กรีนพีซรณรงค์หน้าสถานที่จัดประชุมอาเซียน +3 โดยลอยบอลลูนขนาดใหญ่และแผ่นป้ายที่มีข้อความว่า "ลงทุนพลังงานหมุนเวียน ไม่ใช่นิวเคลียร์ ปกป้องสภาพภูมิอากาศเดี๋ยวนี้" เรียกร้องให้ผู้นำประเทศที่เข้าร่วมการประชุม พลิกวิกฤตเศรษฐกิจเป็นโอกาสสำหรับกู้วิกฤตโลกร้อน
มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจควรมุ่งสู่พลังงานหมุนเวียนซึ่งสร้างงานที่มีคุณภาพและปกป้องสภาพภูมิอากาศ |
. |
นักกิจกรรมกรีนพีซรณรงค์หน้าสถานที่จัดประชุมอาเซียน +3 โดยลอยบอลลูนขนาดใหญ่และแผ่นป้ายที่มีข้อความว่า "ลงทุนพลังงานหมุนเวียน ไม่ใช่นิวเคลียร์ ปกป้องสภาพภูมิอากาศเดี๋ยวนี้" กรีนพีซเรียกร้องให้ผู้นำประเทศที่เข้าร่วมการประชุมอาเซียน +3 พลิกวิกฤตเศรษฐกิจเป็นโอกาสสำหรับกู้วิกฤตโลกร้อน โดยรับประกันว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เน้นไปที่การพัฒนาและวางระบบพลังงานหมุนเวียน จะก่อให้เกิดการจ้างงานที่ยั่งยืนนับพันตำแหน่งในภูมิภาค |
. |
กรีนพีซยังได้เตือนรัฐบาลในอาเซียนว่าไม่ควรเสียเงินไปกับการนำเข้าเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่แพงและอันตราย ทั้งนี้ รัฐบาลไทย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม แสดงความประสงค์ที่จะสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศของตน |
. |
"โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไม่เพียงแต่อันตรายและสกปรก แต่ยังแพงมหาศาล การก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์สร้างผลกำไรแก่ประเทศร่ำรวยและก่อภาระทางเศรษฐกิจให้กับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้ต้องมีการพึ่งพาเทคโนโลยี เชื้อเพลิง และวัตถุดิบจากต่างประเทศ ผู้นำอาเซียนควรมุ่งเน้นไปสู่การลงทุนด้านพลังงานหมุนเวียนที่สะอาดซึ่งพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าก่อให้เกิดการจ้างงานที่มีคุณภาพหลายพันตำแหน่งในภูมิภาค |
. |
การดำเนินการดังกล่าวยังขับเคลื่อนประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างขนานใหญ่ พลังงานนิวเคลียร์เป็นการเบี่ยงเบนการแก้ปัญหาซึ่งเป็นอันตราย เรามิอาจสูญเสียทรัพยากรและเวลาไปกับเรื่องนี้ได้" ยาน เบอราเนค ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานนิวเคลียร์ กรีนพีซสากลกล่าว |
. |
ขณะที่รัฐบาลกำลังหารือเพื่อรับมือและกอบกู้วิกฤตเศรษฐกิจในการประชุมอาเซียน +3 ความทะเยอทะยานที่จะพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์ดูเหมือนจะเป็นยุทธศาสตร์ที่ชัดเจนของผู้นำรัฐบาลหลายประเทศในกลุ่มอาเซียน ต้นทุนการสร้างเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ทั่วโลกได้พุ่งขึ้นสูงถึง 5-8 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมากกว่าที่อุตสาหกรรมนิวเคลียร์คาดการณ์ไว้ถึง 3 เท่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ของฝรั่งเศสที่มีการก่อสร้างในยุโรปในขณะนี้นั้นมีงบบานปลายไปแล้วมากกว่า 3 พันล้านเหรียญ การก่อสร้างล่าช้าและเจอกับความผิดพลาดนับพันจุด |
. |
"การใช้จ่ายงบประมาณของประเทศและความช่วยเหลือทางการเงินไปกับพลังงานนิวเคลียร์ ไม่แต่เพียงนำเอามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ช่วยผู้คนและเศรษฐกิจออกไป แต่ยังเป็นการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ผิดทาง ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังเผชิญวิกฤตเศรษฐกิจและวิกฤตทางนิเวศครั้งใหญ่ |
. |
หากยังคงขาดการดำเนินการอย่างทันท่วงทีเพื่อพลิกสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การที่จะกอบกู้ปัญหาเศรษฐกิจได้นั้น อาเซียนควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบพลังงานหมุนเวียนที่สะอาดเพื่อช่วยให้ประเทศในอาเซียนสามารถต่อสู้กับปัญการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ แทนที่จะสนับสนุนเงินให้แก่พลังงานสกปรกและอุตสาหกรรมอันตราย บนฐานของความเท่าเทียมกัน |
. |
อาเซียนต้องเรียกร้องให้ประเทศอุตสาหกรรมให้ความช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาในด้านเทคโนโลยีและการสนับสนุนทางการเงินในด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และเอื้อให้เกิดการเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ เราคาดหวังว่าผู้นำอาเซียนของเราจะนำข้อเรียกร้องนี้ไปสู่เวทีเจรจาที่กรุงโคเปนเฮเกนในเดือนธันวาคมนี้ด้วย" นายธารา บัวคำศรี ผู้จัดการฝ่ายรณรงค์ประจำประเทศไทย กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กล่าว |
. |
กรีนพีซเห็นว่าพลังงานนิวเคลียร์ไม่มีบทบาทอันใดเลยในการช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงครึ่งหนึ่งภายในปี 2593 เพื่อหลีกเลี่ยงมหันตภัยจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กรีนพีซเรียกร้องให้มีการปฏิวัติพลังงานบนฐานการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนและประสิทธิภาพพลังงาน รัฐบาลที่เลือกพลังงานนิวเคลียร์ ท้ายที่สุดแล้วจะพบว่าความมั่นคงและความเป็นอิสระด้านพลังงานจะตกอยู่ในเงื้อมมือของประเทศสองสามประเทศและบริษัทไม่กี่แห่งที่ครอบครองเทคโนโลยีและเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ |