ภาวะเศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมาชะลอตัวอย่างต่อเนื่องจากปัจจัยภายในประเทศ และความผันผวนของราคาน้ำมัน ปลายปี 2551 เศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากวิกฤติเศรษฐกิจโลกขณะที่การใช้จ่ายภายในประเทศยังไม่สามารถฟื้นตัวได้อย่างเต็มที่ แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2552 คาดว่าจะชะลอตัวต่อเนื่องจะส่งผลกระทบต่อรายได้ของประชาชน รัฐบาลจึงจำเป็นต้องใช้นโยบายการคลัง เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและรองรับผลกระทบจากการชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจ
บทสรุปผู้บริหาร: บทวิเคราะห์เรื่อง การรักษาวินัยทางการคลังของไทยท่ามกลางกระแสวิกฤติเศรษฐกิจโลก |
. |
บทสรุปผู้บริหาร |
ภาวะเศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมาชะลอตัวอย่างต่อเนื่องจากปัจจัยภายในประเทศ และความผันผวนของราคาน้ำมัน นอกจากนี้ ในช่วงปลายปี 2551 เศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากวิกฤติเศรษฐกิจโลกที่ได้ส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริง (Real Sector) โดยเฉพาะภาคการส่งออกสินค้าและบริการ |
. |
ในขณะที่การใช้จ่ายภายในประเทศยังไม่สามารถฟื้นตัวได้อย่างเต็มที่เนื่องจากผู้บริโภคและนักลงทุนขาดความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2552 คาดว่าจะชะลอตัวต่อเนื่องจะส่งผลกระทบต่อรายได้ของประชาชน และผลประกอบการของภาคธุรกิจ ซึ่งจะกระทบต่อการจ้างงานที่คาดว่าจะลดลงในปี 2552 |
. |
ดังนั้น รัฐบาลจึงจำเป็นต้องใช้นโยบายการคลัง เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและรองรับผลกระทบจากการชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจ (Keynesian Fiscal Policy) โดยรัฐบาลได้จัดทำงบประมาณแบบขาดดุลสำหรับปีงบประมาณ 2551 และ 2552 พร้อมทั้งกำหนดกรอบการขาดดุลงบประมาณสำหรับปีงบประมาณ 2553 |
. |
การดำเนินนโยบายการคลังในปีงบประมาณ 2552 — 2553 จะช่วยสนับสนุนอุปสงค์ภายในประเทศ (Domestic Demand) ในภาวะวิกฤติเศรษฐกิจโลกและการใช้จ่ายภาคเอกชนยังไม่สามารถฟื้นตัวเต็มที่ ซึ่งถือว่าเป็นนโยบายการคลังที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลกที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจโลกกำลังดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน |
. |
อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยมีหลักเกณฑ์ที่จะกำหนดกรอบการดำเนินนโยบายการคลัง เพื่อรักษาความยั่งยืนและเสถียรภาพด้านการคลัง โดยมีกฎหมายและระเบียบวิธีการที่เกี่ยวข้องกับการใช้จ่ายงบประมาณและการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลในแต่ละปีงบประมาณ |
. |
บทความนี้ได้มีการศึกษากรอบการดำเนินนโยบายการคลังของปีงบประมาณ 2552 และพบว่าการดำเนินนโยบายการคลังยังคงอยู่ภายใต้กรอบวินัยทางการคลังทั้งในด้าน (1) การขาดดุลงบประมาณ (2) การค้ำประกันเงินกู้ในประเทศ / ให้กู้ต่อ และ (3) การกู้เงินตราต่างประเทศเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม |
. |
ทั้งนี้ กฎหมายและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องถือเป็นเงื่อนไขกำหนดกรอบนโยบายการคลังและการรักษาวินัยทางการคลังของประเทศทั้งนี้ การรักษากรอบวินัยทางการคลังดังกล่าวจะช่วยสร้างความยั่งยืนทางการคลัง (Fiscal Sustainability) ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศไทยในอนาคตต่อไป |
