนมาใช้ซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้อง ดำเนินคดีกับผู้ที่ละเมิด ตลอดจนวางกรอบทางกฎหมายให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น |
. |
อย่างไรก็ดีปัญหายังคงมีอยู่ กลุ่มหนึ่งที่มีปัญหามาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดเกิดใหม่ คือผู้บริโภคและธุรกิจขนาดเล็กที่ซื้อคอมพิวเตอร์ประกอบเองไม่มียี่ห้อซึ่งมักติดตั้งซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์มาพร้อมกับเครื่อง" มร. ฮาร์ดีย์กล่าว |
. |
"การเข้าถึงซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์บนอินเตอร์เน็ต ซึ่งเพิ่มมากขึ้นตามการใช้งานอินเตอร์เน็ต บรอดแบนด์ความเร็วสูงในภูมิภาคนี้เป็นอีกปัญหาหนึ่ง" มร. ฮาร์ดีย์เสริม "นอกจากนี้ เราพบบ่อยว่าบริษัทต่างๆ ขาดนโยบายในการบริหารจัดการสินทรัพย์ประเภทซอฟต์แวร์ ทั้งๆ ที่ควรมีแนวทางดังกล่าวเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ในที่ทำงาน ตลอดจนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานซอฟต์แวร์และประสิทธิผลในการทำงาน" |
. |
ผลเสียนั้นกว้างกว่าแค่อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ |
การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ส่งผลกระทบอย่างกว้างขวาง ตัวอย่างเช่น ทุกๆ 1 ดอลลาร์ที่จ่ายไปเพื่อซื้อซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้อง อีก 3-4 ดอลลาร์จะถูกจ่ายไปกับบริการต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องโดย ผู้ให้บริการในประเทศ การศึกษาของไอดีซีในปี 2551 นี้ทำนายว่าหากอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ลดลง 10 จุดภายใน 4 ปี จะเกิดการจ้างงานใหม่ 600,000 ตำแหน่งทั่วโลก การทำนายนั้นได้รับการยืนยันโดยประสบการณ์จริงในจีนและรัสเซีย ผลการศึกษาครั้งใหม่บอกไว้เช่นนั้น |
. |
การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ยังทำให้การจัดเก็บภาษีรายได้ลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่รัฐบาลต้องเผชิญกับความกดดันด้านเศรษฐกิจ การศึกษาปี 2551 ระบุว่าหากอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ลดลง 10 จุด รายได้ของรัฐจะเพิ่มขึ้น 24,000 ล้านเหรียญ โดยไม่ต้องขึ้นภาษี |
. |
การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ยังเพิ่มปัญหาด้านอาชญากรรมคอมพิวเตอร์และความปลอดภัย ตัวอย่างเช่น การระบาดของไวรัสคอนฟิคเกอร์ (Conficker) ไปทั่วโลกเมื่อเร็วๆ นี้ สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการใช้ซอฟต์แวร์เถื่อนที่ปราศจากการอัพเดตด้านความปลอดภัยโดยอัตโนมัติ |
. |
จากการศึกษาเมื่อปี 2549 ไอดีซีพบว่า เว็บไซต์ 29 เปอร์เซ็นต์และเพียร์ ทู เพียร์ ไซต์ 61 เปอร์เซ็นต์ที่นำเสนอซอฟต์แวร์เถื่อน พยายามโจมตีคอมพิวเตอร์ที่ใช้ทดสอบด้วยโทรจัน (Trojan) สปายแวร์ (Spyware) คีย์ล็อกเกอร์ (Keylogger) และเครื่องมืออื่นๆ เพื่อขโมยข้อมูลส่วนบุคคล |
. |
ผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำยังสรุปไม่ได้ |
การศึกษาระบุว่าภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกส่งผลกระทบต่อการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในหลายทาง มร. วิคเตอร์ ลิม รองประธานด้านกิจการให้คำปรึกษา ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของไอดีซีกล่าวว่า ผู้บริโภคซึ่งมีกำลังซื้อลดลงอาจเก็บคอมพิวเตอร์ไว้ใช้งานนานขึ้น ซึ่งมีแนวโน้มทำให้การละเมิดลิขสิทธิ์เพิ่มขึ้นตาม เนื่องจากคอมพิวเตอร์เครื่องเก่ามักมีซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์บรรจุอยู่มากกว่า |
. |
