เทคโนโลยีใหม่ในการถ่ายภาพความร้อนเพื่อวัดอุณหภูมิโดยไม่ต้องสัมผัส ช่วยให้คุณตรวจหาจุดหรือบริเวณที่ร้อนผิดปกติได้อย่างรวดเร็ว Fluke Ti Series เป็นเครื่องมือช่วยในการติดตามตรวจสอบชิ้นส่วนและอุปกรณ์ที่สำคัญในระบบ โดยใช้การตรวจวิเคราะห์จากการแผ่คลื่นรังสีความร้อน
เทคโนโลยีใหม่ในการถ่ายภาพความร้อนเพื่อวัดอุณหภูมิโดยไม่ต้องสัมผัส ช่วยให้คุณตรวจหาจุดหรือบริเวณที่ร้อนผิดปกติได้อย่างรวดเร็ว Fluke Ti Series เป็นเครื่องมือช่วยในการติดตามตรวจสอบชิ้นส่วนและอุปกรณ์ที่สำคัญในระบบ โดยใช้การตรวจวิเคราะห์จากการแผ่คลื่นรังสีความร้อน |
. |
. |
ปัจจุบันกล้องอินฟราเรดได้รับความนิยมอย่างสูง ไม่ว่าจะเป็นการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance) และการบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์ล่วงหน้า (Predictive Maintenance) เนื่องจากอุตสาหกรรมต่างๆ ต่างเห็นว่า การบำรุงรักษาแบบแก้ไข (Corrective Maintenance) ไม่เพียงพอต่องานบำรุงรักษาในปัจจุบัน ที่มีต้นทุนและมีการแข่งขันสูง ประกอบกับ กล้องอินฟราเรดได้รับการพัฒนาให้มีขนาดเล็กลง ง่ายต่อการใช้งาน แต่มีขีดความสามารถเพิ่มขึ้น ในขณะที่ราคากลับต่ำลงกว่าในอดีตมาก ทำให้โรงงานขนาดกลางและขนาดเล็กสามารถซื้อหามาใช้ได้ |
. |
งานบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์/เชิงป้องกัน |
การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน สามารถนิยามได้หลายอย่างหลายรูปแบบ แต่โดยรวมแล้ว เป็นการจัดการตามระยะเวลา หรืออาจอธิบายได้อีกนัยหนึ่งว่า เป็นงานที่อยู่บนพื้นฐานของเวลา หรือชั่วโมงของการปฏิบัติงาน โดยใช้ข้อมูลที่ได้จากบริษัทผู้ผลิต หรือการใช้ข้อมูลทางด้านสถิติที่จัดทำขึ้น |
. |
การบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์ล่วงหน้า เป็นโปรแกรมบำรุงรักษาในลักษณะที่ขึ้นอยู่กับสภาพ คือแทนที่จะบำรุงรักษาตามเวลา ตามคู่มือแนะนำของบริษัทผู้ผลิตเครื่องจักร ซึ่งมักจะแนะนำการดูแลรักษาตามสถิติ เช่น ค่า MTTF (Mean Time to Failure) แต่การบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์ จะใช้ข้อมูลจริงจากการทำงาน การใช้งานจริง โดยการตรวจสอบการทำงานโดยตรง เพราะเครื่องจักรแบบเดียวกัน อาจจะต้องรับภาระโหลดและทำงานสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน |
. |
การบำรุงรักษาเชิงป้องกันและเชิงคาดการณ์ ทั้ง 2 วิธีการ ล้วนตั้งอยู่บนพื้นฐานการตรวจสอบเครื่องจักรอุปกรณ์ที่เป็นจุดสำคัญ ๆ อย่างต่อเนื่องเป็นประจำ ความสำเร็จของงานขึ้นอยู่กับการออกแบบพัฒนาเส้นทางการตรวจสอบ ( |
. |
ข้อดีของการบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์/เชิงป้องกัน |
การบำรุงรักษาแบบคาดการณ์ล่วงหน้าที่ถูกต้อง รวมถึงการใช้กรรมวิธีการตรวจวัดในเชิงคาดการณ์ล่วงหน้า จะทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาลงไปได้ 30% ถึง 50% ประโยชน์ส่วนใหญ่ของการบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์/เชิงป้องกัน มีดังนี้ |
