ในช่วงปีสองปีที่ผ่านมา บทบาทของผู้นำประเทศทำให้เรารู้จัก CEO, CIO, CFO แต่ในอนาคตคำที่จะได้รับคำนิยมต่อไปคงไม่พ้น CPO : Chief Procurement Officer หรือ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายจัดซื้อจัดหา
ในช่วงปีสองปีที่ผ่านมา บทบาทของผู้นำประเทศทำให้เรารู้จัก CEO, CIO, CFO แต่ในอนาคตคำที่จะได้รับคำนิยมต่อไปคงไม่พ้น CPO : Chief Procurement Officer แปลเป็นไทยก็น่าจะประมาณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายจัดซื้อจัดหา บทบาทของผู้ที่ดำรงตำแหน่งนี้เป็นอย่างไร คุณสมบัติเบื้องต้น ต้องจบอะไรมา ทำงานมีประสบการณ์กี่ปี ลองมาหาคำตอบกัน เผื่อว่าวันหนึ่งท่านอาจจะก้าวสู่ตำแหน่ง CPO ในองค์กร |
. |
. |
. |
ดูจากชื่อตำแหน่งแล้วคงไม่ใช่พนักงานธรรมดา ต้องเป็นระดับบริหารจัดการ เพราะฉะนั้น หน้าที่ของ CPO คือการบริหารทีมงานจัดซื้อจัดหา ทั้งคน และทรัพย์สินต่าง ๆ รวมถึงการเจรจากับซัพพลายเออร์ ทำสัญญาเอาต์ซอร์สบางเรื่อง ประเมินผลงานซัพพลายเออร์ บริหารโกดังสินค้า ให้คำแนะนำกับทีมงาน และพัฒนาทักษะของทีมงานได้ ประเมินผลงานพนักงาน แก้ปัญหาใหญ่ ๆ เกี่ยวกับการจัดซื้อและสัญญาต่าง ๆ รวมถึงทำหน้าที่วางแผนงานจัดซื้อจัดหาและทำสัญญาประจำปีให้กับบริษัท |
. |
คุณสมบัติสำคัญของตำแหน่ง CPO ในด้านการศึกษาควรจบทางด้านบริหารธุรกิจปริญญาตรีหรือโทก็ได้ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง แต่ไม่สำคัญเท่ากับประสบการณ์ และความสามารถที่ต้องมี ทั้งในเรื่องการวางแผน จัดองค์กร ความรู้ในสายงานที่ทำ คอมพิวเตอร์ การบริหารงบประมาณ การควบคุมรายจ่าย ความสามารถในการอบรมทีมงาน มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ความสามารถในการแก้ไขปัญหา ส่วนใหญ่ประสบการณ์ต้องประมาณ 5 ปีขึ้นไป ในด้านงานจัดซื้อ |
. |
. |
บทบาทใหม่ของ CPO ในยุคการแข่งขันสูง A.T.Kearney ได้สำรวจผู้บริหารระดับสูงเกี่ยวกับบทบาทของ CPO พบว่า CPO จะต้องรับหน้าที่บริหารจัดการด้านจัดซื้อจัดหา โดยมองถึง 8 มิติ (ดูภาพประกอบ) ตั้งแต่ส่วนของ กลุ่มโครงสร้างพื้นฐานงานสนับสนุน (Supporting Infrastructure) ซึ่งแยกเป็น บริหารงานบุคคลที่อยู่ในทีม (Human Resources Management), บริหารจัดการประสิทธิภาพ (Performance Management), บริหารจัดการความรู้และข้อมูล (Knowledge/Information Management) |
. |
จากนั้นต้องมาบริหาร Value Delivery Processes ซึ่งได้แก่ Sourcing, Supplier Relationship Management, Operating Process Management สุดท้ายเป็นส่วนการกำหนดทิศทางงานจัดซื้อด้วยการจัดองค์กร Organizational Alignment และกำหนดกลยุทธ์จัดซื้อจัดหาหรือ Procurement Strategy โดยคุณค่าของการจัดหาแยกดูออกเป็นสามส่วน ได้แก่ ต้นทุนที่ดีกว่า (Cost Leadership), นวัตกรรมล่าสุด (Innovation), การตลาด(Marketing) |
. |
ความสามารถอื่นๆ ที่ CPO ต้องมี เพื่อทำงานประจำวัน ได้แก่ ความสามารถด้านภาษา ในระดับกลยุทธ์ต้องรู้มากกว่าสองภาษา เข้าร่วมกับกลุ่มผู้ร่วมลงทุน(VC) นอกจากนี้การได้ใบรับรอง CPM (Certificated Purchasing Manager) ,มีความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมองค์กร สามารถเข้าร่วมกับสมาคมที่ทำงานด้าน HR ได้ และอื่น ๆ อีกหลายเรื่อง |