ปี 2551 การส่งออกของไทยมีสัดส่วนการส่งออกไปยัง 14 ประเทศคู่ค้าหลักถึงร้อยละ 79.8 ของมูลค่าการส่งออกรวม เป็นการส่งออกไปยังประเทศกลุ่ม G3 ด้วยสัดส่วนกว่าหนึ่งในสาม ภาวะเศรษฐกิจถดถอยของประเทศทั้งสามที่เกิดจากวิกฤตในภาคการเงิน จึงมีผลต่อการส่งออกของไทยและประเทศเพื่อนบ้านทั้งทางตรงและทางอ้อมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ถึงแม้ว่าประเทศต่างๆ ในเอเชียจะหันมาทำการค้ากันในภูมิภาคมากขึ้นก็ตาม
บทสรุปผู้บริหาร |
ในปี 2551 การส่งออกของไทยมีสัดส่วนการส่งออกไปยัง 14 ประเทศคู่ค้าหลักถึงร้อยละ 79.8 ของมูลค่าการส่งออกรวม โดยเป็นการส่งออกไปยังประเทศกลุ่ม G3 (สหรัฐฯ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น) ด้วยสัดส่วนกว่าหนึ่งในสาม ใกล้เคียงกับการส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ภาวะเศรษฐกิจถดถอยของประเทศทั้งสามที่เกิดจากวิกฤตในภาคการเงิน จึงมีผลต่อการส่งออกของไทยและประเทศเพื่อนบ้านทั้งทางตรงและทางอ้อมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ถึงแม้ว่าประเทศต่างๆ ในเอเชียจะหันมาทำการค้ากันในภูมิภาคมากขึ้นก็ตาม |
. |
การวัดความเสี่ยงของการส่งออกของประเทศคู่ค้าของไทยวิธีที่ 1 คือการคำนวณสัดส่วนของการส่งออกของแต่ละประเทศไปยัง G3 โดยประเทศคู่ค้าของไทยที่มีสัดส่วนการส่งออกไปยังประเทศกลุ่มG3 สูง ได้แก่ เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และจีน โดยมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 52.0 49.2 และ 46.3 ของมูลค่าการส่งออกรวมในปี 2551 ตามลำดับ |
. |
จากการวิเคราะห์ พบว่า ประเทศไทยได้รับผลทางอ้อมเบื้องต้นของการส่งออกจากประเทศคู่ค้าหลักไปยังประเทศ G3 อีกถึงร้อยละ 25.3 เมื่อรวมกับสัดส่วนการส่งออกทางตรงไป G3 ของไทยที่ร้อยละ 37.4 ของการส่งออกรวม เท่ากับว่า การส่งออกของไทยพึ่งพาเศรษฐกิจ G3 อยู่กว่าร้อยละ 62.7 ของมูลค่าการส่งออกรวม |
. |
วิธีที่ 2 คือการคำนวณดัชนีความเข้มข้นของการส่งออก ทั้งในแง่มิติคู่ค้าและมิติสินค้า ซึ่งจะสามารถบอกความเสี่ยงของตลาดส่งออกของไทยได้อย่างคร่าวๆ กล่าวคือ ประเทศที่มีความเข้มข้นของการส่งออกทั้งในด้านมิติคู่ค้าและมิติสินค้าสูง คือประเทศที่มีการส่งออกกระจุกตัวอยู่เพียงไม่กี่ตลาดหรือไม่กี่สินค้า |
. |
ซึ่งทำให้ประเทศนั้นๆมีความเสี่ยงในการส่งออกที่สูง โดยประเทศคู่ค้าของไทยที่มีความเข้มข้นของการส่งออกรายตลาดสูง ได้แก่ ฮ่องกง จีน อินเดีย และเกาหลีใต้ ในขณะที่เวียดนาม ไต้หวัน ฮ่องกงและฟิลิปปินส์ มีความเข้มข้นของการส่งออกรายสินค้าสูง |
. |
เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการส่งออก ไทยจำเป็นต้องมีการกระจายทั้งตลาดส่งออก และกระจายสินค้าส่งออกหลัก โดยอาจมุ่งเน้นสนับสนุนการส่งออกสินค้าที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่เศรษฐกิจไทยได้สูงเช่น สินค้าเกษตรแปรรูป อีกทั้งการกระจายตลาดส่งออกนั้น อาจต้องพิจารณาถึงความเสี่ยงของตลาดนั้น ในแง่ของความเข้มข้นของการส่งออก และสัดส่วนการส่งออกต่อตลาดใหญ่เช่นประเทศกลุ่ม G3 เพื่อให้เศรษฐกิจไทยในแง่ของการส่งออก ไม่พึ่งพาอยู่กับเศรษฐกิจใหญ่เพียงไม่กี่เศรษฐกิจ และหมวดสินค้าเพียงไม่กี่หมวด |
. |
1. บทนำ |
การส่งออกสินค้า ถือเป็นเครื่องยนต์ใหญ่สุดในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย เพราะมีสัดส่วนในรูป Real terms สูงถึงร้อยละ 59 ของ GDP ปัจจุบันไทยมีสัดส่วนการส่งออกไปยัง 14 ประเทศคู่ค้าหลักถึงร้อยละ 79.8 ของมูลค่าการส่งออกรวมในปี 2551 โดยไทยส่งออกไปยังประเทศกลุ่ม G3 (สหรัฐฯ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น) ด้วยสัดส่วนร้อยละ 34.7 หรือกว่าหนึ่งในสามของมูลค่าการส่งออกรวมในช่วงสิบเดือนแรกของปี 2551 ภาวะเศรษฐกิจถดถอยของประเทศทั้งสามที่เกิดจากวิกฤตใน |
. |
ทางออกของประเทศไทยและประเทศต่างๆในเอเชีย คือการหันมาทำการค้ากันในภูมิภาคมากขึ้น โดยปี 2551 ไทยส่งออกไปยังประเทศกลุ่มอาเซียนเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 16.9 ของยอดส่งออกรวม เมื่อรวมกับการส่งออกไปยังตลาดใหม่และตลาดรองในเอเชีย เช่น จีน ฮ่องกง เกาหลีใต้ เวียดนาม และไต้หวันแล้ว การส่งออกของไทยไปยังภูมิภาคเอเชีย จะมีสัดส่วนถึงร้อยละ 35.2 หรือมากกว่าสัดส่วนของมูลค่าการส่งออกรวมไปยังตลาด G3 ซึ่งนับว่าเป็นการกระจายความเสี่ยงทางการ ส่งออกของไทยทางหนึ่ง |
. |
อย่างไรก็ดี ประเทศในเอเชียที่เป็นคู่ค้าของไทย มีโครงสร้างของตลาดส่งออกสินค้าที่แตกต่างกัน บางประเทศเช่น จีน และเวียดนาม มีการส่งออกไปยังประเทศกลุ่ม G3 ถึงร้อยละ 46.3 และร้อยละ 52.0 ของมูลค่าส่งออกรวม โดยเฉพาะการส่งออกสินค้าสำเร็จรูป เศรษฐกิจ G3 ที่ชะลอตัว จึงส่งผลต่อไทยผ่านประเทศคู่ค้าเหล่านี้ ซึ่งมีผลมากกว่าสัดส่วนเบื้องต้นของการส่งออกของไทยไปยัง G3 ทั้งในแง่ของการ re-export สินค้าจากไทยของประเทศคู่ค้าไปยังประเทศ G3 โดยตรง |
. |
การนำเข้าสินค้าวัตถุดิบจากไทยเพื่อนำไปผลิตเพื่อส่งออก และในแง่ของรายได้ประเทศคู่ค้าไทยที่ขาดหายไปจากการส่งออกที่ลดลง ซึ่งจะส่งผลทางอ้อมให้ยอดสั่งสินค้านำเข้าจากไทยของประเทศคู่ค้าเหล่านั้นชะลอตัวตามด้วย ดังนั้น การวัดความเสี่ยงของการส่งออก มีอยู่ 2 วิธีได้แก่ |
. |
วิธีที่ 1 คือการศึกษาสัดส่วนการส่งออกของประเทศคู่ค้า ระดับความพึ่งพิงของการส่งออกไปยังประเทศกลุ่ม G3 ของประเทศนั้นๆ จะช่วยให้เราเข้าใจถึงภาพรวมที่เศรษฐกิจ G3 มีต่อการส่งออกไทยทั้งทางตรงและทางอ้อมได้ |
. |