. |
1. การกำหนดกรอบนโยบายการคลังภายใต้บริบทเศรษฐกิจในปัจจุบัน |
สถานการณ์เศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมานับตั้งแต่ปี 2550 ที่ชะลอตัวอย่างต่อเนื่องจากปัจจัยภายในประเทศที่เกิดขึ้นจากความไม่แน่นอนทางการเมืองและความผันผวนของราคาน้ำมัน นอกจากนี้ ในช่วงปลายปี 2551 เศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากวิกฤติเศรษฐกิจโลก ที่ได้ส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริง (Real Sector) |
. |
โดยเฉพาะภาคการส่งออกสินค้าและบริการ ในขณะที่การใช้จ่ายภายในประเทศยังไม่สามารถฟื้นตัวได้อย่างเต็มที่เนื่องจากผู้บริโภคและนักลงทุนขาดความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2552 ที่คาดว่าจะชะลอตัวต่อเนื่องจะส่งผลกระทบต่อรายได้ของประชาชน และกำไรของภาคธุรกิจ |
. |
รวมทั้งการจ้างงานที่คาดว่าจะลดลงจากการชะลอตัวของภาคการผลิต ดังนั้น รัฐบาลจึงได้ใช้นโยบายการคลัง เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและรองรับผลกระทบจากการชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจ (Keynesian Fiscal Policy) โดยรัฐบาลได้จัดทำงบประมาณแบบขาดดุลสำหรับปีงบประมาณ 2551 และ 2552 พร้อมทั้งกำหนดกรอบการขาดดุล |
. |
1.1 กรอบนโยบายการคลังของประเทศไทยในช่วงปีงบประมาณ 2551 — 2553 |
(1) นโยบายการคลังของปีงบประมาณ 2551 |
. |
ซึ่งรัฐบาลได้คาดการณ์ถึงปัจจัยลบทางเศรษฐกิจต่างๆ เหล่านี้ จึงได้มีการดำเนินนโยบายการคลังแบบขาดดุล โดยตั้งกรอบวงเงินงบประมาณแบบขาดดุลจำนวน 165.0 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ -1.8 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) |
. |
ทั้งนี้ ณ สิ้นปีงบประมาณ 2551 รัฐบาลขาดดุลงบประมาณจริงจำนวน -83.8 พันล้านบาท หรือประมาณร้อยละ -0.8 ของ GDP ทำให้รัฐบาลขาดดุลเงินสด (ก่อนกู้) จำนวน -78.7 พันล้านบาท หรือประมาณร้อยละ -0.9 ของ GDP ซึ่งการขาดดุลงบประมาณดังกล่าวถือว่าต่ำกว่าเป้าหมายการขาดดุลที่ตั้งไว้จำนวน 165.0 พันล้านบาท |
. |
โดยมีสาเหตุมาจากรัฐบาลจัดเก็บรายได้สูงกว่าประมาณการจำนวน 52.2 พันล้านบาท ในขณะที่งบประมาณสามารถเบิกจ่ายได้ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้จำนวน 28.2 พันล้านบาท ทำให้การขาดดุลงบประมาณของรัฐบาลต่ำกว่าเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ |
. |
ตารางที่ 1 : สรุปฐานะการคลังในปีงบประมาณ 2551 หน่วย : ล้านบาท |
ปีงบประมาณ 2551 |
1. รายได้นำส่งคลัง 1,549,605 |
2. รายจ่าย 1,633,404 |
3. ดุลเงินงบประมาณ -83,799 |
4. ดุลเงินนอกงบประมาณ 5,053 |
5. ดุลเงินสด -78,746 |
. |
ที่มา : กรมบัญชีกลาง รวบรวมโดยสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง |
. |
(2) นโยบายการคลังของปีงบประมาณ 2552 |
สำหรับนโยบายการคลังในปีงบประมาณ 2552 รัฐบาลได้กำหนดกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายจำนวน 1,835.0 พันล้านบาท และประมาณการรายได้สุทธิจำนวน 1,585.5 พันล้านบาท ทำให้คิดเป็นกรอบการขาดดุลงบประมาณจำนวน -249.5 พันล้านบาท หรือร้อยละ -2.5 ของ GDP ทั้งนี้ นโยบายการคลังแบบผ่อนคลายในช่วงปีงบประมาณ 2552 ถือว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่ง ภายใต้สถานการณ์วิกฤตเศรษฐกิจการเงินโลกที่ได้เริ่มส่งผลกระทบรุนแรงขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ 2552 (หรือไตรมาสที่ 4 ของปีปฏิทิน 2551) |
. |
ซึ่งเศรษฐกิจประเทศสหรัฐฯ ยุโรป ญี่ปุ่น จีน เริ่มเข้าสู่ภาวะถดถอยส่งผลให้เศรษฐกิจไทยหดตัวลง โดยในไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 เศรษฐกิจไทยหดตัวในระดับสูงที่ร้อยละ -4.3 ต่อปีโดยมีสาเหตุสำคัญจากปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการสุทธิที่หดตัวกว่าร้อยละ -8.6 ต่อปี และการใช้จ่ายภายในประเทศที่ยังคงชะลอตัวลงต่อเนื่อง |
. |
ในการนี้ รัฐบาลคาดการณ์ว่าปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงอย่างต่อเนื่องในปี 2552 จึงได้ริเริ่มมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม โดยจัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ 2552 ในวงเงิน 116.7 พันล้านบาท ซึ่งจะสามารถเริ่มเบิกจ่ายได้ในช่วงเดือนมีนาคม — กันยายน 2552 |
. |
ทั้งนี้ การจัดทำงบประมาณเพิ่มเติมจะทำให้ทั้งปีงบประมาณ 2552 รัฐบาลมีเป้าหมายขาดดุลงบประมาณรวมทั้งสิ้น -347.0 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ -3.5 ของ GDP เป้าหมายของการใช้จ่ายงบประมาณเพิ่มเติมจะให้แก่โครงการของรัฐบาลที่สามารถเบิกจ่ายและอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจได้เร็ว และรองรับผลกระทบต่อผู้มีรายได้น้อยและภาคเศรษฐกิจระดับฐานราก |
. |
(3) นโยบายการคลังของปีงบประมาณ 2553 |
สถานการณ์วิกฤติเศรษฐกิจการเงินโลกคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อเนื่องถึงเศรษฐกิจไทยในปี 2553 รัฐบาลจึงได้วางแผนที่จะดำเนินนโยบายงบประมาณแบบขาดดุลต่อเนื่อง โดยกำหนดกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายจำนวน 1.90 ล้านล้านบาทและประมาณการรายได้สุทธิจำนวน 1.51 ล้านล้านบาท ทำให้มีกรอบการขาดดุลงบประมาณจำนวน -390.0 พันล้านบาทหรือร้อยละ -3.6 ของ GDP |
. |
แม้ว่ารัฐบาลจะได้ดำเนินนโยบายการคลังแบบขาดดุลในช่วงปีงบประมาณ 2551-2553 แต่ ฐานะการคลังของประเทศถือว่ายังคงอยู่ภายใต้กรอบวินัยทางการคลัง (Fiscal Discipline) และรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจของประเทศเป็นสำคัญ ซึ่งสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ล่าสุด ณ เดือนธันวาคม 2551 อยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 38.1 และคาดว่าหากรัฐบาลมีการดำเนินนโยบายการคลังแบบขาดดุลต่อเนื่องในปีงบประมาณ 2553 จะส่งผลให้สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 46.0 |
. |
ซึ่งยังอยู่ภายใต้กรอบความยั่งยืนทางการคลังที่กำหนดให้ยอดหนี้สาธารณะคงค้างต่อ GDP ไม่เกินร้อยละ 50.0 ทั้งนี้ การดำเนินนโยบายการคลังของประเทศไทยอยู่ภายใต้กรอบกฎหมายและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นการรักษาวินัยทางการคลังและความมั่นคงของฐานะการคลังของประเทศ |
. |
2. กรอบวินัยการคลังของประเทศไทย |
ประเทศไทยมีกฎหมายและหลักเกณฑ์ เพื่อกำหนดกรอบการดำเนินนโยบายการคลัง เพื่อรักษาความยั่งยืนและเสถียรภาพด้านการคลัง โดยมีกฎหมาย และหลักเกณฑ์ที่กำหนดกฎระเบียบวิธีการดำเนินนโยบายการคลังสามารถสรุปได้ดังนี้ |
. |
2.1 พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 |
มาตรา 9 ทวิ |
. |
2.2 พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 |
มาตรา 20 |
. |
(3) การปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะ |
. |
มาตรา 21 |
. |
มาตรา 22 |
. |
มาตรา 23 |
. |
มาตรา 25 |
. |