. |
1.ลดการหยุดการทำงานของเครื่องจักร แบบไม่มีการบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์/เชิงป้องกันลงได้ |
- 40% ถึง 60% ในสองปีแรก - 90% ภายในเวลา 5 ปี |
. |
2.เพิ่มประสิทธิภาพของเจ้าหน้าที่บำรุงรักษา |
ตามสถิติเจ้าหน้าที่บำรุงรักษามีเวลาทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรเพียง 2 ชั่วโมง ต่อการทำงาน 8 ชั่วโมง เพราะมีงานที่ต้องแก้ไขปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องจักร ภายในสายการผลิตอยู่เป็นประจำ ทั้ง ๆ ที่งานเหล่านี้จะลดลงทันทีหากมีการจัดทำ การบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์/เชิงป้องกัน ทำให้เวลาทำงานที่ไม่ใช่งานแก้ไขของเจ้าหน้าที่เพิ่มขึ้น 75% ถึง 85% |
. |
3.เพิ่มผลผลิต |
- 15% ถึง 40% ใน 1 ถึง 3 ปี - 75% ถึง 80% ในระยะยาว |
. |
4.ลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา |
ด้วยบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์/เชิงป้องกัน บางครั้งจะพบว่ามีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 10% ถึง15% ในช่วงแรก เนื่องจากการตรวจพบสิ่งบกพร่องต่าง ๆ แต่เมื่อข้อบกพร่องได้รับการแก้ไข ค่าใช้จ่ายจะลดลงได้ 35% ถึง 60% |
. |
5.เพิ่มอายุการใช้งานของเครื่องจักร |
ด้วยการบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์/เชิงป้องกัน ทำให้ค้นพบจุดบกพร่องเล็ก
|
. |
ทำไมต้องถ่ายภาพอุณหภูมิ |
การถ่ายภาพอุณหภูมินั้นมีประโยชน์หลายอย่าง การถ่ายภาพอุณหภูมิเป็นเทคโนโลยีที่ไร้การสัมผัส นั่นก็คือเป็นการวัดความยาวคลื่นอินฟราเรด เพื่อคำนวณอุณหภูมิ การแสดงผลภาพความร้อนนั้นจะใช้สีที่แตกต่างกัน เพื่อแสดงให้เห็นถึงอุณหภูมิที่แตกต่างกัน ภาพถ่ายความร้อนนี้จะทำให้การตรวจสอบอุณหภูมิพื้นผิวนั้นง่ายและรวดเร็ว และยังสามารถชี้จุดที่ร้อนได้อย่างแม่นยำ ซึ่งจุดร้อนหรืออุณหภูมิที่เพิ่มสูง มักจะบ่งบอกถึงความบกพร่องที่กำลังจะเกิดขึ้นในอีกไม่ช้า |
. |
พลังแห่งการวินิจฉัย |
เครื่องถ่ายภาพอุณหภูมินั้น ก็คือเครื่องมือวัดการแผ่รังสีนั่นเอง ซึ่งไม่เพียงแต่แสดงอุณหภูมิที่แตกต่างกันในแบบกราฟิกเท่านั้น แต่ยังสามารถวัดและเก็บบันทึกข้อมูลในทุก ๆ จุด โดยจุดข้อมูลทั้งหมดสามารถเรียกกลับมาใช้ สำหรับวิเคราะห์รายละเอียดของภาพถ่ายต่าง ๆ ภายหลังได้ แสดงให้เห็นว่าเครื่องถ่ายภาพความร้อนเป็นเครื่องมือวัดการแผ่รังสี ที่มีพลังสำหรับการบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์อย่างแท้จริง |
. |
เครื่องถ่ายภาพอุณหภูมิ จะทำการจับและเก็บข้อมูลอุณหภูมิที่ถูกแบ่งระดับ สำหรับต้นแบบเป็นพัน ๆ จุดข้อมูล |
. |
ข้อมูลที่อยู่หลังภาพถ่าย เครื่องถ่ายภาพอุณหภูมิ จะทำการจับและเก็บข้อมูลอุณหภูมิที่ถูกแบ่งระดับ สำหรับต้นแบบเป็นพัน ๆ จุดข้อมูล แล้วสร้างเป็นภาพอุณหภูมิ จึงเป็นไปได้ที่จะทำการวิเคราะห์รายละเอียด และเปลี่ยนพารามิเตอร์ที่สำคัญ อย่างย่านอุณหภูมิในแต่ละแถบบนภาพถ่าย หรือการเปรียบเทียบกับฐานข้อมูลบนซอฟต์แวร์ที่ใช้ |
. |
