การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน (Competency Improvements) เป็นสิ่งที่ต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วนในสถานการณ์ปัจจุบันเนื่องจากเศรษฐกิจของโลก อาทิวิกฤตแฮมเบอเกอร์ (Hamburger Crisis) ในประเทศสหรัฐอเมริกาและเศรษฐกิจในระดับชาติที่จะต้องได้รับผลกระทบต่อเนื่องมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
การวิเคราะห์การชำรุดของชิ้นส่วนเครื่องจักรเพื่อการบำรุงรักษาเชิงปรับปรุงแก้ไข |
หลักการและเหตุผล |
การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน (Competency Improvements) เป็นสิ่งที่ต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วนในสถานการณ์ปัจจุบันเนื่องจากเศรษฐกิจของโลก อาทิวิกฤตแฮมเบอเกอร์ (Hamburger Crisis) ในประเทศสหรัฐอเมริกาและเศรษฐกิจในระดับชาติที่จะต้องได้รับผลกระทบต่อเนื่องมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ปัจจัยหลักในการผลิตส่วนหนึ่งคือเครื่องจักรกลต่างๆ หากเครื่องจักรกลเหล่านั้นขาดการบำรุงรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสมจะส่งผลให้เครื่องจักรเสื่อมสภาพก่อนเวลาอันควร รวมไปถึงการชำรุดอย่างฉุกเฉินที่ไม่สามารถทราบได้ล่วงหน้าจะส่งผลให้การผลิตไม่เป็นไปตามที่กำหนดและอาจส่งผลต่อเนื่องไปถึงความไม่น่าเชื่อถือของการส่งมอบสินค้า คุณภาพของสินค้า อุบัติเหตุจากการชำรุดของเครื่องจักร ฯลฯ |
หลักสูตรนี้จึงมุ่งเน้นในการดำเนินการทำการบำรุงรักษาเชิงป้องกันอย่างถูกต้องเหมาะสมต่อเครื่องจักรกลในองค์กรอย่างมีเหตุผล ทั้งนี้ต้องเริ่มต้นจากความเชื่อที่ว่า การบำรุงรักษาเชิงปรับปรุงแก้ไข (Corrective Maintenance: CM) ที่ถูกต้องจะส่งผลให้การซ่อมเมื่อเสีย (Breakdown Maintenance: BM) และค่าซ่อมบำรุงลดลง สามารถยืดอายุขัยเครื่องจักร (Mean Time Between Failure: MTBF) และสามารถเพิ่มผลผลิต (Productivity) ให้กับองค์กร |
เนื้อหาการอบรม |
- ประโยชน์ของการบำรุงรักษาแผนใหม่ - วงจรชีวิตเครื่องจักรและการเสื่อมสภาพ - การเสียดทาน การหล่อลื่นและการสึกหรอ (ไทรโบโลยีเบื้องต้น) - การบำรุงรักษาเชิงปรับปรุงแก้ไข - การวิเคราะห์การชำรุดของชิ้นส่วนเครื่องจักรทางกายภาพ - การวิเคราะห์การชำรุดของชิ้นส่วนเครื่องจักรทางสถิติ |
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมอบรม |
- พนักงานในฝ่ายซ่อมและบำรุงรักษาเครื่องจักร (ปวช., ปวส., ปริญญาตรี) - ผู้สนใจทั่วไป (วิศวกรโรงงาน วิศวกรซ่อมบำรุง ฯลฯ) |
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 0-2657-6003-4 สายพิเศษ 081-626-7226 |
www.se-edlearning.com |
จัดโดย บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน) และ ศูนย์พัฒนาอุตสาหกรรมเชิงรุก |