โดยให้กระทรวงการคลังมีอำนาจกู้เงินเป็นเงินตราต่างประเทศ เพื่อให้หน่วยงานดังกล่าวกู้ต่อได้ ตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง ทั้งนี้ การกู้เงินตามวรรคหนึ่ง ให้นับรวมในวงเงินตามมาตรา 22 |
. |
มาตรา 28 |
. |
2.3 กรอบความยั่งยืนทางการคลัง |
. |
ดังนั้น กฎหมายและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องตามที่กล่าวข้างต้นถือเป็นการกำหนดกรอบนโยบายการคลังและการรักษาวินัยทางการคลังของประเทศ ซึ่งรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจมีช่องทางการกู้เงินทั้งในและต่างประเทศในแต่ละปีงบประมาณ |
. |
3. กรณีศึกษา: กรอบวินัยทางการคลังสำหรับปีงบประมาณ 2552 |
ในการดำเนินนโยบายการคลังในปีงบประมาณ 2552 รัฐบาลมีกรอบวินัยทางการคลังที่จะต้องยึดถือปฏิบัติ มีรายละเอียดสรุปได้ดังนี้ |
3.1 กรอบการขาดดุลงบประมาณ ภายใต้พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 และพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 กำหนดให้การขาดดุลงบประมาณในแต่ละปีงบประมาณจะต้องไม่เกิน (1) ร้อยละ 20 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นและงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม และ (2) ร้อยละ 80 ของงบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้สำหรับชำระคืนเงินต้นกู้ |
. |
ดังนั้น เพดาน (Ceiling) การขาดดุลงบประมาณในปีงบประมาณ 2552 จะสามารถขาดดุลงบประมาณได้สูงสุดไม่เกิน 441.3 พันล้านบาท ซึ่งจะเห็นได้ว่า รัฐบาลได้ตั้งงบประมาณขาดดุลจำนวน 347.0 พันล้านบาทสำหรับปีงบประมาณ 2552 (รวมการขาดดุลจากงบประมาณเพิ่มเติม) ซึ่งถือว่ายังต่ำกว่าเพดานการกู้เงินชดเชยขาดดุลงบประมาณจำนวน 94.2 พันล้านบาท |
. |
ตารางที่ 3 : กรอบการขาดดุลงบประมาณประจำปีงบประมาณ 2552 หน่วย: ล้านบาท |
รายการ จำนวน |
1. งบประมาณรายจ่าย (ตามเอกสารงบประมาณ) 1,835,000 |
2. งบประมาณรายจ่ายรวมงบกลางปี (งบประมาณเพิ่มเติม) 116,700 |
รวมงบประมาณรายจ่าย (1+2) 1,951,700 |
รายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ 63,676 |
. |
กรอบการขาดดุลงบประมาณตามพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 มาตรา 9 ทวิ |
1. ร้อยละ 20.0 ของวงเงิน 1,951,700 ล้านบาท 390,340 |
2. ร้อยละ 80.0 ของรายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ 63,676 ล้านบาท 50,941 |
กรอบเพดานการขาดดุลงบประมาณ (1+2) 441,281 |
เป้าหมายการขาดดุลงบประมาณปีงบประมาณ 2552 347,060 |
. |
ที่มา คำนวณโดยสศค. |
. |
3.2 การค้ำประกันเงินกู้/การให้กู้ต่อ ภายใต้พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 ให้อำนาจกระทรวงการคลังจะค้ำประกันได้ไม่เกินร้อยละ 20 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นและงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมดังนั้น รัฐบาลสามารถค้ำประกันการกู้เงินได้จำนวน 390.3 พันล้านบาท |
. |
ในปีงบประมาณ 2552 รัฐบาลได้มีการค้ำประกันเงินกู้แล้วจำนวน 286.5 พันล้านบาท สำหรับการกู้เงินใหม่ของรัฐวิสาหกิจ เพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ ทั้งในการขยายการลงทุน การกู้เงินของรัฐวิสาหกิจเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ การกู้เงินเพื่อดำเนินกิจการต่างๆ ของรัฐวิสาหกิจ เป็นต้น |
. |
ตารางที่ 4: กรอบการค้ำประกันเงินกู้ในปีงบประมาณ 2552 หน่วย: ล้านบาท |
รายการ จำนวน |
งบประมาณรายจ่าย (รวมงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม) 1,951,700 |
