พอล เฟอร์กูสัน เผยหนอนอันตรายระบาดช่วงวัน April Fools Day เมื่อต้นเดือนเมษายน ที่แท้เป็นของเก่าเคยเกิดขึ้นตั้งแต่ปี 40 แนะวิธีป้องกันควรเลือกใช้เทคโนโลยีล่าสุด
รายงานบทความพิเศษโดยนายพอล เฟอร์กูสัน นักวิจัยภัยคุกคามขั้นสูง บริษัท เทรนด์ ไมโคร อิงค์ เปิดเผยว่า จากเหตุการณ์หนอนอันตรายระบาดช่วงวัน April Fool’s Day เมื่อต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมานั้น |
. |
หากจะวิเคราะห์ถึงขั้นตอนการตรวจสอบการติดต่อสื่อสารที่ใช้โปรโตคอลเพียร์ทูเพียร์ (P2P) ของหนอนร้าย WORM_DOWNAD.KK จะพบว่าการกระทำดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากแหล่งที่มาบางแห่ง และค้นพบการทำงานของโค้ดบางอย่างที่สำคัญซึ่งถูกนำมาใช้จากเอกสารที่มีอยู่ย้อนหลังไปเมื่อปี พ.ศ. 2540 |
. |
ขณะที่การตรวจสอบเอกสาร โดย-CERT LEXSI หน่วยงานที่ดูแลด้านการรักษาความปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ ประเทศฝรั่งเศส และความช่วยเหลือด้านการวิเคราะห์จากหน่วยงานระดับชาติ SRI International เกี่ยวกับวิธีการทำงานของ WORM_DOWNAD.KK p2p พวกเราพุ่งเป้าความสนใจไปที่โค้ดเฉพาะในพอร์ตชุดคำสั่งประจำ (โปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งถูกเรียกใช้บ่อย) เพื่อแพร่กระจายหนอนร้าย WORM_ DOWNAD.KK p2p |
. |
รูปที่ 1 - พอร์ตชุดคำสั่งประจำเพื่อแพร่กระจายหนอนร้าย WORM_ DOWNAD.KK p2p |
. |
โดยเฉพาะค่า "15A4E35h" - ซึ่งเป็น "hard-coded" ต้นกำเนิดสำหรับสุ่ม-หมายเลขชุดคำสั่งประจำ (โปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งถูกเรียกใช้บ่อย) เพื่อแพร่กระจายหนอนร้าย WORM_DOWNAD.KK นอกจากนี้ยังพบอีกว่าสิ่งที่สำคัญที่สุด คือ โค้ดนี้ไม่ใช่ของใหม่ แต่มันเคยเกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2540 ในชื่อ "raZZia" ที่พบในการแพร่กระจายชุดคำสั่งประจำ (โปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งถูกเรียกใช้บ่อย) |
. |
โดยความเป็นจริงแล้วโค้ดดังกล่าวเกือบจะแพร่กระจายเชื้อร้าย WORM_DOWNAD.KK ด้วยวัตถุประสงค์เดียวกันได้สำเร็จ คือใช้เป็นตัวแพร่กระจายชุดคำสั่งประจำ (โปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งถูกเรียกใช้บ่อย) โดยกำหนดว่าพอร์ตไหนจะใช้เพื่อการติดต่อสื่อสารแบบเพียร์ทูเพียร์ (P2P) กับเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย |
. |
อีกทั้งผู้สร้างหนอนร้าย WORM_DOWNAD.KK ยังเปลี่ยนความต้องการใหม่ แทนที่จะใช้มันเพื่อพุ่งเป้าไปที่ชุดคำสั่งประจำหลัก เปลี่ยนเป็นการสุ่มตัวอย่างหาพอร์ตชุดคำสั่งเพื่อแพร่กระจายเชื้อร้ายต่อไป |
. |
รูปที่ 2 - โค้ด "1997 raZZia" |
. |
เช่นเดียวกันกับชุดคำสั่งด้านบน โดยเฉพาะค่าความสำคัญของ "15a4e35h". ซึ่งเป็น hard-coded ในหนอนร้าย WORM_DOWNAD.KK ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญในการแพร่พันธุ์ ทั้งการเลือก key-gen code และ WORM_DOWNAD.KK จะใช้หลักตรรกวิทยาที่ใกล้เคียงกันมากที่สุด โค้ด WORM_DOWNAD.KK จะมีข้อแตกต่างเพิ่มขึ้นมาเล็กน้อย แต่ว่าคุณสามารถที่จะดูได้จากตารางด้านล่าง |