วิธีที่ 2 คือ การคำนวนดัชนีความเข้มข้นของการส่งออก (Export Concentration Index) ซึ่งเป็นดัชนีที่สามารถวัดความเสี่ยงในการส่งออกได้ โดยในแง่มิติคู่ค้า ประเทศที่มีความเข้มข้นของการส่งออกสูงย่อมได้ผลประโยชน์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลักผ่านยอดการสั่งซื้อสินค้า หรือในมิติสินค้า ประเทศที่มุ่งผลิตสินค้าเพียงไม่กี่อย่างที่มีอุปสงค์จากตลาดสูง ย่อมจะได้ประโยชน์จากทั้งราคาและปริมาณการส่งออกที่สูงขึ้น |
. |
ในทางกลับกัน ประเทศที่มีความเข้มข้นของการส่งออกสูง ย่อมได้รับผลกระทบต่อการส่งออกที่รุนแรงกว่าประเทศที่มีการกระจายตลาดและสินค้าส่งออกเมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลกดังเช่นที่เป็นอยู่ในขณะนี้ ประเทศคู่ค้าของไทยที่มีสัดส่วนส่งออกไปยังประเทศกลุ่ม G3 สูงและมีดัชนีความเข้มข้นของการส่งออกที่สูง ย่อมเป็นประเทศที่มีความเสี่ยงทางเศรษฐกิจสูงในแง่รายได้จากการส่งออกที่สูงขึ้น |
. |
2. การจัดสัดส่วนการส่งออกตามมิติคู่ค้าของประเทศคู่ค้าหลักของไทย |
หากนำมูลค่าการส่งออกสินค้า 14 ประเทศคู่ค้ารวมทั้งไทย มาคำนวณหาว่าสัดส่วนที่แต่ละประเทศส่งออกระหว่างกันมีมากน้อยเพียงใด จะทำให้เห็นการกระจายหรือการกระจุกในด้านตลาดส่งออกสินค้าของทั้ง 14 ประเทศ รวมทั้งไทย |
. |
ประเทศคู่ค้าหลักของไทย (ที่ไม่ใช่ประเทศกลุ่ม G3) ล้วนมีสัดส่วนการส่งออกไปยังประเทศกลุ่ม G3 ที่สูง เฉลี่ยถึงร้อยละ 36.8 ของมูลค่าการส่งออกรวม โดยสิงคโปร์เป็นประเทศที่มีการส่งออกไปยังตลาด G3 ต่ำสุดที่ร้อยละ 22.1 ของมูลค่าการส่งออกรวม ในขณะที่ประเทศที่มีสัดส่วนการส่งออกไปยังตลาด G3 สูง ได้แก่เวียดนาม (ร้อยละ 52.0) ฟิลิปปินส์ |
. |
ด้วยสัดส่วนที่ไทยส่งออกไปยังประเทศคู่ค้าที่ส่งออกต่อไปยังประเทศ G3 เราสามารถคำนวณ export exposure to G3 เบื้องต้นได้ด้วยการหา contribution ของแต่ละประเทศ โดยนำสัดส่วนที่ส่งออกไปยัง G3 คูณด้วยสัดส่วนที่ไทยส่งออกไปยังประเทศเหล่านั้น |
. |
ประเทศที่มี contribution ต่อผลทางอ้อมของการส่งออกไปยัง G3 สูง ได้แก่จีน (ร้อยละ 4.21) และ ญี่ปุ่น (ร้อยละ3.57) ซึ่งมีทั้งสัดส่วนที่ส่งออกไปยัง G3 สูง และเป็นประเทศคู่ค้าอันดับต้นๆของไทย |
. |
โดยรวมแล้ว ประเทศไทยได้รับผลทางอ้อมเบื้องต้นของการส่งออกจากประเทศคู่ค้าหลักไปยังประเทศ G3 อีกถึงร้อยละ 25.3 เมื่อรวมกับสัดส่วนการส่งออกไปG3 ของไทยที่ร้อยละ 37.4 ของการส่งออกรวม เท่ากับว่า การส่งออกของไทยพึ่งพาเศรษฐกิจ G3 อยู่กว่าร้อยละ 62.7 ของมูลค่าการส่งออกรวม ซึ่งอาจเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้การส่งออกของไทยทรุดตัวตามวิกฤตเศรษฐกิจโลก โดยการส่งออกของ |
. |
3. การวัดความเข้มข้นของการส่งออก (Export Concentration Index) ของประเทศคู่ค้าไทย |