การประยุกต์ใช้กล้องอินฟราเรด |
กล้องอินฟราเรด (Thermal Imager) สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย เพราะไม่จำเป็นต้องสัมผัสกับวัตถุหรืออุปกรณ์ในขณะที่ทำการวัด ช่วยให้สามารถวัดอุณหภูมิอุปกรณ์หรือเครื่องจักร แม้ในขณะที่ทำงานอยู่ และโดยทั่วไปในงานมักจะต้องมีการควบคุมอุณหภูมิให้ไม่สูงหรือต่ำเกินไป เพื่อความปลอดภัยในการทำงาน หรือเพื่อเพิ่มอายุการใช้งานของเครื่องมือ เครื่องจักร ครอบคลุมงานสำคัญและจำเป็นอย่างครบถ้วน เช่น |
. |
- ตรวจสอบจุดเชื่อมต่อไฟฟ้า |
สาเหตุที่เครื่องถ่ายภาพความร้อน สามารถนำมาใช้ในการตรวจสอบระบบไฟฟ้า ก็เนื่องจากว่าอุปกรณ์ไฟฟ้าใหม่ ๆ จะเริ่มชำรุดทรุดโทรมทันทีหลังจากการติดตั้ง ด้วยอะไรก็แล้วแต่ที่เป็นภาระต่อวงจร รวมทั้งการสั่นสะเทือน อายุการใช้งานที่ยาวนาน ล้วนเป็นเหตุให้เกิดการคลายตัวของต่อจุดเชื่อมต่อไฟฟ้าได้ทั้งสิ้น ในขณะที่สภาวะแวดล้อมอาจเป็นตัวเร่งให้เกิดการผุกร่อน หรืออธิบายสั้น ๆ ได้ว่า จุดเชื่อมต่อทางไฟฟ้าทั้งหมด จะเสื่อมสภาพไปเรื่อย ๆ ถ้าหากหาไม่พบและไม่มีการตรวจซ่อมจุดเชื่อมต่อเหล่านี้ ซึ่งจะนำไปสู่ความบกพร่องในระบบไฟฟ้า |
. |
แสดงให้เห็นถึงอุณหภูมิที่จุดเชื่อมต่อทั้งเฟส A และ B บนสายเมนในระบบไฟฟ้าที่ขาดออกจากกัน และเกิดความร้อนขึ้น ซึ่งมีแนวโน้มว่าโหลดอาจจะไม่สมดุล |
. |
ความบกพร่องที่เกิดขึ้นบนจุดเชื่อมต่อ จะทำให้เกิดค่าความต้านทานสูง เป็นเหตุให้เกิดความร้อนสูงที่จุดเชื่อมต่อ การถ่ายภาพอุณหภูมิจะตรวจจับความบกพร่องที่เกิดขึ้นก่อนที่จะเกิดความเสียหาย ซึ่งจะช่วยป้องกันการเกิดเพลิงไหม้ หรือการหยุดทำงานที่อาจจะเกิดขึ้นตามมาในไม่ช้า ซึ่งนับเป็นความวิกฤตในกระบวนการผลิตเลยทีเดียว ดังนั้นการคาดการณ์ล่วงหน้าจึงเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากหากเกิดข้อผิดพลาดขึ้นในระบบ ต้นทุนย่อมเพิ่มสูงขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ |
. |
ข้อแนะนำ อุปกรณ์ที่ใช้กับจุดเชื่อมต่อไฟฟ้าและหน้าสัมผัส มักจะบอบางและสะท้อนรังสีอินฟราเรดจากวัตถุที่อยู่ใกล้ ซึ่งสามารถทำให้เกิดการแทรกสอดต่อการวัดอุณหภูมิและการจับภาพ นอกจากนี้อุปกรณ์ที่สกปรกมากยังมีผลกระทบต่อความแม่นยำด้วย เพื่อให้การวัดมีความถูกต้องยิ่งขึ้น ควรรอจนกระทั่งแหล่งพลังงานถูกเอาออกไป แล้วทาจุดเป้าหมายด้วยสีดำ จะทำให้เกิดจุดสะท้อนที่
|
. |
- ตรวจสอบความไม่สมดุลและการโอเวอร์โหลดของระบบไฟฟ้า |
การถ่ายภาพอุณหภูมิ เป็นวิธีการที่ง่ายในการที่จะระบุความแตกต่างอุณหภูมิ ที่เห็นได้อย่างชัดเจนในวงจรไฟฟ้า 3 เฟส ที่ใช้ในอุตสาหกรรม โดยการเปรียบเทียบกับเงื่อนไขการทำงานปกติ กับการตรวจสอบความคลาดเคลื่อนอุณหภูมิของทุก ๆ เฟสที่อยู่ข้าง ๆ กัน ช่างเทคนิคจะสามารถชี้จุดผิดปกติที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วบนแต่ละด้านว่า ไม่สมดุลหรือเป็นการโอเวอร์โหลด |
. |
แสดงภาพจุดเชื่อต่อบน Evaporator Pump ที่อ่านค่าได้สูงกว่า 50 องศา ซึ่งร้อนกว่าที่เฟส C |
. |
