คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หนุนสร้างสะพาน เพื่อเชื่อมโยงพื้นที่ฝั่งตะวันออกและตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยารองรับการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจและสังคมพื้นที่พัฒนาใหม่ของจังหวัดนนทบุรี ที่สำคัญยังช่วยแก้ไขปัญหาการจราจรบนสะพานพระนั่งเกล้า และสะพานพระราม 5
คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หนุนสร้างสะพาน เพื่อเชื่อมโยงพื้นที่ฝั่งตะวันออกและตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยารองรับการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจและสังคมพื้นที่พัฒนาใหม่ของจังหวัดนนทบุรี ที่สำคัญยังช่วยแก้ไขปัญหาการจราจรบนสะพานพระนั่งเกล้า และสะพานพระราม 5 |
. |
นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) |
. |
นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ สศช. เห็นชอบโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณถนนนนทบุรี 1 ของกรมทางหลวงชนบท วงเงินลงทุน 6,154.50 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินงาน 4 ปี (52-55) ตามที่กระทรวงคมนาคม เสนอ |
. |
เพราะเห็นว่าจะช่วยสนับสนุนการพัฒนาเชื่อมโยงพื้นที่ฝั่งตะวันออกและตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อรองรับการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจและสังคม และยังเพิ่มทางเลือกในการเดินทางข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาให้กับประชาชนในพื้นที่พัฒนาใหม่ของจังหวัดนนทบุรี ที่สำคัญยังช่วยแก้ไขปัญหาการจราจรบนสะพานพระนั่งเกล้า และสะพานพระราม 5 ที่เป็นโครงข่ายหลักในการเดินทางข้ามแม่นำเจ้าพระยาในปัจจุบัน |
. |
อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการ สศช. เห็นว่ากรมทางหลวงชนบทควรใช้เงินงบประมาณ เพื่อก่อสร้างโครงการแทนการกู้เงินจากต่างประเทศ เพราะไม่จำเป็นใช้วัสดุอุปกรณ์นำเข้าจากต่างประเทศ และเห็นว่าในช่วงแรกของการก่อสร้าง ควรให้กรมทางหลวงชนบท การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และจังหวัดนนทบุรี ร่วมกันกำหนดมาตรการลดผลกระทบด้านการจราจรด้วย |
. |
เป็นช่วงเวลาเดียวกับการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางใหญ่-บางซื่อ) และควรหาแนวทางเชื่อมโยงระบบโครงข่ายที่มีอยู่ในปัจจุบันให้เป็นระบบ เพื่อลดปริมาณการจราจรบนถนนสายหลัก และหาแนวทางสนับสนุนให้ประชาชนในพื้นที่เดินทางด้วยรถไฟฟ้า เพื่อแก้ไขปัญหาจราจรในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี และลดภาระการลงทุนพัฒนาโครงข่ายถนนในอนาคตด้วย |
. |
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังเห็นชอบโครงการปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพระบบจำหน่าย ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ระยะเวลา 5 ปี (52-56) วงเงินลงทุนรวม 12,690 ล้านบาท แยกเป็นเงินกู้ในประเทศ 9,510 ล้านบาท หรือประมาณ 75%ของเงินลงทุน และที่เหลืออีก 25% หรือประมาณ 3,180 ล้านบาท ใช้เงินจากรายได้ของ กฟภ. ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ |
. |
และเห็นควรให้มหาดไทยนำรายละเอียดทั้งหมดเสนอให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน พิจารณาเสนอความเห็นประกอบการพิจารณาของ ครม.ด้วย รวมทั้งได้ขอให้ กฟภ.เร่งปรับปรุงคุณภาพและความมั่นคงของระบบไฟฟ้าในพื้นที่อุตสาหกรรม ท่องเที่ยว และพื้นที่ที่มีความสำคัญสูงมากเป็นลำดับแรก รวมถึงให้ความสำคัญในการพัฒนาบุคลากร และการป้องกันผลกระทบสิ่งแวดล้อมและชุมชนที่อาจเกิดขึ้นในช่วงก่อสร้างโครงการฯ ด้วย |
. |
ทั้งนี้ โครงการของ กฟภ.จะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถและประสิทธิภาพของระบบจำหน่ายให้สามารถรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยการก่อสร้างระบบจำหน่ายสายย่อย รวมทั้งปรับปรุงระบบจำหน่ายและอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ทรุดโทรมหรือเสื่อมสภาพในพื้นที่บริการของ กฟภ. ทั่วประเทศ ซึ่งจะทำให้สามารถลดปัญหาแรงดันไฟฟ้าตก ไฟฟ้าดับ ลดหน่วยสูญเสียในระบบไฟฟ้า |
. |
ลดปัญหาการปฏิบัติการและบำรุงรักษาระบบไฟฟ้า รวมทั้งเพิ่มความเท่าเทียมกันในด้านคุณภาพและมาตรฐานการให้บริการในส่วนภูมิภาค โดย กฟภ. จะดำเนินก่อสร้างและปรับปรุงเสริมระบบจำหน่ายแรงสูงสายย่อย 11,530 วงจร-กม. ระบบแรงต่ำ 21,390 วงจร-กม. หม้อแปลง 1,406,720 เควีเอ รวมทั้งอุปกรณ์ป้องกันในพื้นที่ทั่วประเทศ . |
. |
ที่มา : สำนักข่าวไทย |