ท่ามกลางเศรษฐกิจที่ถดถอย การบริหารจัดการการพัฒนาและการใช้ไฟฟ้าในประเทศกำลังถูกตั้งคำถามอย่างกว้างขวางอีกครั้งจากกลุ่มตัวแทนผู้บริโภคและผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานในภาคประชาสังคม หนึ่งในประเด็นสำคัญที่กำลังเป็นที่ถกเถียงกัน ณ เวลานี้ก็คือ ถึงเวลาแล้วหรือไม่ที่ประเทศไทยควรดำเนินการอย่างจริงจังเพื่อปรับเปลี่ยนทิศทางในการพัฒนาและการใช้พลังงานไฟฟ้าโดยใช้วิกฤตทางเศรษฐกิจที่กำลังเกิดขึ้นให้เป็นโอกาสของประเทศที่จะเดินไปในแนวทางการพัฒนาและการใช้พลังงานไฟฟ้าที่ยั่งยืน
ท่ามกลางเศรษฐกิจที่ถดถอย การบริหารจัดการการพัฒนาและการใช้ไฟฟ้าในประเทศกำลังถูกตั้งคำถามอย่างกว้างขวางอีกครั้งจากกลุ่มตัวแทนผู้บริโภคและผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานในภาคประชาสังคม นึ่งในประเด็นสำคัญที่กำลังเป็นที่ถกเถียงกัน ณ เวลานี้ก็คือ ถึงเวลาแล้วหรือไม่ที่ประเทศไทยควรดำเนินการอย่างจริงจังเพื่อปรับเปลี่ยนทิศทางในการพัฒนาและการใช้พลังงานไฟฟ้าโดยใช้วิกฤตทางเศรษฐกิจที่กำลังเกิดขึ้นให้เป็นโอกาสของประเทศที่จะเดินไปในแนวทางการพัฒนาและการใช้พลังงานไฟฟ้าที่ยั่งยืน |
เป็นเวลาช้านานที่หลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์แนวทางการพัฒนาและการใช้ไฟฟ้าของประเทศที่มุ่งเน้นการจัดหาไฟฟ้าเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้เป็นหลัก ซึ่งแนวทางดังกล่าวได้ละเลยปัจจัยที่สำคัญที่จะนำไปสู่ความยั่งยืนในการบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้าของประเทศ นั่นคือ การบริหารจัดการความต้องการไฟฟ้าในกลุ่มของผู้บริโภคเอง |
วิฑูรย์ เพิ่มพงศาเจริญ อดีตสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้ซึ่งได้ติดตามตรวจสอบนโยบายด้านพลังงานของประเทศ ได้แลกเปลี่ยนประเด็นในงานเสวนา จากอเมริกาสู่ไทย บทเรียนด้านการจัดการพลังงาน ซึ่งจัดขึ้นโดยคณะเศรษฐศาสตร์ มธ. เมื่อเร็วๆนี้ โดยกล่าวว่า ในห้วงเวลาที่เศรษฐกิจของโลกและของไทยกำลังเข้าสู่ช่วงถดถอยซึ่งจะนำมาสู่ความต้องการใช้ไฟฟ้าที่ลดลงของคนในประเทศนั้น ไทยกลับยังคงมีกำลังผลิตไฟฟ้าสำรองที่มากถึง 40 % |
กำลังผลิตดังกล่าวมักหมายถึงการกระตุ้นการใช้ไฟฟ้าโดยไม่จำเป็นในกลุ่มผู้บริโภค และนอกจากนั้นมันยังหมายถึงการลดโอกาสให้ทางเลือกที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริหารจัดการความต้องการไฟฟ้าของคนในประเทศที่รวมถึงการประหยัดพลังงานได้รับการบริหารจัดการอย่างจริงจัง หรือแม้กระทั่งถูกละเลยไปในที่สุด |
นายวิฑูรย์ได้เรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องใช้วิกฤตทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นปรับเปลี่ยน แนวทางการพัฒนาและการใช้ไฟฟ้าของประเทศ โดยหันมาให้ความสนใจกับการบริหารจัดการความต้องการการใช้ไฟฟ้า โดยรัฐควรเปิดโอกาสให้กลุ่มต่างๆที่เกี่ยวข้องร่วมในการบริหารจัดการเนื่องจากหน่วยงานรัฐ ซึ่งได้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยมีข้อจำกัดในการดำเนินการ |
ในห้วงเวลาที่ผ่านมา กฟผ. มักถูกตั้งคำถามถึงบทบาทหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายในการบริหารจัดการไฟฟ้าในประเทศ โดยภาคประชาสังคมมักตั้งคำถามต่อบทบาทของ กฟผ. ที่มักทำตัวเป็นผู้จัดหาไฟฟ้ามาสนองความต้องการการใช้ภายในประเทศ |
