นายมานะ นิติกุล รองอธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน เปิดเผยว่า กระทรวงพลังงานมีแผนส่งเสริมพลังงานทดแทน 15 ปี โดยวางเป้าหมายสนับสนุนการติดตั้งแผงรับรังสีดวงอาทิตย์ผลิตน้ำร้อน 300,000 ตารางเมตร คิดเป็นเงินลงทุน 5,400 ล้านบาท เทียบเท่าการทดแทนน้ำมัน 38 กิโลตัน/ปี คิดเป็นเงิน 1,300 ล้านบาท/ปี ลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 9,500 ตัน/ปี |
. |
ในช่วง 5 ปีแรกตั้งแต่ปี 51-54 กระทรวงได้ใช้เงินกองทุนส่งเสริมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน สนับสนุนการลงทุนประมาณ 30% ของมูลค่าโครงการ คาดว่าช่วง 5 ปีแรกจะมีผู้ติดตั้งแผงฯ 40,000 ตารางเมตร ซึ่งขณะนี้มีผู้ยื่นขอใช้เงินสนับสนุน 21 แห่ง เป็นกลุ่มโรงเรียน โรงพยาบาล โรงงาน และโรงแรม รวมพื้นที่ติดตั้ง 5,000 ตารางเมตร คิดเป็นเงินสนับสนุน 22.5 ล้านบาท เป็นเงินลงทุนรวม 90.3 ล้านบาท ก่อให้เกิดผลประหยัด 22.8 ล้านบาท/ปี เทียบเท่าการทดแทนน้ำมัน 700 ตัน/ปี ลดปริมาณการเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 1,800 ตัน/ปี |
. |
สำหรับโครงการส่งเสริมการใช้น้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยระบบผสมผสาน เป็นระบบการใช้พลังงานเหลือใช้จากการผลิตแอร์หรือเครื่องปรับอากาศตามอาคารต่าง ๆ กับการใช้ความร้อนจากแผงพลังงานแสงอาทิตย์ |
. |
ซึ่งเมื่อผสมผสานแล้วจะผลิตน้ำร้อนได้ตั้งแต่ความร้อน 60 องศาเซลเซียส เป็นต้นไป ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ในหลายกิจการ เช่น โรงพยาบาล โรงแรม ร้านอาหาร ร้านเสริมสวย เป็นต้น โดยสามารถลดความสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงจากพลังงานหลัก |
. |
"แต่จากภาวะเศรษฐกิจถดถอย ผู้ประกอบการเกิดปัญหาสภาพคล่องทางการเงิน ขณะนี้มี 4 รายจาก 21 ราย ที่ขอสนับสนุนเงินลงทุนชะลอโครงการไปก่อน แต่มั่นใจว่าโครงการนี้นับว่าเป็นโครงการที่ดีลดการใช้พลังงานจากฟอสซิลที่ขณะนี้มีแนวโน้มราคาขยับขึ้นสูง และยังเป็นการส่งเสริมการผลิตสินค้าในประเทศ เพราะมีหลายโรงงานผลิตแผงรับรังสีดวงอาทิตย์ โดยใช้วัสดุในประเทศเกือบร้อย100%"นายมานะ กล่าว |