ชาวบ้านคำสร้างไชย บุกศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี ขอพบผู้ว่าฯ สอบถามเรื่องการขอสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลของบรษัทบัวสมหมาย หลังตื่นผลกระทบจากการสร้างโรงงานผลิตไฟฟ้าชีวมวล ที่จะมาตั้งกลางชุมชน ยันจะคัดค้านจนถึงที่สุด
. |
หลังจากที่ชาวบ้านหมู่ 17 และบ้านใกล้เคียง ต.ท่าช้าง อ.สว่างวีระวงศ์ จ.อุบลราชธานี ตื่นผลกระทบจากการสร้างโรงงานผลิตไฟฟ้าชีวมวลของบริษัทบัวสมหมาย ไบโอแมส จำกัด ที่จะมาตั้งกลางชุมชน และได้ดำเนินการติดตามคัดค้านการขอสร้างโรงไฟฟ้าที่ไม่ชอบมาพากลและไม่ให้ข้อมูลชาวบ้านที่ครบถ้วนมาตั้งแต่ เดือนตุลาคม 2551 มาอย่างต่อเนื่อง |
. |
เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2552 นายบุญชู สายธนู และคณะตัวแทนชาวบ้านคำสร้างไชยและบ้านใกล้เคียงจำนวน 15 คน ได้เดินทางไปเพื่อติดตามความคืบหน้า ณ ศาลากลางจังหวัดแต่ผู้ว่าราชการไม่อยู่ไปราชการต่างจังหวัด ไม่มีเจ้าหน้าที่ที่ทราบเรื่องราว ชาวบ้านจึงเดินทางสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อขอทราบเรื่องการขอสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลของบริษัทบัวสมหมาย ไบโอแมส จำกัด ประกอบกิจการโรงงานผลิตพลังงานไฟฟ้ากำลังการผลิต 9.9 เมกะวัตต์ ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 29 ถนนคำนกเป้า-คำโพธิ์ หมู่ที่ 17 ตำบลท่าช้าง อำเภอสว่างวีระวงศ์ จังหวัดอุบลราชธานี |
. |
โดยตัวแทนทางสำนักงานอุตสาหกรรม นายเชวงศักดิ์ ได้มาพบชาวบ้านแจ้งความคืบหน้าว่า ทางกรมโรงงานได้ส่งหนังสือแจ้งมาว่ายังไม่อนุญาตการตั้งโรงไฟฟ้าของบริษัทบัวสมหมายไบโอแมส จำกัด เนื่องจากเรื่องราวการขออนุญาตไม่ถูกต้องไม่ครบถ้วนและขาดรายละเอียดเพื่อประกอบการพิจารณา ตามรายการดังต่อไปนี้ |
. |
1. บริเวณโรงงานตามโฉนดที่ดินและตามผังที่ดินรวม มีข้อมูลคลานเคลื่อนไม่ถูกต้อง |
. |
2. ให้แสดงสิ่งปลูกสร้างภายในบริเวณโรงงานขนาดเหมาะสม ถูกต้องตามมาตราส่วน เช่นตำแหน่งอาคารโรงงาน อาคารเก็บเชื้อเพลิง บ่อน้ำดิบ บ่อกักเก็บขี้เถ้า เป็นต้น |
. |
3. ให้แสดงแผนผังการติดตั้งเครื่องจักรขนาดเหมาะสมและถูกต้องตามมาตราส่วนที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน พร้อมด้วยรายละเอียดตำแหน่งการติดตั้งเครื่องจักรที่แสดงในคำขออนุญาตให้ครบถ้วน โดยมีคำรับรองของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม |
. |
4. ให้แสดงแบบแปลนอาคารโรงงานขนาดเหมาะสม ถูกต้องตามมาตรส่วน โดยมีคำรับรองของของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ให้ครบทุกอาคารพร้อมหนังสือการอนุญาตปลูกสร้างอาคารจากองค์การบริหารส่วนตำบล |
. |
5. ให้แสดงรายละเอียดกระบวนการผลิตและจุดที่จะก่อให้เกิดอันตราย ความเสียหายเหตุเดือดร้อนรำคาญและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม |
. |
6. ให้แสดงแบบแปลนและตำแหน่งของ Wet Scrubber พร้อมรายการคำนวณ โดยมีคำรับรองของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม |
. |
7. ให้ชี้แจง แสดงรายละเอียดแหล่งน้ำใช้ ตำแหน่งและขนาดความจุของบ่อน้ำดิบปริมาณการสำรอง ปริมาณการใช้ โดยให้ทำสมดุลการใช้น้ำภายในโรงงาน |
