กระทรวงพลังงานเดินหน้าส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน และปรับอัตราส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทน 15 ปี ที่กำหนดให้ประเทศไทยใช้พลังงานทดแทนร้อยละ 20 ของการใช้พลังงานทั้งหมดภายในปี 2565
ภายหลังการประชุม “คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.)” เมื่อวันที่ 9 มี.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งได้มีการพิจารณาวาระสำคัญหลายวาระ อาทิ การปรับแผน PDP 2007 การบริหารจัดการกองทุนพัฒนาพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าตาม พรบ.การประกอบกิจการพลังงาน 2550 และการปรับแนวทางส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน |
. |
โดยหนึ่งในวาระการประชุมที่ได้รับความสนใจจากหลายฝ่ายก็คือ การปรับแนวทางส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน และการปรับอัตราส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน เพื่อให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาพลังงานทดแทน 15 ปี ของกระทรวงพลังงาน ที่กำหนดให้ประเทศไทยมีการใช้พลังงานทดแทนร้อยละ 20 ของการใช้พลังงานทั้งหมดภายในปี 2565 |
. |
ข้อมูลจาก สำนักนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ระบุว่า ในการปรับระเบียบรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนครั้งนี้ ได้ยกเลิกกำหนดเป้าหมายปริมาณไฟฟ้าที่รับซื้อจาก SPP และยกเลิกการกำหนดระยะเวลารับซื้อไฟฟ้าจาก VSPP โดยกำหนดเป้าหมายใหม่สำหรับการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนตามระเบียบ SPP และ VSPP |
. |
โดยให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) สามารถรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนได้ไม่จำกัดปริมาณ และระยะเวลา แต่ปริมาณไฟฟ้าที่รับซื้อดังกล่าวต้องสอดคล้อง และเป็นไปตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทน 15 ปี |
. |
ที่ผ่านมา การให้ส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้าสำหรับ SPP ได้กำหนดปริมาณไฟฟ้าที่รับซื้อ แต่ไม่ได้กำหนดระยะเวลายื่นข้อเสนอ ขณะที่การให้ส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้าจาก VSPP มีการกำหนดระยะเวลายื่นข้อเสนอขายไฟฟ้า แต่ไม่จำกัดปริมาณไฟฟ้าที่รับซื้อ |
. |
ส่งผลให้มีผู้ยื่นเสนอขายไฟฟ้าตามระเบียบ SPP เกินกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้มาก อีกทั้งยังมีการเร่งยื่นข้อเสนอขายไฟฟ้าตามระเบียบ VSPP เพื่อให้ระยะเวลาที่กำหนด ส่งผลให้เกิดปัญหา และขาดความพร้อมในการดำเนินงาน |
. |
นอกจากการปรับระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนแล้ว ยังได้มีการปรับอัตราส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนสำหรับเชื้อเพลิงบางประเภท ซึ่งข้อมูลจาก สนพ. เกี่ยวกับการปรับอัตราส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ได้ระบุรายละเอียดไว้ดังนี้ |
. |
1. ชีวมวล และก๊าซชีวภาพที่มีกำลังการผลิตติดตั้งไม่เกิน 1 เมกะวัตต์ จะปรับขึ้น 0.20 บาทต่อหน่วย 2. ขยะชุมชน หรือขยะอุตสาหกรรมที่ไม่ใช่ขยะอันตราย และไม่เป็นขยะที่เป็นอินทรียวัตถุที่ใช้เทคโนโลยีพลังงานความร้อนผลิตไฟฟ้า ปรับขึ้น 1.00 บาทต่อหน่วย 3. พลังงานลมที่มีกำลังการผลิตติดตั้งไม่เกิน 50 กิโลวัตต์ ปรับขึ้น 1 บาทต่อหน่วย |
. . |
4. พลังน้ำขนาดเล็กที่มีกำลังการผลิตติดตั้งตั้งแต่ 50 กิโลวัตต์ขึ้นไป แต่ไม่เกิน 200 กิโลวัตต์ ปรับขึ้น 0.40 บาทต่อหน่วย ส่วนพลังน้ำขนาดเล็กที่มีกำลังการผลิตติดตั้งน้อยกว่า 50 กิโลวัตต์ ปรับขึ้น 0.70 บาทต่อหน่วย 5. สำหรับพลังงานแสงอาทิตย์ ไม่มีการปรับส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า โดยยังคงให้ในอัตราเดิม คือ 8.00 บาทต่อหน่วย |
.. |
นอกจากนั้นยังมีการให้ส่วนเพิ่มพิเศษอีก 1 บาทต่อหน่วย สำหรับผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ในพื้นที่มีการผลิตไฟฟ้าจากน้ำมันดีเซลของ กฟภ. ยกเว้นพลังงานลมที่ให้เพิ่ม 1.50 บาทต่อหน่วย ทั้งนี้ การให้อัตราส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้าดังกล่าว จะมีกำหนดระยะเวลา 7 ปี นับจากวันที่จ่ายไฟฟ้าเข้าระบบตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า ยกเว้นพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ ที่มีกำหนดระยะเวลาสนับสนุน 10 ปี นับจากวันที่จ่ายไฟฟ้าเข้าระบบ |