กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เผยยุทธศาสตร์ด้านการปลูกปาล์มน้ำมันทดแทนพลังงาน ดันให้อีสานมีพื้นที่ปลูกปาล์มเป็นลักษณะ Cluster เพื่อความความสะดวกด้านการบริหารจัดการ ทั้งด้านการขนส่ง กำหนดพื้นที่ปลูก 60,000 ไร่ การผลิตแบบครบวงจร มีโรงงานผลิตไบโอดีเซลรองรับให้เพียงพอกับวัตถุดิบคือปาล์มน้ำมัน
นายสมเจตน์ ประทุมมินทร์ นักวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงยุทธศาสตร์ด้านการปลูกปาล์มน้ำมันทดแทนพลังงาน ว่า กระทรวงเกษตรต้องการผลักดันให้มีพื้นที่ปลูกปาล์มเป็นลักษณะ Cluster เพื่อความความสะดวกด้านการบริหารจัดการ ทั้งด้านการขนส่ง การรวมตัวของเกษตรกร โดยมีแผนกำหนดพื้นที่ปลูก Cluster ละประมาณ 60,000 ไร่ ซึ่งจะมีการผลิตแบบครบวงจร โดยมีโรงงานผลิตไบโอดีเซลรองรับให้เพียงพอกับวัตถุดิบคือปาล์มน้ำมัน |
.. |
. |
โดยตั้งเป้าหมายผลักดันให้เป็น คอมเพ็คไบโดดีเซลประมาณ 120,000 ไร่ ซึ่งพื้นที่ที่มีความเหมาะสมในการปลูกปาล์มน้ำมันนอกเหนือจากภาคใต้ ที่ขณะนี้แทบไม่มีพื้นที่เหลือแล้ว ดังนั้นกระทรวงเกษตรจึงเล็งพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีการวิเคราะห์พื้นที่ และสภาพอากาศที่เหมาะสมสำหรับปลูกปาล์ม เช่น พื้นที่อำเภอโพนพิสัย อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย ได้มีการทดลองปลูกแล้ว ปรากฏว่ามีผลผลิตสมบูรณ์ดี |
. |
ทั้งนี้ ที่ผ่านมาการปลูกปาล์มน้ำมันเพื่อส่งเสริมให้เป็นพลังงานทดแทนไม่เป็นไปตามเป้าหมาย เนื่องจากขาดแรงจูงใจให้เกษตรกรหันมาสนใจปลูก เพราะภาครัฐไม่มีนโยบายที่จัดเจน ตลอดจนไม่มีมาตรการสนับสนุนเรื่องเงินทุน ดังนั้นกระทรวงเกษตรจึงใช้วิธีให้แต่ละจังหวัดส่งยอดพื้นที่ที่ต้องการปลูกปาล์มเข้ามา เพื่อหาแนวทางสนับสนุน พร้อมกับจัดเป็น Cluster ปาล์มน้ำมัน |
. |
ซึ่งขณะนี้มีการรวบรวมพื้นที่ที่จะจัดเป็นรูปแบบ Cluster คือจะต้องมีพื้นที่รวมจังหวัดละ 60,000 ไร่ ซึ่งขณะนี้มีรวบรวมพื้นที่ได้แล้วอาทิ จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดตราด จังหวัดหนองคาย เป็นต้น ทั้งนี้กระทรวงเกษตรได้มีการเตรียมต้นกล้าปาล์มไว้แล้วขณะนี้ประมาณ 1 ไร่ ซึ่งรองรับความต้องการปลูกของเกษตรกรได้อย่างเพียงพอ |