ความไม่สมดุลทางไฟฟ้า มีสาเหตุมาจากแหล่งจ่ายที่แตกต่างกัน ปัญหาการส่งพลังงาน เกิดแรงดันต่ำบนสาย
|
. |
ในทางปฏิบัติแล้วเป็นไปไม่ได้ ที่จะเกิดความสมดุลอย่างแท้จริง สำหรับแรงดันที่ตกคร่อมไฟฟ้า 3 เฟส แต่เพื่อช่วยให้อุปกรณ์การทำงานสามารถกำหนดระดับที่ยอมรับได้ของความไม่สมดุล โดยสมาคมผู้ผลิตไฟฟ้าสากล NEMA (National Electrical Manufactures Association) ได้มีการร่างคุณสมบัติสำหรับอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นบรรทัดฐานในการบุงรักษาและการแก้ไขปัญหา |
. |
- ตรวจสอบแบริ่งหรือชิ้นส่วนหมุนของเครื่องจักร |
โปรแกรมการบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์ (PdM) ส่วนใหญ่จะใช้การถ่ายภาพอุณหภูมิ เพื่อตรวจจับอุณหภูมิที่เกิดขึ้นขณะอุปกรณ์ทำงาน ด้วยการประเมินความร้อนเพื่อการตรวจสอบและหลีกเลี่ยงความเสียหายต่ออุปกรณ์ การใช้ภาพถ่ายความร้อนเพื่อจับแผนที่ภาพถ่ายอินฟราเรด 2 ขนาด ของอุณหภูมิแบริ่งและฝาครอบ ช่างเทคนิคสามารถที่จะเปรียบเทียบอุณหภูมิทำงานในขณะนั้นกับจุดที่เป็นมาตรฐาน เพื่อตรวจสอบข้อผิดพลาด |
. |
โดยทั่วไป การวิเคราะห์การสั่นสะเทือน เป็นเทคโนโลยี PdM ที่เป็นตัวเลือกสำหรับการตรวจสอบขนาดใหญ่, สามารถเข้าถึงได้, แบริ่งมีความเร็วค่อนข้างสูง แต่ยังสามารถทำงานได้อย่างปลอดภัยเมื่อทรานสดิวเซอร์ถูกวางลงบนแบริ่ง สำหรับแบริ่งที่ค่อนข้างเล็ก (เช่น ตัวหมุนคอนเวเยอร์) ทำงานที่ความเร็วต่ำ, ไม่สามารถเข้าถึงได้ หรือไม่ปลอดภัยต่อการเข้าใกล้ในขณะที่อุปกรณ์กำลังทำงาน เครื่องถ่ายภาพอุณหภูมิจึงเป็นทางเลือกที่ดี เพราะสามารถทำงานได้ในระยะที่ปลอดภัย การจับภาพความร้อนใช้เวลาน้อยกว่าการวิเคราะห์ความสั่นสะเทือน |
. |
เพลาและแบริ่งที่มีความร้อนสูงเกินไป อาจบ่งบอกถึงความบกพร่องของแบริ่ง ที่ขาดการใส่น้ำมันหล่อลื่น |
. |
อุปกรณ์เครื่องกลควรจะถูกตรวจสอบเมื่อมีความร้อนสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และทำงานในขณะโหลดปกติ การวัดด้วยวิธีนี้สามารถที่จะอธิบายสภาวะการทำงานปกติ การจับภาพความร้อนที่แบริ่งก็เพื่อเป็นการตรวจสอบ และถ้าเป็นไปได้ ควรจับภาพความร้อนของแบริ่งที่ทำงานในพื้นที่เดียวกัน มีฟังก์ชันการทำงานที่เหมือนกัน ซึ่งอาจพบว่าแบริ่งที่ปลายด้านหนึ่งของคอนเวเยอร์ อาจถูกบล็อกเอาไว้ที่บนเพลาหมุนเดียวกัน |
. |
- ตรวจสอบมอเตอร์ไฟฟ้า |
การหลีกเลี่ยงความสูญเสียอันมหาศาลในอุปกรณ์ จะเป็นประโยชน์มากหากรวมเอาเครื่องถ่ายภาพความร้อน มาใช้เป็นเทคนิคพิเศษในการตรวจสอบเงื่อนไขของมอเตอร์ไฟฟ้า การใช้เครื่องถ่ายภาพความร้อนแบบมือถือ จะช่วยให้สามารถตรวจจับการวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรด ของโครงร่างอุณหภูมิมอเตอร์เป็นภาพถ่าย 2 ขนาด ภาพถ่ายความร้อนของมอเตอร์ไฟฟ้าจะเผยให้เห็นถึงสภาวะการทำงาน ที่สะท้อนโดยอุณหภูมิพื้นผิว |
. |
ดังนั้น การตรวจสอบสภาวะจึงมีความสำคัญ เป็นวิธีที่จะหลีกเลี่ยงความบกพร่องของมอเตอร์ในระบบโดยมิได้คาดหมาย ซึ่งส่งผลวิกฤตต่อกระบวนการผลิต ดังนั้นการป้องกันจึงเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากเมื่อระบบบกพร่องจนถึงขั้นวิกฤต ย่อมนำมาซึ่งความเสียหายที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้ |
. |
ภาพถ่ายความร้อนที่แสดงให้เห็นว่ามอเตอร์เย็น แต่ชุดเฟืองนั้นร้อนจัดอย่างผิดปกติ |
. |
ถ้าจะให้ดีคุณควรตรวจสอบมอเตอร์ในขณะที่กำลังทำงานอยู่ โดยเครื่องถ่ายภาพอุณหภูมิจะสามารถตรวจจับอุณหภูมิได้เป็นพัน ๆ จุดต่อ
|
. |
พึงระลึกไว้ว่า มอเตอร์แต่ละตัวถูกออกมาให้ทำงานได้กับอุณหภูมิภายในเฉพาะเท่านั้น ส่วนประกอบอื่น ๆ จึงไม่ควรที่จะทำให้เกิดความร้อนขึ้นที่ฝาครอบมอเตอร์ ดังนั้นมอเตอร์แต่ละตัวจึงควรมีรายการอุณหภูมิปกติขณะทำงานบนแผ่นป้ายชื่อ แม้ว่าเครื่องถ่ายภาพอุณหภูมิจะไม่สามารถมองเห็นอุปกรณ์ภายในมอเตอร์ แต่อุณหภูมิพื้นผิวที่ด้านนอก จะเป็นตัวบ่งบอกถึงอุณหภูมิภายในได้ ถ้ามอเตอร์เกิดความร้อนขึ้นภายใน ที่ด้านนอกก็จะร้อนด้วย ดังนั้นเครื่องถ่ายภาพความร้อน จะช่วยให้รู้สภาวะการทำงานของมอเตอร์ เช่น การไหลของอากาศที่ไม่เพียงพอ, แบริ่งกำลังจะเกิดความบกพร่อง, ปัญหาเพลาเชื่อมต่อ หรือการสึกหรอของฉนวนในโรเตอร์หรือสเตเตอร์ เป็นต้น |
. |
- ตรวจสอบระบบไอน้ำ |
ระบบไอน้ำเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากในการขนส่งพลังงานความร้อน เนื่องจากปริมาณของความร้อนแฝงที่ต้องการ เพื่อผลิตไอน้ำจากน้ำนั้นค่อนข้างมาก และไอน้ำสามารถเคลื่อนที่ได้ง่ายในระบบท่อความกดอากาศ เมื่อระบบไอน้ำเข้าไปสู่จุดการใช้งาน และให้ความร้อนแฝงแก่สภาพแวดล้อมหรือกระบวนการผลิต แล้วกลายเป็นน้ำ ซึ่งจะย้อนกลับไปยังหม้อต้ม เพื่อเปลี่ยนกลับไปเป็นไอน้ำอีกครั้ง |
. |
มีเทคโนโลยีการตรวจสอบหลายอย่าง ที่เป็นประโยชน์สำหรับการตรวจสอบระบบไอน้ำ ในจำนวนเทคโนโลยีต่าง ๆ นี้ก็คือ การถ่ายภาพอินฟราเรด ซึ่งช่างเทคนิคจะใช้เครื่องถ่ายภาพอุณหภูมิ เพื่อจับภาพอุณหภูมิพื้นผิวของส่วนประกอบและโครงสร้าง |
. |
เมื่อการทำงานเป็นไปอย่างถูกต้อง ภาพอุณหภูมิหม้อดักไอน้ำควรจะแสดงการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิในทันที |
. |
ภาพถ่ายความร้อนของระบบไอน้ำจะเผยให้เห็นถึง อุณหภูมิเปรียบเทียบของส่วนประกอบระบบ และแสดงให้เห็นว่าระบบไอน้ำทำงานอย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ การใช้อัลตราซาวด์ร่วมกับการตรวจสอบความร้อน จะช่วยเพิ่มการตรวจจับปัญหาในระบบไอน้ำได้ดียิ่งขึ้น ควรตรวจสอบหม้อน้ำและท่อส่งไอน้ำทั้งหมด รวมทั้งท่อใต้ดินด้วย นอกจากนี้ยังต้องมีการแสกนที่ตัวแลกเปลี่ยนคามร้อน หม้อต้ม และส่วนประกอบอื่น ๆ หรืออาจกล่าวได้ว่า สำรวจทุก ๆ ชิ้นส่วนในระบบไอน้ำ ด้วยเครื่องถ่ายภาพความร้อน |
. |
สิ่งที่ต้องรู้ในการใช้อินฟราเรดเทอร์โมมิเตอร์ |
การใช้งานอินฟราเรดเทอร์โมมิเตอร์ ถึงแม้จะใช้ง่าย แต่ก็มีค่าพารามิเตอร์ที่ต้องทำความเข้าใจอยู่ 2 ค่า เพื่อให้สามารถวัดค่าอุณหภูมิได้ถูกต้อง นั่นคือ |
. |
Optical Resolution หรือค่าความละเอียดทางแสง . |