. |
. |
8..ให้ชี้แจงแสดงรายละเอียดของกระบวนการหล่อเย็น เช่น ขนาดและความจุของ BASIN จำนวนรอบของการหมุนเวียนน้ำ อัตราการระเหยของน้ำในระบบหล่อเย็น ปริมาณน้ำป้อนเข้าระบบและระบายออกจากระบบหล่อเย็นต่อวัน |
. |
9. ให้ชี้แจงแสดงรายละเอียดปริมาณการระบายน้ำทิ้งจากกระบวนการผลิต เช่นน้ำจากระบบผลิตน้ำใช้ น้ำ Blown down จาก Boiler ,Cooling Tower , Wet scrubber น้ำทิ้งใช้วิธีการเก็บกักหมุนเวียนใช้โดยมีระบายออกนอกบริเวณโรงงาน หรือมีการระบายออกนอกบริเวณโรงงาน แหล่งรองรับน้ำทิ้งมีความเหมาะสมสามารถรองรับน้ำทิ้งได้โดยไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือไม่ ในกรณีมีการระบายน้ำทิ้งออกนอกบริเวณโรงงานต้องมีแบบระบบบำบัดน้ำเสีย พร้อมทั้งรายการคำนวณประกอบแบบ โดยมีคำรับรองของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม |
. |
10..ให้ชี้แจงแสดงรายละเอียดการจัดเก็บเชื้อเพลิง เช่น จัดเก็บในอาคารที่มีความจุเท่าใด หรือกองกลางแจ้ง วิธีการป้องกันการฟุ้งกระจายของฝุ่นละอองที่เกิดจากการกองเก็บ ขนถ่ายลำเลียงเชื้อเพลิงป้อนระบบ การขนถ่ายลำเลียงขี้เถ้าไปสู่บ่อกักเก็บและการกองเก็บขี้เถ้า |
. |
11..ให้จัดส่งรายละเอียดข้อมูลโครงการการจัดหาเชื้อเพลิงชีวมวลที่ประกอบด้วยข้อมูลเกี่ยวกับชนิดและคุณสมบัติของเชื้อเพลิง ปริมาณ แหล่งที่มา ที่เพียงพอกับขนาดกำลังการผลิตของโรงงานพร้อมเอกสารหลักฐานที่เชื่อถือได้และมีความชัดเจนว่าจะไม่มีการใช้ไม้ในป่าธรรมชาติทั้งทางตรงและทางอ้อมตามแบบเสนอข่อมูลโครงการจัดหาเชื้อเพลิงชีวมวล ตามสิ่งที่ส่งมาด้วย 1 |
. |
12..ยังไม่มีข้อมูลยุติในการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน จึงขอให้ดำเนินการให้มีข้อยุติเป็นที่ยอมรับของประชาชนผู้อยู่อาศัยใกล้เคียงหรือผู้ที่อาจได้รับผลกระทบจากการประกอบกิจการโรงงาน |
. |
13. ในคำขอระบุมีการผลิตไอน้ำ 374,266 ตัน/ปี ให้ตรวจสอบว่า เป็นการผลิตเพื่อใช้ในกระบวนการผลิตพลังงานไฟฟ้าหรือใช้หรือจำหน่ายให้กิจการอื่นๆ ด้วย |
. |
14.รายงานการตรวจ 01 กรอกข้อมูลไม่ครบทุกข้อและไม่ได้สรุปความเห็นผลการตรวจในประเด็นต่างๆ |
. |
หลังจากได้รับรู้ข้อมูลจากการตัวแทนอุตสาหกรรมจังหวัดอุบล ชาวบ้านได้แสดงความรู้สึกโล่งใจและดีอกดีใจและว่า การต่อสู้คัดค้านของชาวบ้านประสบผลสำเร็จ |
. |
ด้านนายเชวงศักดิ์ กล่าวว่าหากบริษัทสมหมายจะดำเนินการ ขออนุญาตใหม่ต้องดำเนินการส่งรายละเอียดใหม่ทั้งหมดให้ครบถ้วน และต้องมีข้อยุติเป็นที่ยอมรับของชาวบ้าน และการอนุมัติการสร้างโรงไฟฟ้ายังขึ้นกับกรมทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย กรมโรงงานไม่ได้เป็นผู้อนุมัติเพียงองค์กรเดียว |
. |
นายบุญชูกล่าวเพิ่มเติมว่า จะนำข่าวดีไปแจ้งต่อชาวบ้านและหากบริษัทบัวสมหมายยังจะขอส่งเรื่องไปใหม่ ตนและชาวบ้านก็จะรวมพลังเพื่อคัดค้านอย่างถึงที่สุด และฝากวอนถึง "บัวสมหมาย" ขอให้ย้ายไปสร้างโรงงานไฟฟ้าอยู่แห่งใหม่ เพื่อความสงบสุขของชุมชนจะได้กลับคืนมา ขอเสนอว่าโรงไฟฟ้าแกลบควรห่างไกลชุมชนไม่ต่ำกว่า10 กิโลเมตร เพื่อป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อชุมชนและชาวบ้าน |