วิธีที่ 2 ที่สามารถวัดความเสี่ยงของการส่งออกได้ คือการคำนวณดัชนีความเข้มข้นของการส่งออกของประเทศคู่ค้าของไทย โดยหากประเทศใดมีความเข้มข้นของการส่งออกสูง ทั้งในแง่มิติคู่ค้าและมิติสินค้า เมื่อประเทศคู่ค้าของประเทศนั้นๆ ที่มีสัดส่วนการส่งออกที่ใหญ่ มีเศรษฐกิจที่ดี หรืออุปสงค์ต่อสินค้าที่มีสัดส่วนการส่งออกสูง |
. |
การส่งออกของประเทศคู่ค้านั้นก็จะขยายตัว และทำให้ความต้องการสั่งซื้อสินค้านำเข้าของไทยเพิ่มสูงขึ้นด้วย ในทางกลับกัน หากประเทศคู่ค้ารายใหญ่ของประเทศนั้นๆประสบภาวะเศรษฐกิจถดถอย หรืออุปสงค์ต่อสินค้าส่งออกหลักของประเทศนั้นๆลดลงมาก การส่งออกก็จะลดลงตาม และจะทำให้ไทยส่งออกไปยังประเทศดังกล่าวได้น้อยลงด้วย |
. |
ในทางกลับกัน หากประเทศคู่ค้าของไทยมีความเข้มข้นของสินค้าและตลาดส่งออกที่ต่ำ ก็จะหมายถึงการกระจายสินค้าที่ดี และทำให้การส่งออกไม่หดตัวลงมากนัก เสมือนหนึ่งมีเกราะคุ้มกันภาคการส่งออกต่อเศรษฐกิจโลกที่ผันผวนการคำนวณดัชนีความเข้มข้นของการส่งออกมีหลายวิธี ได้แก่ |
. |
1. การใช้ดัชนี Herfindahl-Hirschmann (HHI) โดยดัชนี HHI นี้ เดิมใช้วัดความเข้มข้นของส่วนแบ่งการตลาดคำนวณได้โดยนำตัวเลขส่วนแบ่งการตลาดของแต่ละบริษัทมายกกำลังสองแล้วบวกเข้าด้วยกัน การดัดแปลงเพื่อนำดัชนีนี้มาใช้วัดความเข้มข้นของตลาดส่งออก ก็สามารถทำได้ด้วยวิธีที่คล้ายคลึงกัน |
. |
อย่างไรก็ดี การใช้ HHI ในการวัดความเข้มข้นนี้ มีข้อเสียคือ ไม่สามารถเปรียบเทียบความเข้มข้นของตลาดที่มีขนาดแตกต่างกันได้อย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากไม่มีการใช้ฐานเดียวกันในการคำนวณ |
. |
2...การใช้ดัชนี Normalized Herfindahl-Hirschmann (NHHI) โดยเป็นวิธีที่ที่ประชุมสหประชาชาติเพื่อการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) ใช้ในการคำนวณความเข้มข้นของการส่งออกรายสินค้าของประเทศต่างๆ โดยหลักการคือการประยุกต์ใช้ HHI ที่ถ่วงน้ำหนักตามสัดส่วนแล้ว แล้วนำมา normalize เพื่อให้ค่าอยู่ระหว่าง 0 ถึง 1 โดยค่าที่ใกล้ 1 หมายถึงความเข้มข้นของการส่งออกที่สูง (และการกระจายตัวของตลาดส่งออกที่ต่ำ) การคำนวณ NHHI สามารถเขียนเป็นสัญลักษณ์ ได้ดังนี้ |
. |
ดัชนี HHI และ NHHI มีข้อดีคือสามารถคำนวณได้โดยง่ายและรวดเร็ว แต่มีข้อเสียคือ ในกรณีที่การส่งออกกระจายตัวในทุกตลาดโดยเท่าเทียมกัน ดัชนี HHI จะมีค่าเท่ากับสัดส่วนการส่งออกไปยังแต่ละตลาด ในขณะที่ดัชนี NHHI อาจมีค่าติดลบได้ ซึ่งอาจสะท้อนภาพของความเข้มข้นของการส่งออกในกรณีที่สัดส่วนของแต่ละประเทศคู่ค้าใกล้เคียงกันได้ไม่ดีเท่าที่ควร ดังเช่นการส่งออกของประเทศในกลุ่มเอเชีย |
. |
