ทางการญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ความต้องการในภาคบริการของญี่ปุ่นหดตัวลง 0.8% ในเดือนก.พ. ซึ่งสวนทางกับที่นักวิเคราะห์ในโพลล์บลูมเบิร์กคาดการณ์ไว้ โดยความต้องการในภาคบริการครอบคลุมถึงธุรกิจบริการด้านโทรศัพท์มือถือ พลังงาน และการขนส่ง |
. |
คิอิชิ มูราชิมะ หัวหน้านักวิเคราะห์จากบ.นิกโก้ ซิตี้กรุ๊ป จำกัด ในกรุงโตเกียวกล่าวว่า ญี่ปุ่นซึ่งมีระบบเศรษฐกิจขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกทรุดตัวลงอย่างหนักนับตั้งแต่ดีมานด์สินค้าญี่ปุ่นในต่างประเทศหดตัวลง ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจมากเป็นพิเศษ |
. |
นอกจากนี้ กลุ่มผู้บริโภคยังได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการที่ภาคเอกชน รวมถึงบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ เลย์ออฟพนักงานจำนวมาก ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวยิ่งฉุดรั้งเศรษฐกิจญี่ปุ่นให้ถดถอยรุนแรงขึ้น |
. |
"เราคาดว่าผลประกอบการภาคเอกชนจะทรุดตัวลงอย่างหนักเพราะจำเป็นต้องลดการลงทุนและแรงงาน ซึ่งวิกฤตการณ์เช่นนี้จะขัดขวางการเติบโตทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่น นอกจากนี้ คาดว่าอัตราว่างงานในญี่ปุ่นจะพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 5.7% ในภายในไตรมาสแรกของปีหน้า จากระดับปัจจุบันที่ 4.4%" มูราชิมะกล่าว |
. |
ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาส 4 ปี 2551 ของญี่ปุ่นหดตัวลง 12.7% ซึ่งเป็นสถิติที่หดตัวลงรุนแรงที่สุดในรอบ 35 ปี เพราะได้รับผลกระทบจากภาวะชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก |
. |
ภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาของญี่ปุ่นกำลังกดดันให้รัฐบาลญี่ปุ่นพยายามหาทางออกในทุกๆด้าน เพื่อยับยั้งภาวะถดถอย ทั้งนี้ เศรษฐกิจญี่ปุ่นถูกกระทบอย่างหนักจากภาวะชะลอตัวลงของเศรษฐกิจ และผู้บริโภคที่ลดการจับจ่ายใช้สอย อันเนื่องมาจากตัวเลขว่างงานที่พุ่งขึ้นอย่างรุนแรง |
. |
โดยยอดค้าปลีกเดือนธ.ค.ปี 2551 ของญี่ปุ่นร่วงลง 2.7% เหลือเพียง 13.03 ล้านล้านเยน (1.44 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ) ซึ่งเป็นการร่วงลงหนักสุดในรอบเกือบ 4 ปี และเป็นสถิติที่ปรับตัวลงติดต่อกันยาวนานถึง 4 เดือน สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงาน |