เนื้อหาวันที่ : 2009-02-04 10:14:40 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1242 views

โอฬาร มองศก.ไทยปี 52 มีแนวโน้มติดลบมากสุดในโลกจากส่งออกวูบหนัก

โอฬาร อดีตรองนายกรัฐมนตรี มองภาวะเศรษฐกิจไทยปี 52 มีแนวโน้มติดลบมากที่สุดในโลก เนื่องจากภาคการส่งออกของไทยลดลงอย่างมากจากผลกระทบวิกฤติเศรษฐกิจของโลก คาด ม.ค.52 ส่งออกจะลดลงกว่า 25% จากการทรุดตัวของธุรกิจชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และ อุตสาหกรรมยานยนต์ ท่องเที่ยวลดฮวบ

โอฬาร อดีตรองนายกรัฐมนตรี  มองภาวะเศรษฐกิจไทยปี 52 มีแนวโน้มติดลบมากที่สุดในโลก เนื่องจากภาคการส่งออกของไทยลดลงอย่างมากจากผลกระทบวิกฤติเศรษฐกิจของโลก คาด ม.ค.52 ส่งออกจะลดลงกว่า 25% จากการทรุดตัวของธุรกิจชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และ อุตสาหกรรมยานยนต์ ท่องเที่ยวลดฮวบ

.

นายโอฬาร ไชยประวัติ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ปาฐกถาพิเศษเรื่อง"ทิศทางเศรษฐกิจการเงินไทย"ว่า ภาวะเศรษฐกิจไทยปี 52 มีแนวโน้มติดลบมากที่สุดในโลก เนื่องจากภาคการส่งออกของไทยลดลงอย่างมากจากผลกระทบวิกฤติเศรษฐกิจของโลก โดยคาดว่าในเดือน ม.ค.52 ส่งออกจะลดลงกว่า 25% จากการทรุดตัวของธุรกิจชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และ อุตสาหกรรมยานยนต์ นอกจากนั้นรายได้การท่องเที่ยวก็ลดลงมากด้วยเช่นกัน

.

ฉะนั้น จึงแนะเรัฐบาลเร่งใช้มาตราการด้านการคลังเข้ากระตุ้นเศรษฐกิจ แทนการใช้มาตราการด้านการเงินหรือการใช้อัตราดอกเบี้ยเป็นเครื่องมือ เนื่องจากการที่อัตราดอกเบี้ยลดลงทั่วโลกในขณะนี้ไม่ได้ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้มากนัก

.

นายโอฬาร กล่าวว่า จากการประเมินเศรษฐกิจไทยปีนี้(2552)มีแนวโน้มอาจจะติดลบถึง 4.05% ภายใต้ที่ไม่มีมาตรการกระตุ้นที่มีผลสำเร็จ เนื่องจากประเทศไทยได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวอย่างชัดเจน อีกทั้งยังมีผลพวงจากการชุมนุมปิดสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งส่งผลให้กระทบต่อภาคการท่องเที่ยว, การส่งออกชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์ และกลุ่มยานยนต์

.
ทั้งนี้ ทำให้ยอดส่งออกตั้งแต่เดือน ต.ค.-ธ.ค.51 ลดลงอย่างมาก และมีแนวโน้มที่จะต่อเนื่องถึงยอดส่งออกในเดือน ม.ค.52 ที่คาดว่าจะออกมาติดลบ 25%
.

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สามารถจะแก้ไขเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวได้ ต้องอาศัยความร่วมมือกันในการฟื้น โดยมี 4 อย่างด้วยกันคือ 1. มาตรการคลัง แต่ละประเทศจะต้องมาร่วมกันหารือกันว่าจะทำยังไง, 2.แต่ละประเทศจะต้องใส่เม็ดเงินเข้ามาช่วยเหลือในการกระตุ้นในอัตราที่เท่า ๆ กัน ในลักษณะของการทยอยใส่เม็ดเงินเข้าระบบตลอด 24 เดือน ไม่ใช่ลงไปครั้งเดียวทั้งหมด

.

3.ควรจะใช้เงินให้ตรงกับปัญหาที่เกิดขึ้น โดยประเมินว่าอุตสาหกรรมไหนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ซึ่งประเทศไทยมี 3 ธุรกิจที่น่าจะได้รับการช่วยเหลือ ได้แก่ ธุรกิจท่องเที่ยว , กลุ่มยานยนต์ และกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิกส์ และ 4.จะต้องมีการประเมินกันว่าการช่วยเหลือนั้นควรจะช่วยใครบ้าง ผู้ประกอบการ ธนาคารพาณิชย์ หรือคนทำงาน

.

นายโอฬาร กล่าวว่า หากทุกประเทศช่วยกันฟื้นเศรษฐกิจก็คงจะเห็นการฟื้นตัวได้ใน 2 ปี(ประมาณปลายปี 2553) แต่หากต่างคนต่างทำของตัวเลขก็จะลำบาก โดยประเทศในแถบอาเซียนอาจจะใช้ตลาดอาเซียนซัมมิตเป็นเวทีในการหารือแนวทางแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจก่อนได้

.

ส่วนเรื่องที่จะนำอัตราดอกเบี้ยมาใช้ในการแก้ไขปัญหา คิดว่าคงจะใช้ไม่ได้ผลแล้ว แต่สิ่งที่อาจจะช่วยได้บ้างในตอนนี้คือ นโยบายการคลัง เพราะดอกเบี้ยตอนนี้ในแต่ละประเทศก็เป็นศูนย์ทั้งนั้น อย่างสหรัฐฯก็เป็นศูนย์มา 3 เดือนแล้ว และเวลานี้มีแค่ 2 ประเทศเท่านั้นที่มีฐานะการเงินแข็งแกร่งสามารถที่จะกู้ได้ คือ ประเทศจีน และญี่ปุ่น

.

ส่วนประเทศไทย ขณะนี้ยังไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องนำเงินทุนสำรองของประเทศมาใช้ในการฟื้นเศรษฐกิจ