. |
รูปที่ 3 - ภาพแสดงตัวอย่างว่าโค้ดนี้เคยถูกใช้โดยอาชญากรใต้ดิน |
. |
รูปที่ 4 - ตัวอักษรจีนที่ไม่ชัดเจน |
. |
รูปภาพที่ 4 เป็นตัวอักษรจีนที่แปลความหมายได้ว่า "บริเวณทุ่งหญ้าที่หนาแน่น" หรือ "ต้นหญ้า, วัชพืชที่หนาแน่น" ซึ่งเป็นคำเหน็บแนมที่หมายถึงโฮสต์ทิ่ติดเชื้อร้ายเป็นจำนวนมาก ตัวอย่างเช่น เครือข่ายบ็อตเน็ตขนาดใหญ่ |
. |
ทั้งนี้ในความเป็นจริงแล้ว 15A4E35h คือ รูปแบบเลขทศนิยม 22695477 และ 15A4E35 ไม่ได้มีความหมายพิเศษสำหรับ raZZia – เพียงแต่พวกเขาเคยใช้โค้ดดังกล่าว และขณะนี้วิธีการดังกล่าวถูกนำกลับมาใช้อีกครั้งโดยผู้สร้างโค้ด Conficker |
. |
อย่างไรก็ตามพวกเราอาจจะเคยห็น joe-jobs ซึ่งเป็นแนวทางให้นักวิจัยภัยคุกคามสรุปข้อมูลได้ว่า กลุ่มคนบางพวกซึ่งอาจจะเป็นอาชญกรไซเบอร์ หรืออีกคำหนึ่งที่เรามักจะพบ คือ Russkrainians (อาชญกร ไซเบอร์ชาวรัสเซียและยูเครน) เลือกใช้ลักษณะบางอย่างของวัฒนธรรมจีนเพื่อก่อให้เกิดผลกระทบ และเกิดความเสียหายแก่ชาวจีน |
. |
และในขณะนี้อาชญกรไซเบอร์ชาว Russkrainians มีแนวโน้มที่จะสร้างความปั่นป่วนเพิ่มขึ้นโดยใช้สินทรัพย์ของชาวจีน (เช่นในการจดทะเบียนโดเมน. .CN ฯลฯ) เพื่อหลอกลวงกลุ่มคนที่ไม่รู้เรื่องให้ตกเป็นเหยื่อของอาชญกรไซเบอร์ดังกล่าวด้วย |
. |
พวกเรายังคงวิเคราะห์โค้ดร้ายนี้ และคิดว่าน่าจะมีประโยชน์ในแง่ของการพยายามตรวจสอบหาข้อเท็จ จริงให้แน่ชัด หรือถ้าหากเกิดเหตุการณ์ใดๆ ที่แสดงให้เห็นว่าโค้ดนี้ถูกนำกลับมาใช้โดยเหล่าอาชญากรไซเบอร์ใต้ดิน และถูกพบในสถานที่ๆ ไม่ควรจะเกิด |
. |
ขณะที่พวกเรายังคงตรวจสอบเทคนิคการเขียนโปรแกรมต่างๆ, พฤติกรรมการติดต่อสื่อสาร และโค้ดอื่นๆ ใน Conficker.C พวกเรายังกระตุ้นให้นักวิจัยท่านอื่นๆ ทำในลักษณะเดียวกัน บางทีพวกเราอาจจะพบชิ้นส่วนบางอย่างที่ถูก "ยืม" จากแหล่งอื่นๆ ที่มีอยู่ ซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดอาชญากรรมไซเบอร์อย่างต่อเนื่องได้ |
. |
บริษัท เทรนด์ ไมโคร อิงค์ แนะนำแนวทางการป้องกันข้อมูลเบื้องต้นสำหรับผู้ใช้งานออนไลน์ว่าผู้ใช้งานควรเลือกใช้เทคโนโลยีล่าสุด เช่น การป้องกันโดยเทคโนโลยีการตรวจสอบชื่อเสียง และประวัติเว็บไซต์ (Web Reputation) ซึ่งสามารถวัดระดับความปลอดภัย และความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ก่อนที่คุณจะเข้าเยี่ยมชมได้ |
. |
และต้องมั่นใจว่าคุณได้อัพเดทหรือติดตั้งซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสใหม่ล่าสุดเสมอเพื่อให้มั่นใจว่ามัลแวร์จะไม่สามารถมีชีวิตรอดอยู่บนเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณได้ และควรหมั่นอัพเดท วินโดว์ส (Update Windows) ทุกครั้งที่มีการเตือน โอกาสที่จะมีปัญหากับเวิร์มหรือไวรัสเข้ามาแทรกแซงการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ก็จะมีน้อยลง หรือแทบจะไม่มีเลย |