คือ ค่าอัตราส่วนของระยะทางต่อขนาดของจุดที่ถูกวัด ค่าอัตราส่วนยิ่งสูง โอกาสที่จะมีความคลาดเคลื่อนในการวัดก็น้อยลง ตัวอย่างเช่น อินฟราเรดเทอร์โมมิเตอร์ที่มีค่า Option Resolution เป็น 30:1 การวัดค่าที่ถูกต้อง ระยะห่างจากจุดวัด 90 ซม. ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของจุดวัดไม่ควรเกิน 3 ซม.หากวัตถุที่ถูกวัดมีขนาดเล็ก ระยะห่างที่ยังคงให้ค่าถูกต้องก็ยิ่งต้องใกล้เข้าไปอีก ดังนั้นก่อนตัดสินใจซื้ออินฟราเรดเทอร์โมมิเตอร์ ต้องรู้ก่อนว่าจะนำไปวัดชิ้นงานอะไร ขนาดโต หรือต้องห่างขนาดไหน |
. |
. |
ความผิดพลาดคลาดเคลื่อนของค่าอุณหภูมิที่วัดได้ ส่วนใหญ่นั้นเกิดจากผู้วัดไม่ทราบว่า ได้วัดเอาพื้นที่ที่กว้างกว่าเป้าหมายที่ต้องการวัด |
. |
Emissivity หรือค่าการแผ่รังสี |
คือ ความสามารถในการที่วัตถุให้กำเนิดพลังงานคลื่นอินฟราเรดออกมา ค่านี้ขึ้นอยู่กับชนิดของเนื้อวัสดุ และลักษณะของพื้นผิว โดยมีค่า 1.0 สำหรับวัตถุดำมืด (Black Body) ค่า Emissivity เปรียบได้กับค่าการสะท้อน หรือความมันวาวของพื้นผิวที่สังเกตในระดับที่ส่องด้วยกล้องไมโครสโคป ซึ่งวัตถุที่มีผิวพรุนขรุขระมีค่า Emissivity ประมาณ 0.7 จนถึง 0.98 ในขณะที่เหล็กผิวมันจะมีค่า 0.1 วัตถุที่มีผิวมันจะสะท้อนแสงอินฟราเรดจากรอบตัวมัน รวมมากับรังสีอินฟราเรดจากตัววัตถุเอง ทำให้ค่าที่อ่านได้ผิดไป |
. |
. |
อินฟราเรดเทอร์โมมิเตอร์ โดยทั่วไปจะกำหนดค่า Emissivity คงที่ไว้ 0.95 นั่นคือเหมาะกับการวัดอุณหภูมิของพื้นผิวที่ไม่สะท้อนแสง ในกรณีที่ต้องวัดพื้นผิวมันวาว สามารถแก้ไขได้โดย การใช้ผ้าสีดำคลุมหรือปิดไว้หรือพ่นสีดำ เพื่อลดแสงสะท้อน |
. |
การนำอินฟราเรดเทอร์โมมิเตอร์แบบที่มีค่า Emissivity คงที่ไปวัดอุณหภูมิของพื้นผิวที่มีค่าไม่ถึง 0.95 จะเกิดการคลาดเคลื่อนในลักษณะดังต่อไปนี้ |
- ถ้าวัตถุร้อนกว่าอุณหภูมิโดยรอบ ค่าที่อ่านจะต่ำกว่าความเป็นจริง - ถ้าวัตถุเย็นกว่าอุณหภูมิโดยรอบ ค่าที่อ่านได้จะสูงกว่าความเป็นจริง |
. |
Fluke Ti 20 และ Fluke Ti 30 เครื่องถ่ายภาพความร้อน |
ช่วยให้มองเห็นจุดที่ร้อนได้อย่างชัดเจน |
เทคโนโลยีใหม่ในการถ่ายภาพความร้อนเพื่อวัดอุณหภูมิโดยไม่ต้องสัมผัส ช่วยให้คุณตรวจหาจุดหรือบริเวณที่ร้อนผิดปกติได้อย่างรวดเร็ว Fluke Ti Series เป็นเครื่องมือช่วยในการติดตามตรวจสอบชิ้นส่วนและอุปกรณ์ที่สำคัญในระบบ โดยใช้การตรวจวิเคราะห์จากการแผ่คลื่นรังสีความร้อน ตรวจวัดอุณหภูมิได้ถึง 350 °C (662 °F) ครอบคลุมงานในอุตสาหกรรมทุกส่วน มีให้อย่างครบครัน เพื่อทุกคำตอบในงานถ่ายภาพความร้อน ทั้งอุปกรณ์เสริม การฝึกอบรมใช้งาน และซอฟต์แวร์ InsideIR® เพื่อการวิเคราะห์และออกรายงาน |
. |
จอแสดงผลเป็นสีขนาดใหญ่ ที่แสดงภาพความร้อนพร้อม ข้อมูลอุณหภูมิ และแสดงขั้นตอนตรวจสอบที่กำหนดไว้ล่วงหน้า |
. |
. |
สมรรถนะสูงเยี่ยม เพื่องานอุตสาหกรรมโดยเฉพาะ |