อย่างไรก็ดีกระแสความนิยมและยอดขายของ "เน็ตบุ๊ค" ที่มีราคาไม่แพงมักจะมาพร้อมกับซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้อง ซึ่งอาจจะกระตุ้นให้องค์กรและธุรกิจต่างๆมีการบริหารจัดการสินทรัพย์ซอฟต์แวร์ที่ดีขึ้น เพื่อเพิ่มความมีประสิทธิภาพ |
. |
ในขณะเดียวกันยังทำให้ค่าใช้จ่ายทางด้านไอทีลดลงด้วยกำลังซื้อที่ลดลงเป็นเพียงหนึ่งในหลายปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์" มร.ลิม กล่าว "ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำย่อมส่งผลกระทบ ทั้งในแง่บวก และแง่ลบ แต่เป็นเพียงปัจจัยหนึ่งในหลายๆ อย่างและคงยังบอกไม่ได้ชัดเจนจนกว่าตัวเลขของปี 2552 จะออกมา" |
. |
ผลการศึกษาสำคัญอื่นๆ มีดังต่อไปนี้ |
• อัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ในจีนลดลง 10 จุดในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เป็นผลมาจากการปราบปรามและให้ความรู้ ตลอดจนโปรแกรมให้ผู้ขายจำหน่ายซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้องและการทำข้อตกลงกับโรงงานรับจ้างผลิต (OEMs) และผู้จัดจำหน่าย รัฐบาลจีนได้ออกมาตรการให้โรงงานผลิตพีซีในประเทศขายแต่พีซีที่มีระบบปฏิบัติการที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น |
. |
• อัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ในอินเดียลดลง 6 จุดในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ทั้งๆ ที่ตลาดพีซีเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยผู้ซื้อ 65 เปอร์เซ็นต์คือผู้บริโภคทั่วไปและธุรกิจขนาดเล็ก ปีที่แล้วยอดขายในกลุ่มผู้บริโภคทั่วไปเติบโตกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ยอดขายในกลุ่มอื่นๆ ตกลง 7 เปอร์เซ็นต์ |
. |
• อัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์บนพีซีในฮ่องกงลดลง 3 จุดในปี 2551 ซึ่งลดลงมากที่สุดในภูมิภาคนี้ ในขณะที่อัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ในออสเตรเลียและญี่ปุ่น สองประเทศที่ตลาดเติบโตเต็มที่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ลดลง 2 เปอร์เซ็นต์ |
. |
• เศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่ครองส่วนแบ่งกว่า 45 เปอร์เซ็นต์ในตลาดฮาร์ดแวร์พีซีโลก แต่ไม่ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ในตลาดซอฟต์แวร์สำหรับพีซี หากส่วนแบ่งในตลาดซอฟต์แวร์สำหรับพีซีของประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่เหล่านี้อยู่ในระดับเดียวกับตลาดฮาร์ดแวร์ ตลาดซอฟต์แวร์จะเติบโตถึง 40 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปี อัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ทั่วโลกแม้จะลดลงเพียงหนึ่งเปอร์เซ็นต์ต่อปี แต่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นถึง 20 พันล้านหรียญในการกระตุ้นอุตสาหกรรมไอที |
. |
• การลดอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ลงเพียงแค่หนึ่งจุดต่อปีจะสร้างรายได้กระตุ้นอุตสาหกรรมไอที20,000 ล้านเหรียญสหรัฐ |
• การแพร่ขยายของอินเตอร์เน็ตจะเพิ่มปริมาณซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ ภายใน 5 ปีข้างหน้า ประชาชน 460 ล้านคนจากประเทศตลาดเกิดใหม่จะเข้าสู่สังคมออนไลน์ การเติบโตจะสูงที่สุดในกลุ่มผู้บริโภคทั่วไปและธุรกิจขนาดเล็ก ซึ่งมีแนวโน้มการละเมิดลิขสิทธิ์สูงกว่าองค์กรธุรกิจหรือหน่วยงานของรัฐ |
. |
• ประเทศที่มีอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ต่ำที่สุดคือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ และ ลักเซ็มเบิร์ก ประเทศที่มีอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์สูงที่สุดคือ อาร์เมเนีย บังคลาเทศ จอร์เจีย และซิมบับเว โดยทั้งหมดมีอัตราการละเมิดสูงกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ |
. |
"ยังดีที่ประสบการณ์ที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่าเราสามารถลดอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ลงได้โดยใช้หลายวิธีประกอบกัน ได้แก่ การให้ความรู้แก่ผู้บริโภค การมีนโยบายด้านทรัพย์สินทางปัญญาที่เข้มแข็ง การบังคับใช้กฎหมายที่มีประสิทธิภาพ และโปรแกรมจูงใจให้ปรับเปลี่ยนมาใช้ซอฟต์แวร์ที่ถูกกฎหมายสำหรับธุรกิจและหน่วยงานภาครัฐ ความคืบหน้าในหลายประเทศในภูมิภาคนี้คือข้อพิสูจน์ว่าว่าวิธีการเหล่านี้ได้ผล และรัฐบาล ธุรกิจ ตลอดจนผู้บริโภคล้วนแต่ได้รับประโยชน์ด้วยกันทั้งสิ้น" มร. ฮาร์ดีย์กล่าว |
. |
การศึกษาของบีเอสเอ-ไอดีซีครั้งนี้ ครอบคลุมการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปทั้งหมดที่ใช้งานบนเครื่องพีซี ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ แล็บท็อป หรือคอมพิวเตอร์พกพา การศึกษาครั้งนี้ไม่ครอบคลุมซอฟต์แวร์ประเภทอื่นๆ เช่น ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานบนเซิร์ฟเวอร์ หรือเมนเฟรม |
. |
ผลการศึกษาฉบับเต็ม สามารถหาอ่านได้จาก http://www.bsa.org/globalstudy |
. |
กลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ (www.bsa.org) เป็นผู้นำแถวหน้าที่ทุ่มเทให้กับการส่งเสริมโลกดิจิตอลที่ปลอดภัย และถูกกฎหมาย บีเอสเอเป็นกระบอกเสียงของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ และคู่ค้าฮารด์แวร์ทั่วโลกต่อหน้ารัฐบาล ของประเทศต่างๆ และในตลาดการค้าระหว่างประเทศ สมาชิกบีเอสเอ |
. |
ประกอบด้วยผู้ประกอบการในอุตสาหกรรม ซอฟต์แวร์ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มอุตสาหกรรมที่เติบโตอย่างรวดเร็วที่สุดในโลก บีเอสเอสนับสนุนนวัตกรรมเทคโนโลยี ผ่านโครงการเพื่อการศึกษาและนโยบายที่ส่งเสริมการปกป้องลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ การรักษา ความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ การค้า และอีคอมเมิร์ส |
. |
สมาชิกบีเอสเอ รวมถึง อโดบี, อาจิเลนท์ เทคโนโลยี, อัลเทียม, แอปเปิ้ล, ออโต้เดสค์, เบนลี่ ซิสเต็มส์, ซีเอ, คาร์เดนซ์ ดีไซน์ ซิสเต็มส์, ซิสโค ซิสเต็มส์, คอเรล,ไซเบอร์ลิงค์, แดสเซิลท์ ซิสเต็มส์ โซลิดเวิร์คส์ คอร์ปอเรชั่นเ เดล, เอ็มบาร์คาเดโร, ฟรอนท์ไลน์ พีซีบี โซลูชั่นส์ (ในเครือออร์โบเท็ค วาเลอร์ คัมปานี), เอชพี, ไอบีเอ็ม, อินเทล, |
. |
อินทูท, แมคอาฟี, ไมโครซอฟท์, มายด์เจ็ท, มินิแทบ, เน็ดกราฟฟิคส์, พีทีซี, เคิร์ค, เควสท์ ซอฟต์แวร์, โรเซ็ตต้า สโตน, เอสเอพี, สเกลเอเบิล ซอฟต์แวร์, ซีเมนส์, เอสพีเอสเอส, ไซเบส, ไซแมนเทค, ไซนอปซิส, เทคล่า และ เดอะ แมธเวิร์กส์ สมาชิกบีเอสเอในประเทศไทยคือไทยซอฟต์แวร์ เอ็นเตอร์ไพร์ส |
. |
ไอดีซีเป็นผู้ให้บริการข้อมูลตลาดระดับคุณภาพชั้นนำของโลก รวมทั้งบริการที่ปรึกษา และการจัดงานต่างๆสำหรับภาคธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศ โทรคมนาคม และตลาดเทคโนโลยีผู้บริโภค ไอดีซีช่วยให้มืออาชีพด้านไอที ผู้บริหารธุรกิจ และแวดวงการลงทุนมีข้อเท็จจริงประกอบการตัดสินใจซื้อเทคโนโลยี และกลยุทธ์ทางธุรกิจ |
. |
นักวิเคราะห์ของไอดีซีกว่า 900 คน ใน 90 ประเทศ ให้บริการความเชี่ยวชาญในระดับโลก ระดับภูมิภาค และระดับท้องถิ่น ทางด้านเทคโนโลยี โอกาส และแนวโน้มทางธุรกิจ ไอดีซีมีประสบการณ์กว่า 43 ปีในการให้ข้อมูลเชิงกลยุทธ์แบบเจาะลึก เพื่อช่วยให้ลูกค้าบรรลุเป้าหมายหลักทางธุรกิจ ไอดีซีเป็นบริษัทในเครือไอดีจี ผู้นำระดับโลกในทางด้านสื่อเทคโนโลยี การวิจัย และการจัดงานต่างๆ ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.idc.com |