นิด้า ร่วมมือกับสถาบันวิจัยนครหลวงไทย หาแนวทางผลักดันเศรษฐกิจไทยขยายตัวสู้วิกฤติโลก แนะรัฐบาลนำทุนสำรองระหว่างประเทศมาใช้ประโยชน์ จัดตั้งกองทุนความมั่งคงแห่งชาติ พร้อมระดมทุนเพิ่มหวังอัดเงินลงทุนรอบใหม่ 5 แสนล้าน
. |
NIDA Business School ผนึกความร่วมมือกับสถาบันวิจัยนครหลวงไทย (SCRI) หาแนวทางหวังผลักดันเศรษฐกิจไทยขยายตัวสู้วิกฤติโลก แนะรัฐบาลนำทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศที่สะสมไว้มาใช้ประโยชน์ ด้วยการจัดตั้งกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติขนาด 1.3 หมื่นล้านเหรียญ พร้อมระดมทุนเพิ่มเติมจากการกู้ยืมต่างประเทศ |
. |
การเร่งรัดจัดเก็บภาษีฟุ่มเฟือย การออกพันธบัตรรัฐบาล หวังอัดฉีดเงินลงทุนรอบใหม่ 5 แสนล้าน ผ่าน 4 โครงการหลัก ทั้งเมกะโปรเจ็คท์ เน้นวางระบบขนส่งมวลชนและโลจิสติกส์ พร้อมเร่งโครงการส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมยานยนต์ อาหาร และท่องเที่ยว |
. |
เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2552 NIDA Business School ร่วมกับสถาบันวิจัยนครหลวงไทย (SCRI) จัดเสวนาพิเศษ Crisis Watch Series 6 ภายใต้หัวข้อ “ชี้ทางออกเศรษฐกิจ...ธุรกิจไทยทำอย่างไรไม่ให้ติดลบ” โดย รศ.ดร.เอกชัย นิตยาเกษตรวัฒน์ คณบดี NIDA Business School เปิดเผยว่า หลังจากที่รัฐบาลได้ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2552 ด้วยวงเงิน 1.5 แสนล้านบาท |
. |
โดยเป้าหมายหลักอยู่ที่การช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย ซึ่งจะช่วยพยุงการบริโภคภายในประเทศเพื่อชดเชยการลดลงของอุปสงค์จากต่างประเทศ รวมถึงการใช้จ่ายลงทุนในโครงการต่างๆ ผ่านรัฐบาลกลางและกองทุนที่จัดสรรสู่ส่วนท้องถิ่น |
. |
ดังนั้น เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในครั้งที่ 2 รัฐบาลควรอัดฉีดเงินลงทุนครั้งใหม่ประมาณ 5 แสนล้านบาท เพื่อใช้จ่ายในโครงการหลักๆ อย่างน้อย 4 โครงการ ได้แก่ 1.การลงทุนในโครงการเมกะโปรเจ็คท์ เช่น ระบบขนส่งและระบบโลจิสติกส์ โดยจัดสรรเม็ดเงินจำนวน 3.57 แสนล้านบาทในโครงการดังกล่าว พร้อมกับจัดสรรเงินจำนวน 8.7 หมื่นล้านบาทในโครงการด้านพลังงานและโครงการสาธารณูปโภคพื้นฐานที่ช่วยเกื้อหนุนอุตสาหกรรมเป้าหมาย 2.รัฐบาลควรส่งเสริมการลงทุนและพัฒนาในอุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งจะใช้เงินทุนในส่วนนี้ 2.5 หมื่นล้านบาท |
. |
3.การส่งเสริมการลงทุนและการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหาร 1.6 หมื่นล้านบาท และ 4. ส่งเสริมการลงทุนและพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ ด้วยเงินลงทุน 1.5 หมื่นล้านบาท แม้ว่ารัฐบาลจะมีแผนกู้เงินต่างประเทศในวงเงิน 1.4 ล้านล้านบาท แต่แหล่งเงินกู้ต่างประเทศนั้นอาจจะมีความไม่แน่นอน หรือความไม่เพียงพอของเงินทุนที่จะตอบสนองวัตถุประสงค์ของรัฐบาล ดังนั้นถ้ามีแหล่งเงินทุนที่แน่นอนกว่าย่อมจะสร้างความเชื่อมั่นแก่ภาคเอกชน |
. |
สำหรับแหล่งเงินทุนที่แน่นอนสำหรับใช้ในโครงการดังกล่าว NIDA Business School และสถาบันวิจัยนครหลวงไทย เห็นว่า รัฐบาลควรจัดตั้งกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ (Sovereign Wealth Fund) มูลค่า 1.3 หมื่นล้านเหรียญหรือประมาณ 4.68 แสนล้านบาท โดยนำทุนสำรองเงินตราต่างประเทศที่เก็บสะสมไว้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ พร้อมกับระดมเงินทุนจากแหล่งอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการกู้ยืมจากต่างประเทศเพื่อใช้ในการพัฒนา |
. |
เช่น ธนาคารโลกหรือธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ตลอดจนการเร่งรัดจัดเก็บภาษีประเภทอื่นๆ เพิ่มเติม ได้แก่ ภาษีน้ำมัน ภาษีสินค้าฟุ่มเฟือย และภาษีบาป (Sin Tax) เป็นต้น รวมทั้งการกู้ยืมจากภาคเอกชนและจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ด้วยการออกพันธบัตรรัฐบาล |
. |
"เราคิดว่า รัฐบาลควรนำเงินทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศที่เก็บสะสมไว้มาใช้ประโยชน์ ผ่านโครงการหลักๆ ที่เป็นเป้าหมาย เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับเศรษฐกิจไทย อย่างไรก็ตาม ข้อสังเกตที่ควรพิจารณาสำหรับแนวทางนี้ ก็คือ ใครควรเป็นผู้บริหารจัดการ และจะบริหารจัดการในรูปแบบใด ขณะเดียวกัน ยังต้องระมัดระวังความเสี่ยงจากการชำระคืนเงินตราต่างประเทศ หากเกิดวิกฤติการเงินเช่นในปี 2540" รศ.ดร.เอกชัยกล่าว |
. |
นายสุกิจ อุดมศิริกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการอาวุโส สถาบันวิจัยนครหลวงไทย (SCRI) กล่าวว่า SCRI ได้จัดทำโครงการประเมินความเสี่ยงภายใต้ชื่อ “SCRI Rating” โดยโครงการระยะแรกซึ่งได้ดำเนินการแล้วเสร็จ คือ การประเมินความเสี่ยงของการลงทุนในบริษัทจดทะเบียนทั้ง 2 ด้าน คือ 1.ด้านบรรษัทภิบาล (Corporate Governance) ซึ่งเป็นการประเมินในเชิงคุณภาพ และ 2.สถานภาพทางการเงินของบริษัทจดทะเบียน โดยเป็นการประเมินในเชิงปริมาณผ่านแบบจำลองและอัตราส่วนทางการเงินต่างๆ |
. |
"เพื่อให้สถาบันการเงินและนักลงทุนรับทราบถึงระดับความเสี่ยงในด้านต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นกับบริษัทจดทะเบียนที่นักลงทุนวางแผนจะลงทุน ซึ่งจะแตกต่างจากบทวิเคราะห์หลักทรัพย์โดยทั่วไปที่จะมุ่งเน้นเพียงมุมมองด้านผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน ในขณะที่ SCRI Rating จะมีลักษณะเป็นคะแนนเพื่อให้ง่ายต่อการเปรียบเทียบ" ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการอาวุโส SCRI กล่าว |
. |
ทั้งนี้ ในโครงการระยะต่อไป คือการประเมินความเสี่ยงในกรอบของโครงสร้างอุตสาหกรรม (SCRI Industry Risk Index) ว่ามีความเสี่ยงในระดับใด โดยความเสี่ยงในโครงสร้างอุตสาหกรรมนั้นจะทำการประเมินในลักษณะ “ดัชนีความเสี่ยง (Risk Index)” |
. |
โดยมุ่งเน้นเพื่อให้ง่ายต่อการติดตามและวิเคราะห์ความเสี่ยงของอุตสาหกรรม และคำนึงถึงความต้องการของผู้ใช้ประโยชน์ได้แก่สถาบันการเงิน นักลงทุนและที่สำคัญ คือ ผู้ประกอบการธุรกิจจะได้รับทราบสถานะความเสี่ยงของธุรกิจทั้งในปัจจุบันและอนาคต รวมทั้งเป็นส่วนสำคัญในการเพิ่มศักยภาพการบริหารความเสี่ยงของธุรกิจ |
. |
นายสุกิจ กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันเศรษฐกิจไทยนั้นกำลังเผชิญกับความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจต่างประเทศทั้งด้านการค้าระหว่างประเทศที่หดตัวลงอย่างรุนแรงและการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศที่มีลักษณะผันผวนมากขึ้นรวมทั้งแนวโน้มใหม่คือการกีดกันการค้า (Trade Protectionism) และการกีดกันทางการเงิน (Financial Protectionism) |
. |
ซึ่ง ปัจจัยทั้งหมดเหล่านี้ส่งผลให้ผู้ประกอบการธุรกิจ สถาบันการเงินและนักลงทุน จะต้องทำการประเมินความเสี่ยงธุรกิจภายใต้สภาวะความเสี่ยงอย่างเข้มข้นขึ้น จากปัจจัยภายนอกและภายในประเทศ โดยสามารถนำข้อมูลการประเมินความเสี่ยงของธุรกิจ ของ SCRI ไปปรับตัวในการดำเนินธุรกิจหรือวิเคราะห์คู่แข่งได้ |