- ใช้เทคโนโลยีใหม่ที่ปฏิวัติวิธีการถ่ายภาพความร้อน ให้ภาพที่ชัดเจน โดยมีความเที่ยงตรงของอุณหภูมิตลอดย่านวัด จนถึง 350 °C (662 °F) - ป้องกันฝุ่นละอองและความชื้น (ระดับ IP54) ใช้งานได้ในสภาพแวดล้อมของโรงงานที่ทารุณ - ใช้งานง่ายมาก เพียง “เล็ง – โฟกัส – แล้วกด” - ช่วยให้งานบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์ (Predictive Maintenance: PdM) ทำได้อย่างรวดเร็ว โดยการทำตามแผนซึ่งวางไว้ โดยจะแสดงในจอภาพเป็นขั้นตอนขณะปฏิบัติงาน - ออกแบบรูปทรงให้จับได้กระชับมือ มีน้ำหนักเบา และสมดุล - ใช้งานได้ต่อเนื่อง 3 ชั่วโมง ต่อการชาร์จไฟ 1 ครั้ง |
. |
ภาพถ่ายความร้อนจะแสดงอุณหภูมิที่แตกต่างด้วยสีที่ต่างกันในภาพ ช่วยให้มองเห็นอุณหภูมิพื้นผิวทุกจุด สามารถมองหาจุดที่ร้อนผิดปกติได้อย่างชัดเจน ง่ายดาย ซึ่งจุดที่ร้อนมากหรืออุณหภูมิสูงขึ้นอย่างผิดปกติ มักจะบ่งบอกถึงความบกพร่องผิดพลาด ที่อาจสร้างความเสียหายร้ายแรงตามมา |
. |
ซอฟต์แวร์ InsideIR® |
เครื่องถ่ายภาพความร้อน Fluke Ti Series มีพร้อมซอฟต์แวร์ InsideIR® สำหรับการจัดเก็บ และวิเคราะห์อุณหภูมิของภาพถ่ายความร้อน ตลอดจนออกรายงาน ตัวซอฟต์แวร์ช่วยให้สามารถปรับเปลี่ยนพารามิเตอร์ต่าง ๆ ของภาพความร้อนที่บันทึกไว้ เช่น Emissivity, ค่าชดเชยอุณหภูมิจากการสะท้อน, ระดับ, อัตราขยาย, ชุดสีที่แสดง ทุกอย่างทำได้โดยง่ายในสำนักงาน โดยการโหลดข้อมูลภาพจากเครื่องถ่ายภาพความร้อนมายังคอมพิวเตอร์ ซึ่งนอกจากช่วยในเรื่องความสะดวกและปลอดภัยแล้ว หากต้องการกำหนดค่าที่ตั้งใหม่สำหรับภาพความร้อนจุดเดิม ก็ทำได้ทันที โดยไม่ต้องกลับไปถ่ายใหม่อีกครั้ง |
. |
. |
รายละเอียดทางเทคนิคของ Fluke Ti20 และ Ti30 |
อุปกรณ์ที่มีให้ |
- ซอฟต์แวร์ InsideIR® ไม่จำกัดผู้ใช้งาน - สำหรับงานเก็บข้อมูล, วิเคราะห์ และออกรายงาน - อะแดปเตอร์ AC - สายเชื่อมต่อ USB - กระเป๋าแข็งสำหรับเดินทาง - กระเป๋าอ่อนพกพา - สายรัดกระชับมือ - แบตเตอรี่แพ็ค 2 ชุด - กล่องบรรจุแบตเตอรี่ AA - แผ่น CD ข้อมูลอบรมการใช้งาน - คู่มือการใช้งานเบื้องต้น - CD คู่มือ |
. |
. |
ระบบถ่ายภาพความร้อนที่คุณเป็นเจ้าของได้ |
ด้วยการใช้งานที่ง่ายเพียง “เล็ง – โฟกัส – กด” พร้อมทั้งมีคำแนะนำขั้นตอนทำงาน แสดงในจอภาพไปพร้อมกัน Fluke Ti Series จึงเป็นเครื่องถ่ายภาพความร้อนที่ใช้งานง่ายมาก เพียงเล็งไปที่เป้าหมาย ปรับโฟกัส ตัวเครื่องจะทำการปรับช่วงอุณหภูมิให้โดยอัตโนมัติ เพื่อให้ได้ภาพที่ให้รายละเอียดอุณหภูมิชัดเจนที่สุด เมื่อกดปุ่มเพื่อถ่ายภาพ ภาพความร้อนพร้อมข้อมูลอุณหภูมิที่ละเอียดทุกจุดภาพจะถูกเก็บบันทึกไว้ |
. |
Fluke Ti Series ทำให้งานถ่ายภาพความร้อนเป็นไปได้ในมือของช่างเทคนิคทั่วไปที่รู้จักคุ้นเคยเครื่องจักรและระบบในโรงงานเป็นอย่างดี โดยไม่จำเป็นต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน |
. |
อินฟราเรดเทอร์โมมิเตอร์รุ่นอื่น ๆ จาก Fluke |
. |
Fluke 61 อินฟราเรดเทอร์โมมิเตอร์ ราคาประหยัด |
- วัดอุณหภูมิได้ -18 °C ถึง 275 °C - ความละเอียด 0.2 °C - มีเลเซอร์ช่วยชี้ตำแหน่งวัด - ปิดเครื่องอัตโนมัติหลังจากไม่ใช้ 7 วินาที - แบตเตอรี่อัลคาไลน์ใช้ได้ถึง 4000 ครั้ง - มียางหุ้มกันกระแทก |
. |
. |
Fluke 65 อินฟราเรดเทอร์โมมิเตอร์ ที่วัดได้ละเอียดกว่า |