3. การใช้ดัชนีของ Kalemli-Ozcan Sorensen และ Yosha (KSY 2 ) โดยดัชนี KSY นี้ เดิมทีใช้วัดความสามารถเฉพาะทางในการผลิต (Production Specialization) ของแต่ละเศรษฐกิจ โดยเศรษฐกิจที่มีดัชนี KSY สูง จะเป็นความเข้มข้นของการส่งออกในแง่มิติคู่ค้า |
. |
การคำนวณดัชนี KSY สามารถเขียนเป็นสัญลักษณ์ได้ดังนี้ |
โดยบทวิเคราะห์บทนี้ จะใช้ดัชนี KSY ในการคำนวณความเข้มข้นของการส่งออกเป็นหลัก ซึ่งได้ผลการวิเคราะห์ดังนี้ เมื่อนำสัดส่วนการส่งออกในแง่มิติคู่ค้าของประเทศคู่ค้าหลักมาคำนวณตามวิธีของ KSY เพื่อหาความเข้มข้นของการส่งออกแล้ว จะเห็นได้ว่า ประเทศไทยจัดว่ามีความเข้มข้นของตลาดส่งออกต่ำ เพียงร้อยละ 3.0 เท่านั้น รองจากสิงคโปร์ที่มีความเข้มข้นของตลาดส่งออกต่ำสุด |
. |
เราสามารถจัดประเทศคู่ค้าหลักออกเป็น 3 กลุ่ม ตามความเข้มข้นของการส่งออกรายตลาด |
กลุ่มแรก คือประเทศที่มีความเข้มข้นของการส่งออกรายตลาดต่ำ โดยมีดัชนีความเข้มข้นของการส่งออกรายสินค้าน้อยกว่าร้อยละ 10 ประเทศที่อยู่ในกลุ่มนี้ได้แก่สิงคโปร์ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย เวียดนาม ไต้หวัน และเกาหลีใต้ |
. |
กลุ่มที่สองคือ ประเทศที่มีความเข้มข้นของการส่งออกรายตลาดปานกลาง โดยมีดัชนีความเข้มข้นของการส่งออกรายตลาดระหว่างร้อยละ 10 - 20 ได้แก่ จีน อินเดีย และสหรัฐฯ |
. |
กลุ่มสุดท้ายคือ ประเทศที่มีความเข้มข้นของการส่งออกรายตลาดสูงโดยมีดัชนีความเข้มข้นสูงกว่าร้อยละ 20 ซึ่งได้แก่สหภาพยุโรปและฮ่องกง โดยระดับของความเข้มข้นของการส่งออกรายตลาดของประเทศต่างๆเหล่านี้ ย่อมบ่งชี้ถึงความเสี่ยงในการส่งออกของประเทศนั้นๆ และสอดคล้องกับตัวเลขการส่งออกที่หดตัวลงของประทศนั้นๆ |
. |
อย่างไรก็ดี บางประเทศ เช่น ฟิลิปปินส์และไต้หวัน ถึงแม้จะมีความเข้มข้นของการส่งออกรายตลาดที่ต่ำ แต่มีการกระจุกตัวของหมวดสินค้าส่งออกที่สูง จึงควรพิจารณาความเข้มข้นของการส่งออกรายสินค้าควบคู่กันไปด้วย |
. |
4. ความเข้มข้นของการส่งออกในแง่มิติสินค้า |
การคำนวณความเข้มข้นของการส่งออกในแง่มิติสินค้านั้น มีความซับซ้อนกว่าการคำนวณในแง่มิติคู่ค้า เนื่องจากการจำแนกรายการสินค้าส่งออกของแต่ละประเทศใช้หลักการแตกต่างกัน อย่างไรก็ดี เราสามารถนำรายละเอียดของข้อมูลการส่งออกมาจัดกลุ่มสินค้าใหม่ เพื่อให้การจัดกลุ่มสินค้าของประเทศคู่ค้าต่างๆมีความสอดคล้องกัน ดังนี้ |
. |
o หมวดสินค้าเกษตร แบ่งเป็นการส่งออกสินค้าพืชและสัตว์ |
. |
o หมวดสินค้าอุตสาหกรรม แบ่งตามหลักเกณฑ์ของกระทรวงพาณิชย์หลักที่ 2 เช่น สินค้าอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้า อัญมณี สิ่งทอ ฯลฯ |
. |
เมื่อนำสัดส่วนการส่งออกในแง่มิติสินค้าของประเทศคู่ค้าหลักมาคำนวณตามวิธีของ KSY เพื่อหาความเข้มข้นของ การส่งออกแล้ว จะเห็นได้ว่า ประเทศไทยจัดว่ามีความเข้มข้นของสินค้าส่งออกต่ำที่สุด เพียงร้อยละ 3.2 เท่านั้น |
