บริษัท 5 แห่งในนิคมอุตสาหกรรมสมุทรปราการถูกดำเนินคดีข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์จากการใช้ซอฟต์แวร์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตำรวจเข้าตรวจค้นบริษัทดังกล่าวหลังใช้เวลาสืบสวนมากว่า 2 เดือน
• กรรมการบริษัทถูกดำเนินคดีข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ |
. |
บริษัท 5 แห่งในนิคมอุตสาหกรรมสมุทรปราการถูกดำเนินคดีข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์จากการใช้ซอฟต์แวร์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตำรวจเข้าตรวจค้นบริษัทดังกล่าวหลังใช้เวลาสืบสวนมากว่า 2 เดือน พบซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ของออโต้เด็สค์ โซลิดเวิร์คส์ และไทยซอฟท์แวร์เอ็นเตอร์ไพร์ส |
. |
เจ้าหน้าที่ตำรวจจากกองบังคับการปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี (บก. ปศท.) นำกำลังเข้าค้นและตรวจสอบคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลจำนวน 62 เครื่องของบริษัทเหล่านี้และพบซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์จำนวนกว่า 84 รายการ มูลค่ารวมประมาณ 9.5 ล้านบาท บริษัททั้ง 5 แห่งนี้ ดำเนินธุรกิจผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ |
. |
ตำรวจมีรายชื่อบริษัทที่ต้องสงสัยว่าละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์หลายสิบรายอยู่ในมือเและตั้งเป้าหมายว่าจะเข้าทำการตรวจค้นจับกุมทุกๆ สัปดาห์ตลอดปี 2552 บริษัทห้างร้านทุกแห่งทั่วประเทศที่ใช้ซอฟต์แวร์เถื่อนล้วนเสี่ยงต่อการถูกตรวจค้นจับกุมทั้งสิ้น เจ้าหน้าที่ตำรวจกล่าว |
. |
"เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ดำเนินการสืบสวนทุกเบาะแสที่ได้รับ" พ.ต.อ. ศรายุทธ พูลธัญญะ รองผู้บังคับการบก. ปศท. กล่าว "ผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย รวมถึงธุรกิจที่ใช้ซอฟต์แวร์โดยละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย" |
. |
ในเดือนพฤษภาคมนี้ ไอดีซีจะเปิดเผยตัวเลขอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 78% หลายฝ่ายในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เชื่อว่าตัวเลขจะปรับลดลงซึ่งเป็นผลมาจากความพยายามของตำรวจไทย ศาล และกรมทรัพย์สินทางปัญญา |
. |
"การสนับสนุนจากตำรวจ ศาล และหน่วยงานภาครัฐจำเป็นยิ่งในภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้” คุณศิริภัทร ภัทรางกูร โฆษกคณะกรรมการกลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ หรือ บีเอสเอ ประจำประเทศไทยกล่าว “เพื่อให้สามารถแข่งขันได้หลังวิกฤตเศรษฐกิจผ่านพ้นไป เราต้องเร่งปกป้องนวัตกรรมในอุตสาหกรรมไอที ภาครัฐได้ทำหน้าที่เป็นอย่างดีแล้ว แต่การละเมิดลิขสิทธิ์เป็นปัญหาใหญ่และจำเป็นต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องต่อไป" |
. |
คำพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาเมื่อไม่นานนี้ได้ เพิ่มความหวังให้แก่ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ในการได้รับผลประโยชน์ที่สูญเสียไปจากการละเมิดลิขสิทธิ์มากขึ้น |
. |
ในคดีดังกล่าว ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ตัดสินให้ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ได้รับค่าเสียหายมูลค่า 3.5 ล้านบาทจากบริษัทผู้ผลิตสินค้าแห่งหนึ่งซึ่งตั้งอยู่ที่จังหวัดอยุธยาในคดีละเมิดลิขสิทธิ์ ศาลพิพากษาว่าจำเลยใช้ซอฟต์แวร์ที่ผิดกฎหมายในการดำเนินธุรกิจจริง การกระทำของจำเลยเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้พัฒนาซอฟต์แวร์และฝ่าฝืนกฎหมายลิขสิทธิ์ของไทย |
. |
บีเอสเอเปิดสายด่วนเพื่อรับรายงานเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ผู้แจ้งเบาะแสผ่านทาง สายด่วน โทร 02-714-1010 หรือทางออนไลน์ มีสิทธิ์ได้รับรางวัลเงินสดสูงสุดถึง 250,000 บาท ข้อมูลของผู้แจ้งเบาะแสจะถูกเก็บไว้เป็นความลับ ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถหาอ่านได้จาก www.stop.in.th |