ฮอนด้าเผยความสำเร็จขั้นที่ 2 ของการทดลองอุปกรณ์ช่วยเดิน ที่เพิ่มประสิทธภาพด้วยระบบรองรับน้ำหนักตัว เพื่อลดการถ่ายน้ำหนักลงบนขาของผู้ใช้งาน ขณะเดิน ขึ่น - ลง บันได และการย่อตัว
ฮอนด้าเผยความสำเร็จขั้นที่ 2 ของการทดลองอุปกรณ์ช่วยเดิน ที่ช่วยรองรับน้ำหนักตัว เพื่อลดการถ่ายน้ำหนักลงบนขาของผู้ใช้งาน ขณะเดิน ขึ้น – ลง บันได และการย่อตัว ฮอนด้าจะเริ่มทดสอบอุปกรณ์ในสภาพการใช้งานจริงเพื่อประเมินประสิทธิภาพในการทำงานเร็วๆ นี้ |
. |
อุปกรณ์ช่วยเดินรุ่นใหม่ที่มีระบบช่วยรองรับน้ำหนักตัวจะลดการรับน้ำหนักของกล้ามเนื้อขา และข้อต่อ สะโพก หัวเข่า และข้อเท้า โดยจะรองรับน้ำหนักตัวบางส่วนของผู้ใช้งาน อุปกรณ์ช่วยเดินรุ่นใหม่นี้มีโครงสร้างที่เรียบง่าย ประกอบด้วยที่รองนั่ง โครงอุปกรณ์ และรองเท้า สวมใส่ง่ายเพียงสวมรองเท้า และยกปรับที่รองนั่งให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม |
. |
นอกจากนี้ ยังมีกลไกที่ส่งแรงพยุงตัวไปยังตำแหน่งจุดศูนย์ถ่วงของผู้ใช้งาน และสามารถควบคุมแรงพยุงตัวให้เคลื่อนไหวไปพร้อมกันกับขา ด้วยนวัตกรรมของฮอนด้าอันโดดเด่นทั้ง 2 ประการ ทำให้อุปกรณ์ช่วยเดินรุ่นใหม่ สามารถช่วยให้ผู้ใช้งานมีท่าทางการเคลื่อนไหวได้หลากหลายอย่างเป็นธรรมชาติ |
. |
ฮอนด้าเริ่มวิจัยอุปกรณ์ช่วยเดินมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้ผู้คนสามารถเดินหรือเคลื่อนไหวได้อย่างสะดวกยิ่งขึ้น ฮอนด้าพัฒนาศาสตร์ความรู้ที่ใช้ในการพัฒนาอุปกรณ์ช่วยเดินจากการศึกษาการเดินของมนุษย์ ผ่านการวิจัยและพัฒนาหุ่นยนต์คล้ายมนุษย์อันล้ำสมัยของฮอนด้า ที่ชื่อว่า อาซิโม |
. |
การวิจัยนี้ดำเนินงานโดยศูนย์วิจัยเทคโนโลยีขั้นพื้นฐาน (Fundamental Technology Research Center) ของ บริษัท ฮอนด้า อาร์ แอนด์ ดี จำกัด ในเมืองวาโกะ จังหวัดไซตามะ ประเทศญี่ปุ่น ฮอนด้าจะเริ่มทดสอบอุปกรณ์ช่วยเดินที่โรงงานใน จังหวัดไซตามะ (เมืองซายามะ จังหวัดไซตามะ) ในเดือนพฤศจิกายนนี้ เพื่อประเมินประสิทธิภาพของอุปกรณ์ทดลองช่วยเดินที่มีระบบรองรับน้ำหนักตัว |