. |
เราสามารถจัดประเทศคู่ค้าหลักออกเป็น 4 กลุ่ม ตามความเข้มข้นของการส่งออกรายสินค้า โดยกลุ่มแรก คือประเทศที่มีความเข้มข้นของการส่งออกรายสินค้าต่ำ โดยมีดัชนีความเข้มข้นของการส่งออกรายสินค้าน้อยกว่าร้อยละ 10 ประเทศที่อยู่ในกลุ่มนี้ได้แก่ ไทย สหรัฐฯ อินเดีย สหภาพยุโรป และจีน กลุ่มที่สองคือประเทศที่มีความเข้มข้นของการส่งออกปานกลาง โดยมีดัชนีความเข้มข้นของการส่งออกรายสินค้าระหว่างร้อยละ 10 - 20 ได้แก่ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย |
. |
สิงคโปร์ เกาหลีใต้ และมาเลเซีย กลุ่มที่สามคือ ประเทศที่มีความเข้มข้นของการส่งออกสูง มีดัชนีความเข้มข้นร้อยละ 20-30ได้แก่เวียดนามและไต้หวัน และกลุ่มสุดท้ายคือประเทศที่มีความเข้มข้นของการส่งออกสูงมาก โดยมีดัชนีความเข้มข้นเกินร้อยละ 30 ได้แก่ประเทศฮ่องกงและฟิลิปปินส์ |
. |
หากนำดัชนีความเข้มข้นของการส่งออก ทั้งรายตลาดและรายสินค้ามาเปรียบเทียบกัน เพื่อพิจารณาประเทศคู่ค้าที่จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยง คือประเทศที่มีความเข้มข้นรวมสูง ทงั้ แง่มิตติ ลาดและมิติสินค้า จะได้ประเทศที่จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ จีน ฟิลิปปินส์ เวียดนาม อินโดนีเซีย ฮ่องกง ไต้หวัน และเกาหลีใต้ |
. |
5. การส่งออกของไทยไปยังประเทศกลุ่มเสี่ยงนอกเหนือจากประเทศกลุ่ม G3 |
การส่งออกไปยังจีน |
จีนเป็นประเทศที่จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยง เนื่องจากมีสัดส่วนการส่งออกไปยัง G3 สูงถึงร้อยละ 46.3 อีกทั้งจีนยังเป็นประเทศคู่ค้าอันดับ 4 ของไทย มีสัดส่วนการส่งออกของไทยถึงร้อยละ 9. 1 ของมูลค่าการส่งออกรวมปี 2551 การส่งออกของจีนที่ถดถอย ย่อมมีผลลบทางอ้อมที่มีนัยสำคัญต่อประเทศไทย |
. |
อีกทั้งจีนมีความเข้มข้นของตลาดส่งออกในระดับปานกลางที่ร้อยละ 10.8 อย่างไรก็ดี ในแง่มิติสินค้าแล้ว จีนมีการกระจายสินค้าส่งออกในระดับดี โดยมีความเข้มข้นของการส่งออกสินค้า รายสินค้าที่ร้อยละ 7.7 การส่งออกสินค้าของไทยไปยังประเทศจีนในปี 2551 ขยายตัวดีที่ร้อยละ 8.6 ต่อปี |
. |
โดยสินค้าหลัก ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ยางพารา น้ำมันสำเร็จรูป เม็ดพลาสติก และเคมีภัณฑ์ มีอัตราการเติบโตที่ร้อยละ 22.0 21.7 77.9 8.1 และ -36.8 ต่อปี ตามลำดับ อย่างไรก็ดี การส่งออกไปยังจีนเริ่มมีแนวโน้มชะลอตัว โดยในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2552 การส่งออกของไทยไปยังจีนหดตัวถึงร้อยละ -34.7 ต่อปี |
. |
การส่งออกไปยังฟิลิปปินส์ |
ฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยง เนื่องจากมีสัดส่วนการส่งออกไปยัง G3 สูงถึงร้อยละ 49.2 อีกทั้งฟิลิปปินส์ยังมีความเข้มข้นของการส่งออกรายสินค้าสูงถึงร้อยละ 37.5 ในขณะที่ความเข้มข้นของการส่งออกรายตลาดต่ำที่ร้อยละ 5.2 |
. |
ประเทศไทยส่งออกไปฟิลิปปินส์ในสัดส่วนร้อยละ 2.0 ของมูลค่าการส่งออกรวมปี 2551 โดยการส่งออกสินค้าของไทยไปยังฟิลิปปินส์ในปี 2551 ขยายตัวร้อยละ 16.6 ต่อปี สินค้าส่งออกหลัก ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ข้าวแผงวงจรไฟฟ้า น้ำมันสำเร็จรูป และเม็ดพลาสติก โดยมีอัตราการเติบโตที่ร้อยละ 19.9 203.8 -25.2 121.7 และ 16.5 ต่อปีตามลำดับ |
. |
การส่งออกไปยังเวียดนาม |
เวียดนามเป็นประเทศที่จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยง ด้วยสัดส่วนการส่งออกไปยัง G3 สูงถึงร้อยละ 52.0 ซึ่งสูงสุดเมื่อเทียบกับคู่ค้าอื่นๆของไทย อีกทั้งเวียดนามยังมีความเข้มข้นของการส่งออกรายสินค้าสูงถึงร้อยละ 20.5 ในขณะที่มีความเข้มข้นของการส่งออกรายตลาดในระดับปานกลางที่ร้อยละ 8.2 |
. |
ในปี 2551 ประเทศไทยส่งออกไปเวียดนามในสัดส่วนร้อยละ 2.8 ของมูลค่าการส่งออกรวม โดยการส่งออกสินค้าไปยังเวียดนามในปี 2551 ขยายตัวร้อยละ 31.9 ต่อปี โดยสินค้าหลัก ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป เม็ดพลาสติก เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ และเครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบ โดยมีอัตราการขยายตัวที่ร้อยละ 120.3 18.2 1.1 37.5 และ 22.2 ต่อปี ตามลำดับ |
. |
การส่งออกไปยังอินโดนีเซีย |
อินโดนีเซียเป็นประเทศที่จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยง เนื่องจากมีสัดส่วนการส่งออกไปยัง G3 สูงถึงร้อยละ 40.4 อีกทั้งอินโดนีเซียยังมีความเข้มข้นของการส่งออกรายสินค้าในระดับปานกลางที่ร้อยละ 10.6 อย่างไรก็ดี อินโดนีเซียมีความเข้มข้นของการส่งออกรายตลาดต่ำที่ร้อยละ 5.1 |
. |
ประเทศไทยส่งออกไปอินโดนีเซียในสัดส่วนร้อยละ 3.6 ของมูลค่าการส่งออกรวมปี 2551 โดยการส่งออกสินค้าไปยังอินโดนีเซียในปี 2551 ขยายตัวร้อยละ 31.3 ต่อปี สินค้าส่งออกหลัก ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ น้ำตาลทราย เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่อง เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบ และเคมีภัณฑ์ มีอัตราการขยายตัวที่ร้อยละ 49.1 24.8 43.9 83.5 และ 17.6 ต่อปี ตามลำดับ |
. |
การส่งออกไปยังฮ่องกง |
ถึงแม้ว่าฮ่องกงจะมีสัดส่วนการส่งออกไปยัง G3 ในระดับปานกลางที่ร้อยละ 30.7 แต่ฮ่องกงมีความเสี่ยงของการส่งออกทั้งรายตลาดและรายสินค้าในระดับสูง โดยความเข้มข้นของการส่งออกรายตลาดของฮ่องกงสูงถึงร้อย ละ 36.7 ในขณะที่ความเข้มข้นของการส่งออกรายสินค้าอยู่ในระดับสูงที่ร้อยละ 27.7 ซึ่งสูงสุดเมื่อเทียบกับประเทศคู่ค้าอื่นๆ ในปี 2551 |
