เนื้อหาวันที่ : 2009-04-16 17:20:27 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 2051 views

UCS เสนอ EFM เทคโนโลยีใหม่แห่งการสื่อสารข้อมูลผ่านสายเคเบิลทองแดง

ในปัจจุบันนี้ คอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทเพิ่มขึ้นต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์อย่างต่อเนื่อง ทำให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านระบบเครือข่ายเพื่อให้มนุษย์สามารถเชื่อมต่อและเข้าถึงกันได้ดียิ่งขึ้น การพัฒนาเทคโนโลยีโดยอาศัยโครงสร้างหรือรูปแบบมาตรฐานเป็นแนวทางในการพัฒนา

.

ในปัจจุบันนี้ คอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทเพิ่มขึ้นต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์อย่างต่อเนื่อง ทำให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านระบบเครือข่ายเพื่อให้มนุษย์สามารถเชื่อมต่อและเข้าถึงกันได้ดียิ่งขึ้น การพัฒนาเทคโนโลยีโดยอาศัยโครงสร้างหรือรูปแบบมาตรฐานเป็นแนวทางในการพัฒนา

.

ตัวอย่างเช่น OSI โมเดล ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ในการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายขึ้นได้หลายรูปแบบ ถึงแม้จะเป็นผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตที่แตกต่างกัน ก็สามารถนำมาใช้ร่วมกันได้ตามมาตรฐานดังกล่าว ระบบเครือข่ายในปัจจุบันจึงมีการขยายตัวครอบคลุมไปทั่วโลก

.

การพัฒนาเครือข่ายการส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายสายเคเบิล เช่น  ISDN Modem, ADSL2+, VDSL, G.SHDSL, EFM และ Fiber Optic หรือการส่งข้อมูลแบบไร้สาย เช่น Wi-Fi, GPRS, WiMAX เป็นต้น เป็นผลทำให้จำนวนผู้ใช้งานในระบบเครือข่ายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีการขยายเครือข่ายออกไปอย่างกว้างขวาง เป็นผลทำให้เกิดความต้องการต่าง ๆ ที่เพิ่มขึ้นดังนี้

.
1.  ต้องการขยายจำนวนการใช้งานอุปกรณ์เครือข่ายมากขึ้นกว่าเดิม เพื่อรองรับกับปริมาณผู้ใช้งานที่เพิ่มขึ้น
2.  ต้องการขยายระยะทางของระบบให้ไกลกว่าเดิม เพื่อครอบคลุมพื้นที่
3.  ต้องการควบคุมการรับส่งข้อมูล (Traffic) ให้ดีกว่าเดิมและเร็วกว่าเดิม เพราะระบบให้การตอบสนองช้าลง
.

4.  ต้องการแยกปัญหาที่เกิดในระบบเครือข่าย เพื่อให้สามารถค้นหาสาเหตุและแก้ไขระบบได้ง่าย
5.  ต้องการเชื่อมโยงเครือข่ายที่แตกต่างกันหรือเหมือนกันเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายใหญ่ขึ้น (NGN)
6.  ต้องการใช้แบนด์วิดธ์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับ Application ใหม่ ๆ เช่น IP Data, Web Application, SAN-SAN, Video on Demand, IPTV, VoIP และ Multimedia ที่ต้องการการควบคุมคุณภาพและความเร็วในการส่งข้อมูล

.

ความต้องการข้างต้นเป็นกลไกขับเคลื่อนและผลักดันให้ผู้ให้บริการโทรคมนาคม มีการพัฒนาเทคโนโลยีให้มีความสามารถในการรองรับกับความต้องของผู้ใช้งาน ผู้ให้บริการเริ่มมีการนำเทคโนโลยี Ethernet มาใช้งานในลักษณะการให้บริการแบบบรอดแบนด์มากขึ้น Ethernet เป็นเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และข้อมูลที่ใช้ในการสื่อสารกันในปัจจุบันเป็นแบบไอพี การใช้เทคโนโลยี Ethernet มีความเหมาะสมในการรองรับการส่งข้อมูลแบบไอพีเช่นเดียวกัน

.

ผู้ให้บริการจึงมีการปรับโครงสร้างระบบเครือข่ายเป็นแบบ Carrier Ethernet เพื่อรองรับกับความต้องการดังกล่าว หากเปรียบเทียบเทคโนโลยีของอุปกรณ์แต่ละประเภทที่นำมาใช้สำหรับเทคโนโลยีบรอดแบนด์ ได้แก่ อุปกรณ์ DSL, VDSL, Cable Modem และ PON (Passive Optical Network) นั้น อุปกรณ์ PON จะมีข้อดีกว่า

.

เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีที่ใช้สาย Fiber ซึ่งมีแบนด์วิดธ์ที่สูงมาก และอายุการใช้งานที่ยาวนาน เทคโนโลยี FTTH (Fiber To The Home) ที่ใช้อุปกรณ์ GE-PON สามารถรองรับการส่งข้อมูลแบบ Ethernet มีแบนด์วิดธ์สูงกว่าอุปกรณ์ DSL เป็นพันเท่า

.

แต่การลงทุนติดตั้งสาย Fiber นั้นมีต้นทุนการลงทุนที่สูงหากความต้องการของผู้ใช้งานไม่สูงจะไม่คุ้มค่ากับการลงทุน และการดำเนินงานทางด้านการติดตั้งจะใช้ระยะเวลานานเนื่องจากต้องใช้เวลาในการสำรวจและวางแผน และการดำเนินงานติดตั้งไม่สะดวกต้องขุดเจาะตามพื้นถนน ทำให้ไม่ทันต่อความต้องการของผู้ใช้งาน

.

