บสย.จะค้ำประกันสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs) ผ่านธนาคารพาณิชย์ภายใต้โครงการค้ำประกันสินเชื่อแบบ Portfolio Guarantee Scheme วงเงินรวม 3 หมื่นล้านบาท
นายนริศ ชัยสูตร ประธานกรรมการ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม(บสย.) เปิดเผยว่า บสย.จะค้ำประกันสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs) ผ่านธนาคารพาณิชย์ภายใต้โครงการค้ำประกันสินเชื่อแบบ Portfolio Guarantee Scheme วงเงินรวม 3 หมื่นล้านบาท โดยวันนี้ บสย.จะลงนามความร่วมมือดังกล่าวกับสถาบันการเงิน 16 แห่ง |
. |
ทั้งนี้ บสย.จะพิจารณาร่วมกับธนาคารพาณิชย์ค้ำประกันสินเชื่อเป็น Port กลุ่มใหญ่ครั้งละประมาณ 1,000-5,000 ล้านบาท ซึ่งธนาคารพาณิชย์จะพิจารณาคัดกรองลูกค้าส่งมาให้ บสย.เป็นระยะเวลา 1 ปี มีอายุการค้ำประกัน 5 ปี อัตราค่าธรรมเนียม 1.75% ต่อปีของวงเงินค้ำประกัน |
. |
ประธานกรรมการ บสย.กล่าวว่า หากธนาคารพาณิชย์ร่วมกันปล่อยสินเชื่อให้กับ SMEs ตามโครงการดังกล่าวจะทำให้มีเงินทุนหมุนเวียนในระบบเพิ่ม 9-10 เท่า หรือประมาณ 3 แสนล้านบาท ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการได้กว่า 1.5 หมื่นราย และก่อให้เกิดการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมอีกราว 3 แสนราย |
. |
บสย.ได้กำหนดเงื่อนไขสำหรับการค้ำประกันในรูปแบบดังกล่าว โดยจะค้ำประกันสินเชื่อใหม่ทุกกลุ่มธุรกิจ และมีรูปแบบการค้ำประกัน 3 รูปแบบ ประกอบด้วย 1.แบบที่มีหลักประกัน ผู้ประกอบการจะต้องมีหลักประกันไม่น้อยกว่า 30% ของสินเชื่อรวม โดยบสย.จะค้ำประกันสูงสุดต่อรายไม่เกิน 20 ล้านบาท |
. |
2.แบบไม่มีหลักประกัน ผู้ประกอบการที่ไม่มีหลักประกันหรือมีหลักประกันน้อยก่วา 30% ของสินเชื่อรวม บสย.จะค้ำประกันสูงสุดต่อรายไม่เกิน 20 ล้านบาท และ 3.ผู้ประกอบการที่เป็น NPL ไม่เกิน 12 เดือน แต่ยังมีศักยภาพในการดำเนินธุรกิจ บสย.จะคำประกันสินเชื่อสูงสุดต่อรายไม่เกิน 10 ล้านบาท |
. |
นายทวีศักดิ์ ฟุ้งเกียรติเจริญ กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บสย. กล่าวว่า ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวไม่ว่าจะเป็น โรงแรม บริษัททัวร์ และธุรกิจต่อเนื่องที่ได้รับผลกระทบจากภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจจะได้รับความช่วยเหลือเรื่องสินเชื่อในครั้งนี้ด้วย โดยจะลดอัตราค่าธรรมเนียมลงจากเดิม 1.75% ต่อปี ลงเหลือเพียง 0.25% ต่อปี ซึ่งจะช่วยลดปัญหาการปิดกิจการและความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ |
. |
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง กล่าวว่า การที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติเพิ่มทุนให้แก่ บสย.อีก 3,000 ล้านบาท ถือเป็นการเพิ่มศักยภาพแก่ บสย.ให้สามารถค้ำประกันเงินกู้ได้สูงถึง 30,000 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้ธนาคารพาณิชย์กล้าที่จะปล่อยสินเชื่อให้แก่กลุ่ม SMEs ได้ตามนโยบายของรัฐบาล โดยคาดว่าจะมีเม็ดเงินเข้าสู่ระบบได้ถึง 1 แสนล้านบาท |
. |
"ถือเป็นการต่อสายป่าน ต่ออายุ สร้างความหวังให้แก่ธุรกิจได้เดินหน้าต่อไปได้...ตอนนี้ภาคธุรกิจมีปัญหาการเข้าถึงสินเชื่อ ซึ่งเมื่อประเด็นความเสี่ยงมีมากขึ้น รัฐบาลก็ต้องร่วมรับผิดชอบเพื่อให้ระดับการปล่อยสินเชื่อเข้าสู่ภาวะปกติ โดยใช้ บสย.เป็นเครื่องมือ" รมว.คลังกล่าว |
. |
ทั้งนี้ได้รับรายงานว่าความต้องการสินเชื่อของ SMEs เข้ามาเกินวงเงิน 30,000 ล้านบาทแล้ว แต่ทั้งนี้จะขอรอดูให้ชัดเจนว่าการใช้สินเชื่อที่เกิดขึ้นจริงมีจำนวนเท่าใด ซึ่งหากเต็มวงเงินแล้วรัฐบาลก็พร้อมจะพิจารณาเพิ่มทุนแก่ บสย.เพิ่มเติม เพื่อให้สามารถเพิ่มวงเงินการปล่อยสินเชื่อได้มากขึ้น โดยอาจจะใช้แหล่งเงินจากงบประมาณในปี 53 หรือการกู้ในประเทศ |
. |
รมว.คลัง กล่าวว่า ในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันการออกมาตรการดังกล่าวในเรื่องการค้ำประกันสินเชื่อแก่ธนาคารพาณิชย์ในการปล่อยกู้ให้แก่ SMEs ถือว่ามีความเหมาะสมและเป็นวิธีที่ดีที่สุด เพราะเป็นการช่วยเหลือผู้ประกอบการได้อย่างแท้จริง อีกทั้งจะเป็นวงเงินที่คุ้มค่าเมื่อเทียบกับมาตรการในอดีตที่เป็นการผลักดันให้สถานบันการเงินของรัฐขยายวงเงินสินเชื่อที่ทำให้รัฐบาลต้องใช้เงินทุนมาก และหลายครั้งเกิดปัญหาการไม่ได้รับความเสมอภาคในการเข้าถึงวงเงินสินเชื่อ |
. |
พร้อมกันนี้เชื่อว่าการที่ บสย.เข้าไปค้ำประกันการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ในครั้งนี้จะไม่ก่อให้เกิดความเสียหายตามมาภายหลังแก่ บสย. เนื่องจากรัฐบาลจะเข้ามารับความเสี่ยงขั้นสูงสุดที่ไม่เกิน 15.5% ของวงเงินค้ำประกันสินเชื่อ |
. |
"15.5% ไม่ถือเป็นการรับภาระมากไป เพราะได้ประเมินแล้วว่าระดับนี้ เป็นระดับที่รัฐจะช่วยลดความเสี่ยงให้แก่ บสย.เพื่อกระตุ้นให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยสินเชื่อมากขึ้น ระดับ 15.5% ยังต่ำมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ในอังกฤษนั้นรัฐบาลรับความเสี่ยงถึง 50% ส่วนในอเมริการัฐเข้าไปเป็นเจ้าของเต็มตัว ซึ่งเท่ากับรับความเสี่ยง 100% ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าสถาบันการเงินไทยยังมีความเข้มแข็ง" รมว.คลัง ระบุ |