. |
ประเทศไทยส่งออกไปฮ่องกงในสัดส่วนร้อยละ 5.6 ของมูลค่าการส่งออกรวมการส่งออกสินค้าไปยังฮ่องกงในปี 2551 ขยายตัวร้อยละ 15.5 ต่อปี สินค้าส่งออกหลัก ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์ และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ แผงวงจรไฟฟ้า หนังสือและสิ่งพิมพ์ และเม็ดพลาสติก มีอัตราการเติบโตที่ร้อยละ 8.8 70.1 7.9 107.0 และ -8.6 ต่อปี ตามลำดับ |
. |
การส่งออกไปยังไต้หวัน |
ไต้หวันมีสัดส่วนการส่งออกไปยัง G3 ในระดับปานกลางที่ร้อยละ 30.6 แต่ไต้หวันมีความเสี่ยงของการส่งออกทั้งรายตลาดและรายสินค้าในระดับที่แตกต่างกัน โดยความเข้มข้นของการส่งออกรายตลาดของไต้หวันอยู่ในระดับปานกลางที่ร้อยละ การส่งออกสินค้าไปยังไต้หวันในปี 2551 หดตัวร้อยละ -18.8 ต่อปี สินค้าส่งออกหลัก ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้าเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ น้ำตาลทราย และน้ำมันสำเร็จรูป มีอัตราการเติบโตที่ร้อยละ -57.2 -33.4 21.9 165.3 และ 94.6 ต่อปี ตามลำดับ |
. |
การส่งออกไปยังเกาหลีใต้ |
เกาหลีใต้จัดว่าเป็นประเทศคู่ค้าที่มีความเสี่ยงของการส่งออกในระดับปานกลางในทุกๆด้าน โดยมีสัดส่วนการส่งออกไปยัง G3 ที่ร้อยละ 31.5 ความเข้มข้นของการส่งออกรายตลาดที่ร้อยละ 15.4 ในขณะที่ความเข้มข้นของการส่งออกรายสินค้าที่ร้อยละ 9.1 โดยในปี 2551 ประเทศไทยส่งออกไปเกาหลีใต้ในสัดส่วนร้อยละ 2.1 ของมูลค่าการส่งออกรวมการส่งออกสินค้าไปยังเกาหลีใต้ในปี 2551 |
. |
ขยายตัวร้อยละ 31.9 ต่อปี โดยสินค้าหลัก ได้แก่ น้ำมันดิบ ยางพารา แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง มีอัตราการเติบโตที่ร้อยละ 588.9 37.8 -33.7 -10.8 และ 166.0 ต่อปี ตามลำดับ |
. |
6. สรุป และข้อเสนอแนวนโยบาย |
การเร่งกระจายการส่งออกของไทย เพื่อรับมือกับเศรษฐกิจโลกที่ตกต่ำนั้น จำเป็นต้องมีการกระจายทั้งตลาดส่งออกและกระจายสินค้าส่งออกหลัก โดยอาจมุ่งเน้นสนับสนุนการส่งออกสินค้าที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่เศรษฐกิจไทยได้สูง เช่น สินค้าเกษตรแปรรูป อีกทั้งการกระจายตลาดส่งออกนั้น อาจต้องพิจารณาถึงความเสี่ยงของตลาดนั้น |
. |
ในแง่ของความเข้มข้นของการส่งออก และสัดส่วนการส่งออกต่อตลาดใหญ่เช่นประเทศกลุ่ม G3 เพื่อให้เศรษฐกิจไทยในแง่ของการส่งออก ไม่พึ่งพาอยู่กับเศรษฐกิจใหญ่เพียงไม่กี่เศรษฐกิจ เพื่อที่การส่งออก ซึ่งเป็นเครื่องยนต์ขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจไทย มีความเสี่ยงลดลง และสามารถนำเศรษฐกิจไทยพ้นวิกฤตที่กำลังเผชิญได้ |
. |
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office |