การใช้เทคโนโลยีบนสายทองแดงที่มีอยู่เดิม เป็นสิ่งที่คุ้มค่า เนื่องจากไม่ต้องติดตั้งสายเคเบิลใหม่ และสามารถดำเนินการได้รวดเร็วทันต่อความต้องการของผู้ใช้งาน เช่น การใช้เทคโนโลยีแบบ G.SHDSL หรือการใช้งานผ่านเครือข่ายสาย E1 ซึ่งต่อผ่านสายเคเบิลทองแดงแบบเดิม แต่เทคโนโลยีนี้จะมีแบนด์วิดธ์จำกัดแค่ 2.3 Mbps ซึ่งอาจจะไม่เพียงพอต่อความต้องการ

.

บริษัท จักรวาลคอมมิวนิเคชั่น ซีสเท็ม จำกัด (UCS) ผู้ให้บริการให้คำปรึกษาทางเทคนิคครบวงจรในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารโทรคมนาคม จึงนำเสนอเทคโนโลยี EFM (Ethernet in the First Mile) ที่เป็นเทคโนโลยีที่การส่งข้อมูลแบบ Ethernet ผ่านสายเคเบิลทองแดงที่มีอยู่เดิม

.

เป็นอุปกรณ์ที่นำไปติดตั้งแทนที่อุปกรณ์เดิมที่ใช้งานการส่งข้อมูลผ่านสายทองแดงดังกล่าวข้างต้น สามารถให้แบนด์วิดธ์เพื่อการใช้งานในการส่งข้อมูลแบบ Ethernet ได้สูงถึง 45 – 80 Mbps ซึ่งการส่งข้อมูลจะเป็นแบบสมมาตรทั้งรับและส่ง (Symmetrical) สามารถนำไปเชื่อมต่อเป็น Backhaulให้กับเครือข่ายต่าง ๆ เช่น 3G Mobile, WiMAX, Wi-Fi รวมถึงหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ

.

เทคโนโลยี EFMPLUS เป็นเทคโนโลยีที่ทาง Actelis Network พัฒนาต่อจาก EFM เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการส่งข้อมูลบนเครือข่ายสายทองแดงเดิมให้มีขีดความสามารถใกล้เคียงกับสาย Fiber คือ

.
1. Rate สามารถให้แบนด์วิดธ์ในการรับส่งข้อมูลแบบ Ethernet ได้สูงถึง 45 - 80 Mbps
2. Reach สามารถส่งข้อมูลได้ไกลครอบคลุมพื้นที่ได้มากกว่าโดยอาศัย EFM Repeater เพื่อเพิ่มระยะทางได้มากขึ้น
3. Reliability มีความเสถียรภาพใกล้เคียงกับสาย Fiber
.

จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งให้ผู้ให้บริการได้นำเอาเทคโนโลยี EFMPLUS ไปใช้งานแทนการเดินสาย Fiber ในบางพื้นที่ที่ผู้ให้บริการไม่สามารถให้บริการเครือข่ายสาย Fiber แต่สามารถให้บริการเครือข่ายสายเคเบิลทองแดง สามารถนำอุปกรณ์ EFM ไปติดตั้งเพื่อให้บริการแทนได้ ตามความต้องการแบนด์วิดธ์ที่สูงขึ้นของผู้ใช้งานและทันเวลา

.

หลักการทํางานของเทคโนโลยี EFMPLUS

เทคโนโลยี EFMPLUS สามารถให้อัตราการส่งข้อมูลที่สูงกว่าการใช้งานผ่านสายทองแดงแบบเดิม ซึ่งการทำ Automatic Calibration and Multiple cable เป็นการปรับปรุงคุณภาพของสายอย่างอัตโนมัติเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการส่งข้อมูล มีการทำ CoS (Class of Service) สําหรับแอพพลิเคชัน เพื่อประกันแบนด์วิดธ์และ Latency ของแอพพลิเคชัน

.

เช่น ภาพและเสียง ระบบการควบคุม SLAs (Service Level Agreement) สําหรับหลายแอพพลิเคชันและการควบคุมคุณภาพการให้บริการ QoS (Quality of Service) แบบ end-to-end อีกทั้งการแบ่งระดับความสำคัญและประกันคุณภาพให้ระบบงานแต่ละแอพพลิเคชั่นสามารถรับส่งข้อมูลได้อย่างเพียงพอต่อการใช้งานและมีคุณภาพ

.

EFMPLUS เป็นเทคโนโลยีที่น่าสนใจอย่างมากเนื่องจากสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ให้บริการเพื่อสามารถให้บริการระบบเครือข่ายการรับส่งข้อมูลได้ตามความต้องการของผู้ใช้งานที่ต้องการการส่งข้อมูลที่มีความเร็วที่เพิ่มขึ้น โดยไม่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงโครงข่ายเดิมและเดินสายใหม่ รวมถึงไม่ต้องเสี่ยงกับการลงทุน

.

ดังนั้น EFMPLUS จึงเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการยอมรับอย่างรวดเร็วและมีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายแล้วในเอเซียและยุโรป ไม่ว่าจะเป็น อิตาลี, USA, ฟิลิปปินส์, ญี่ปุ่น, โปรตุเกส ฯลฯ