- ช่วงการวัด -40 °C ถึง 500 °C
- ความละเอียด 0.1 °C
- มีเลเซอร์ช่วยชี้ตำแหน่งวัด - อ่านค่าได้รวดเร็วใช้เวลาไม่เกิน 1 วินาที
- สามารถบันทึกค่าต่ำสุด/สูงสุด และเก็บค่าที่วัดได้ - ตัวเลขขนาดใหญ่อ่านง่าย พร้อมไฟส่องจอในที่มื |
. |
. |
Fluke 63, Fluke 66, Fluke 68 |
อินฟราเรดเทอร์โมมิเตอร์ ระดับมืออาชีพ |
- มีเลเซอร์ชี้ตำแหน่งและไฟส่องจอดูในที่มืด - ความแม่นยำในการวัดสูงถึง +_ 1% - ช่วงการวัด -32 ถึง 760 °C (รุ่น 68), -32 ถึง 600 °C (รุ่น 66), -32 ถึง 535 °C (รุ่น 63) - คงค่าที่วัดได้ และเก็บบันทึกไว้ในหน่วยความจำ - รุ่น 66 และ 68 สามารถต่อโพรบแบบ RTD ได้ เพื่อการวัดแบบสัมผัส - มีมุมการวัดที่ชัดเจน สามารถวัดอุณหภูมิเป้าหมายเล็ก ๆ ได้ในระยะอัตราส่วน 50:1 (ระยะห่างต่อขนาดเป้า) สำหรับรุ่น 68 ส่วนรุ่น 66 และ 63 มีอัตราส่วน 30:1 และ 12:1 ตามลำดับ - ปรับค่า Emissivity ได้เพื่อการวัดที่แม่นยำ |
. |
. |
Fluke 68IS อินฟราเรดเทอร์โมมิเตอร์ สำหรับพื้นที่ไวต่อการระเบิด |
- อุณหภูมิได้ -32 ถึง 760 °C - ระยะทางต่อจุดวัด 50:1 วัดอุณหภูมิที่จุดเล็ก ๆ ได้ในระยะที่ไกลขึ้น -ได้รับการับรองจากหน่วยงาน Factory Mutual ของสหรัฐอเมริกา ด้านอุปกรณ์สำหรับพื้นที่ไวต่อการระเบิด(Class 1, Division 1) - แสดงผลแบบคงค้างข้อมูลที่หน้าจอ - ปรับค่า Emissivity ได้เพื่อการวัดที่แม่นยำ - เก็บค่าได้ 12 ค่าวัด - ใช้วัสดุชนิดพิเศษ ทนทาน มียางหุ้มกันกระแทก |
. |
. |
Fluke 62 อินฟราเรดเทอร์โมมิเตอร์ ขนาดมินิ |
- ขนาดเล็กเป็นพิเศษ เหมาะสำหรับมือใหม่ - วัดอุณหภูมิได้ถึง 500 °C - ความแม่นยำ 1% Repeatability 0.5% - มีเลเซอร์ช่วยชี้ตำแหน่งการวัด - คงค่าอุณหภูมิที่จอไว้อ่านภายหลังได้ - แสดงค่าปัจจุบัน/ค่าสูงสุด |
. |
. |
Fluke 572, Fluke 574, Fluke 576 |
อินฟราเรดเทอร์โมมิเตอร์ ชนิดความเที่ยงตรงสูง |
- วัดอุณหภูมิได้ -30 °C ถึง 900 °C - อัตราส่วนระยะทางต่อจุดวัด 60:1 วัดอุณหภูมิวัตถุเล็ก ๆ ได้ไกลยิ่งขึ้น - ด้ามจับกระชับมือ ชี้ตำแหน่งได้ง่าย - คงค่าอุณหภูมิไว้ที่หน้าจอ เพื่ออ่านได้สะดวก แสดงค่าสูงสุด/ต่ำสุด, ค่าผลต่าง/ค่าเฉลี่ย (รุ่น 574 และ 576) - ปรับค่า Emissivity ได้ละเอียดทีละ 0.1 - บันทึกอุณหภูมิได้ 100 ค่า (Data Logging) - ถ่ายภาพจุดที่วัดและบันทึกไว้ได้ 100 ภาพ พร้อมวัน/เวลา สามารถโหลดเข้า PC ไว้อ้างอิง - ชี้ช่องอินพุตโพรบ Thermocouple Type-K - มีโปรแกรมสำหรับเก็บข้อมูลและทำการวิเคราะห์ - มีเลเซอร์ชี้ตำแหน่ง 3 จุด เพื่อแสดงขอบเขตจุดที่วัดอุณหภูมิ - เลเซอร์สว่างเป็น 2 เท่า ส่องได้ไกล เห็นได้ชัดเจน - ปรับแต่งค่า Emissivity ระดับแจ้งเตือนที่เหมาะกับงาน สำหรับทำ |
. |
สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อได้ที่ บริษัท เมเชอร์โทรนิกซ์ จำกัด 2425/2 ถ.ลาดพร้าว ระหว่างซอย 67-69 แขวงวังทองหลาง เขตวังทองหลาง กรุงเทพ ฯ 10310 โทรศัพท์ 0-2514-1000, 0-2514-1234 โทรสาร 0-2514-0001, 0-2514-0003 E-Mail: info@measuretronix.com |