TPM หรือ การบำรุงรักษาทวีผลที่ทุกคนมีส่วนร่วมนั้น เป็นการบริหารที่ถูกนำมาประยุกต์ใช้กับการบำรุงรักษาเครื่องจักรภายในโรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมประเทศญี่ปุ่น ที่ได้นำไปเป็นกลยุทธ์หลักสำคัญในการบริหารงาน จนประสบความสำเร็จอย่างมาก สิ่งที่เห็นได้ชัด
การบำรุงรักษาทวีผล (TPM) สำหรับหัวหน้างาน
|
หลักการและเหตุผล |
TPM หรือ การบำรุงรักษาทวีผลที่ทุกคนมีส่วนร่วมนั้น เป็นการบริหารที่ถูกนำมาประยุกต์ใช้กับการบำรุงรักษาเครื่องจักรภายในโรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมประเทศญี่ปุ่น ที่ได้นำไปเป็นกลยุทธ์หลักสำคัญในการบริหารงาน จนประสบความสำเร็จอย่างมาก สิ่งที่เห็นได้ชัดคือ สามารถลดปัญหาการเกิดเหตุขัดข้องของเครื่องจักร(Breakdown Maintenance)ลงและการสร้างความมีส่วนร่วมของพนักงานทุกระดับ ส่งผลให้ระดับคุณภาพของสินค้าและต้นทุนการผลิตลดลงด้วย |
นอกจากนี้ยังทำให้เครื่องจักรอุปกรณ์ภายในโรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดอีกด้วย ความสำเร็จที่กล่าวมานี้จะต้องอาศัยหัวหน้างานที่มีความสามารถ ในการควบคุมและตรวจสอบการทำงานของเครื่องจักรอย่างใกล้ชิด ดังนั้นความรู้และประสบการณ์เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ที่หัวหน้างานจะต้องได้รับการพัฒนา เพื่อให้เกิดทักษะและความสามารถในการเป็นหัวหน้างานอย่างแท้จริง |
วัตถุประสงค์ |
1. เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ความรู้ในการบำรุงรักษาเครื่องจักรในโรงงาน 2. เพื่อพัฒนาความสามารถและเปลี่ยนทัศนคติในการทำงานของหัวหน้างาน 3. เพื่อสร้างความมีส่วนร่วมและพัฒนาวิธีการบำรุงรักษาเครื่องจักร |
เนื้อหาการอบรม |
- บทบาทของหัวหน้างานในโครงสร้างการบำรุงรักษา - ความหมายและความจำเป็นของการนำ TPM มาประยุกต์ใช้งาน - เหตุขัดข้องและวิธีป้องกันการเกิดเหตุขัดข้องของเครื่องจักร - วัตถุประสงค์และประโยชน์ของการทำ TPM - แนวทางการพัฒนา 12 ขั้นตอนของ TPM - ความสำเร็จของการนำ TPM มาประยุกต์ใช้งาน - ปัญหาและอุปสรรคของการทำกิจกรรม TPM - กรณีตัวอย่างโรงงานที่พัฒนาระบบ TPM ในประเทศญี่ปุ่น / ถาม-ตอบ |
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมอบรม หัวหน้างานฝ่ายซ่อมบำรุงและฝ่ายผลิต หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง |
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 0-2657-6003-4 สายพิเศษ 081-626-7226 www.se-ed.com |
จัดโดย บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน) และ ศูนย์พัฒนาอุตสาหกรรมเชิงรุก |