จากข้อมูลของสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคที่มีสมาชิกกว่า 27 องค์กรทั่วประเทศ พบว่า แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าปี 2550 อันเป็นแผนงานหลักที่ กฟผ. ใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานนั้น ประเทศไทยเตรียมที่จะเพิ่มกำลังผลิตไฟฟ้าขึ้นไปถึง 115 % จากกำลังผลิตในปี 2549 ที่อยู่ที่ประมาณ 27 000 เมกกะวัตต์ เป็นกำลังผลิต ประมาณ 58 000 เมกกะวัตต์ ในปี 2564 และการคาดการณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าในเวลาอีก 15 ปีข้างหน้าจะเพิ่มขึ้นถึง 132 % บนฐานความเติบโตทางเศรษฐกิจที่หลายฝ่ายกังขาว่าสูงกว่าความเป็นจริง |
แม้จะมีการปรับเปลี่ยนแผนในปีที่ผ่านมา โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ยังเป็นข้อถกเถียงกันในวงกว้างถึงความปลอดภัยและความคุ้มค่ายังถูกบรรจุให้เป็นทางเลือกในการพัฒนาซึ่งะมีกำลังการผลิตถึง 4000 เมกกะวัตต์ |
นายวิฑูรย์กล่าวว่า การหันมาให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการด้านความต้องการใช้ไฟฟ้ากำลังได้รับการตอบรับอย่างกว้างขวางในสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากประธานาธิบดีคนใหม่ บารัค โอบาม่าซึ่งได้มองเห็นความสำคัญในแนวทางดังกล่าวและจะปรับใช้มันในการสร้างงานในห้วงเวลาที่เศรษฐกิจของสหรัฐเองกำลังถดถอยเช่นกัน |
จากการดูงานของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานในภาคประชาสังคม รวมทั้งชื่นชม สง่าศรี กรีเซนจากองค์กรพลังไทซึ่งติดตามนโยบายการพัฒนาพลังงานของประเทศ การบริหารจัดการความต้องการการใช้ไฟฟ้าทางแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือของสหรัฐนั้น โดยมุ่งเน้นการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ |
พบว่า ในช่วงเวลาตั้งแต่ ปี 1978 ถึง ปี 2007 พื้นที่ดังกล่าวสามารถประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้ถึง 30000 กิกกะวัตต์ ต่อชั่วโมง ต่อปี ซึ่งนั่นหมายถึงความต้องการใช้ไฟฟ้าที่ลดลงกล่าครึ่งหนึ่งของความต้องการที่คาดการณ์ไว้เดิม และนั่นหมายถึงการลดค่าใช้จ่ายในการลงทุนพัฒนาแหล่งพลังงานไฟฟ้าที่มีมูลค่าถึง 1.6 พันล้าน ดอลล่าห์สหรัฐ |
"การลงทุน หรือต้นทุนในการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนอาจเป็นที่ถกเถียงว่ามันจะช่วยให้เกิดผลหรือไม่ แต่ที่ไม่ต้องถกเถียงกันอีกแล้ว ก็คือการประหยัดพลังงาน เพราะมันเห็นผลแล้วว่าเป็นสิ่งที่น่าลงทุนดำเนินการกว่าเรื่องอื่นๆ คำถามก็คือ เราจะทำอย่างไรเพื่อที่จะปลดล๊อกอุปสรรคในบ้านเราเพื่อให้แนวทางดังกล่าวเกิดเป็นจริงขึ้นมา" นางชื่นชมกล่าว |
รองผู้ว่า กฟผ วิรัช กาญจนพิบูลย์ กล่าวในเวทีเสวนาว่า ในช่วงที่เศรษฐกิจของประเทศถดถอย การใช้ไฟฟ้าก็น้อยลงตามลำดับ อย่างไรก็ตามกำลังผลิตที่เหลือในระบบเป็นเพราะการพัฒนาแหล่งผลิตไฟฟ้าที่เกิดขึ้นในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา ทางกฟผ ได้พยายามใช้วิกฤตเศรษฐกิจนี้ปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารจัดการไฟฟ้าในประเทศโดยพยายามปรับปรุงประสิทธิภาพของโรงไฟฟ้าหลายโรงที่ไม่ดำเนินการเพื่อชะลอการผลิต ซึ่งการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวจะช่วยทำให้ประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าของประเทศเพิ่มขึ้นในที่สุด |
ในขณะเดียวกัน กฟผ ก็ได้พยายามดำเนินการเรื่องการบริหารจัดการความต้องการใช้ไฟฟ้า โดนรณรงค์เรื่องการประหยัดไฟในกลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้า โดยมีแคมเปญเรื่องหลอดประหยัดไฟเบอร์ 5 เป็นแนวทางหลักในการดำเนินการ จากการดำเนินการตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา กฟผ สามารถลดความต้องการไฟฟ้า โดยไม่ต้องผลิตไฟมาป้อนถึง 9000 ล้านหน่วย |
นายวิรัชกล่าวว่า การจัดการพลังงานไฟฟ้าในประเทศกำลังมาถึงทางตัน โดยได้กล่าวเพิ่มเติมว่าการใช้พลังงานไฟฟ้ายังคงเพิ่มขึ้น ในขณะที่พลังงานไฟฟ้าอาจหมดไปในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าหากไม่มีการจัดหาพลังงานใหม่มาเพิ่ม เขากล่าวว่าพลังงานหมุนเวียนอาจเป็นทางเลือกหนึ่งแต่เมื่อพิจารณาต้นทุนในการพัฒนาพลังงานดังกล่าว พบว่ายังเป็นต้นทุนที่ค่อนข้างสูง |
นายวิรัชกล่าวว่าในขณะที่ทางเลือกในการพัฒนาแหล่งพลังงานใหม่ค่อนข้างตีบตัน นิวเคลียร์จึงเป็นทางเลือกใหม่ในสังคมไทย ซึ่งหากจะนำมาใช้จริงจำเป็นที่จะต้องมีการวางแผน และทำความเข้าใจในสังคม |
"เราวางแผนเตรียมการไว้ 10-12 ปี เราจ้างที่ปรึกษาฯ มาศึกษาเพราะยังสรุปไม่ได้ว่าจะสร้างดีหรือไม่ ผลออกมาอาจว่าเหมาะ หรือไม่เหมาะก็ได้ จนกว่าจะถึงปี 2553 แล้วเราจะได้มาตัดสินใจกัน" |
"ในขณะที่เราเป็นผผู้หาไฟฟ้า เราก็จำเป็นต้องหาไม่ว่าด้วยวิธีใดก็ตามด้วยความรับผิดชอบและหน้าที่ จะชอบหรือไม่ก็จำเป็นต้องทำ เราก็หวังว่า ในช่วง 12-13 ปีข้างหน้า ถ้ามีพลังงานตัวใหม่ที่มีผลกระทบน้อยกว่า นิวเคลียร์คงไม่เกิดแน่...ขอให้เชื่อมั่นว่าถ้ามันมีทางเลือกอื่นที่ดีกว่า ผมคงไม่ไปแน่" นายวิรัชกล่าว |
ไมเคิล คาร์พ ประธานสถาบันโลกเพื่อความยั่งยืนของมนุษยชาติ กล่าวว่าพื้นที่ทางแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือของสหรัฐได้บทเรียนราคาแพงมาแล้วจากการพัฒนาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โดยกล่าวย้ำว่าหากภูมิภาคดังกล่าวเลือกที่จะลงทุนพัฒนาการประหยัดไฟฟ้ามาตั้งแต่ต้น การพัฒนาในแถบนี้คงลำหน้ากล่าวพื้นที่แถบอื่นๆมากกว่าที่เป็นอยู่ |
การพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์ได้ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าในหมูประชาชนในแถบดังกล่าวสูงขึ้นถึงประมาณ 500 % ในช่วงระยะเวลา 5 ปีที่มีการพัฒนาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในพื้นที่ตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษที่ 1970 และนั่นยังหมายถึงงบประมาณการลงทุนที่บานปลายของรัฐบาลสหรัฐซึ่งมีมูลค่าถึง 7000 ล้านดอลล่าห์จากโครงการ วุปซ์ (washington public power supply system) เพื่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ใหม่ 5 โรง ที่มี |
สายรุ้ง ทองปลอน ผู้จัดการสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคกล่าวว่า ที่ผ่านมาการประหยัดพลังงานได้รับการกล่าวถึงในสังคม แต่แนวทางดังกล่าวควรมีการกำหนดเป้าหมายไว้ในระดับประเทศ และรัฐบาลควรกำหลดเป็นนโยบายเพื่อช่วยผลักดันทุกฝ่ายให้ทำงานร่วมกัน นอกเหนือไปจากการดำเนินงานของ กฟผ |
"การบริหารจัดการความต้องการใช้ไฟฟ้ามันมีอะไรมากไปกว่ามารณรงค์กันเรื่องหลอดไฟผอม เรื่องประหยัดพลังงานน่าจะเป็นทางเลือกของสังคมเพราะเราต่างมาถึงทางตันกันทั้งสองฝ่าย เราไม่ค่อยเน้นเรื่องการประหยัดพลังงาน แต่มักหันไปแสวงหาแหล่งพลังงานใหม่ๆ เช่นไฟฟ้าจากต่างประเทศ การประหยัดพลังงานจำเป็นต้องสร้างเป็นเจตจำนงแห่งรัฐร่วมกัน เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนวิสัยทัศน์และการจัดวางบทบาทหน้าที่ในเรื่องการจัดการไฟฟ้ากันใหม่"นางสาวสายรุ้งกล่าว |
ที่มา : www.thaiclimate.org |