กรอบการค้ำประกันเงินกู้/ให้กู้ต่อตาม พรบ. การบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 มาตรา 28 |
กรอบเพดานการค้ำประกันเงินกู้/ให้กู้ต่อ (ร้อยละ 20.0 ของวงเงินงบประมาณ 1,951,700 ล้านบาท) 390,340 |
แผนการค้ำประกันเงินกู้/ให้กู้ต่อ 286,468 |
. |
ที่มา สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ / คำนวณโดยสศค. |
. |
3.3 การกู้เงินตราต่างประเทศเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและการให้กู้ต่อ ภายใต้พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะพ.ศ. 2548 กำหนดการกู้เงินตราต่างประเทศให้สามารถกู้ได้ไม่เกินร้อยละ 10 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปีทั้งนี้ การกู้เงินตราต่างประเทศมีเงื่อนไขกำหนดให้ต้อง (1) เป็นการกู้เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม |
. |
(2) ความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงิน นอกเหนือจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี (3) ต้องใช้เป็นเงินตราต่างประเทศ หรือ (4) จำเป็นต้องกู้เงินเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางการเงินของประเทศ ในการนี้ เพดาน (Ceiling) การกู้เงินตราต่างประเทศกำหนดให้เท่ากับจำนวน 183.5 พันล้านบาท ซึ่งรัฐบาลได้วางแผนการกู้เงินตราต่างประเทศจำนวน 104.1 พันล้านบาทสำหรับปีงบประมาณ 2552 |
. |
โดยเม็ดเงินกู้ส่วนใหญ่ (2.25 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 74.3 พันล้านบาท) เป็นการกู้ตรงของรัฐบาลเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐาน วงเงิน 2.0 พันล้านเหรียญสหรัฐ จาก 3 แหล่งเงินกู้ ได้แก่ ธนาคารโลก (World Bank) ธนาคารพัฒนาเอเชีย(ADB) และองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) ในขณะที่ส่วนราชการได้แก่ กรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบทมีแผนการกู้เงินต่างประเทศอีกจำนวน 250 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อการก่อสร้างเส้นทางคมนาคมของประเทศ |
. |
ตารางที่ 5 : กรอบการกู้เงินต่างประเทศในปีงบประมาณ 2552 หน่วย: ล้านบาท |
รายการ จำนวน |
งบประมาณรายจ่าย (ตามเอกสารงบประมาณ) 1,835,000 |
กรอบการกู้เงินตราต่างประเทศตาม พรบ. การบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 มาตรา 22 |
กรอบเพดานการกู้เงินตราต่างประเทศ (ร้อยละ 10.0 ของวงเงินงบประมาณ 1,835,500 ล้าน บาท) 183,500 (5,561 ล้านเหรียญสหรัฐ) |
แผนการกู้เงินตราต่างประเทศ 104,063 (3,153 ล้านเหรียญสหรัฐ) |
. |
หมายเหตุ: อัตราแลกเปลี่ยน 1 เหรียญสหรัฐ = 33 บาท ตามมติคณะรัฐมนตรีเรื่องการปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะประจำปีงบประมาณ 2552 ครั้งที่ 2 ลงวันที่ 6 มีนาคม 2552 ที่มา: สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ / คำนวณโดยสศค. |
. |
ในการนี้ กฎหมายและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องตามที่กล่าวข้างต้นถือเป็นการกำหนดกรอบนโยบายการคลังและการรักษาวินัยทางการคลังของประเทศ ซึ่งจะเห็นได้ว่าการดำเนินนโยบายการคลังแบบขาดดุลของรัฐบาลในปีงบประมาณ 2552 โดยต้องมีการกู้เงินทั้งในประเทศและต่างประเทศของภาครัฐยังคงอยู่ภายใต้ระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง |
. |
ทั้งนี้ การรักษากรอบวินัยทางการคลังดังกล่าวจะช่วยสร้างความยั่งยืนทางการคลัง (Fiscal Sustainability) ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศไทยในอนาคต |