หลายครั้งบนเส้นทางวิกฤติของประเทศไทย จะได้เห็น วาทะและไอเดียคม ๆ จากเจ้าสัว "ธนินท์ เจียรวนนท์" ออกมาแนะทางสว่างให้ใครก็ตามที่ได้ฟังต้องคิดตามอยู่เสมอ "ทฤษฎี 2 สูง" แนวคิดที่คลอดออกมาในปี 2551 กำลังเป็นที่จับตามองของนักธุรกิจหลาย ๆ กลุ่ม "เข้าใจคน เข้าใจธุรกิจ" หัวใจของการขับเคลื่อนซีพีให้รุดหน้า
ผู้เขียน : วันเพ็ญ แก้วสกุล |
. |
หลายครั้งบนเส้นทางวิกฤติของประเทศไทย จะได้เห็น วาทะและไอเดียคม ๆ จากเจ้าสัว "ธนินท์ เจียรวนนท์" ออกมาแนะทางสว่างให้ใครก็ตามที่ได้ฟังต้องคิดตามอยู่เสมอ |
ธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) |
. |
"ทฤษฎี 2 สูง" แนวคิดที่คลอดออกมาในปี 2551 |
สูงแรก "ราคาสินค้าเกษตรต้องสูง" ที่ต้องเดินมาคู่ สูงที่สอง "รายได้หรือค่าจ้างของประชาชนจะต้องสูง" เป็นสองพลังที่จะมายกระดับเศรษฐกิจไทยให้สูงขึ้นได้ การจะเป็นผู้รู้จริงได้ ต้องผ่านการปฏิบัติ เจ้าสัวยี่ห้อ "ซีพี" รายนี้ ก็ทำให้เห็นแล้วจากผลงานการก่อร่างอาณาจักรซีพี ให้ใหญ่ และดังไกลถึงต่างแดน |
. |
แต่กว่าจะถึงจุดนั้นได้ ธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) บอกว่า "คน" สำคัญที่สุด มากกว่าทุน หรือเรื่องใดๆ การทำความเข้าใจกับ "คน" และแปรผลออกมาเป็น "เป้าหมาย" ที่ต้องการให้ได้ เป็นจุดเด่นของผู้นำรายนี้ที่ผู้นำ องค์กรไหนๆ ต้องศึกษา "ทุกคนมีจุดอ่อน แต่เราพยายามมองในจุดแข็งของเขา และนำจุดแข็งของเขามาใช้ประโยชน์" |
. |
คำอธิบายถึงมุมมองต่อจุดอ่อนของผู้นำประเทศคนล่าสุด "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" แต่ในนิยามของนักบริหาร และผู้นำของ ธนินท์ การขับเคลื่อนซีพี ถือว่าไม่แตกต่างกันเลย การเติบโตของซีพีที่ครอบคลุมหลายธุรกิจให้บริการ ไล่ไปตั้งแต่ธุรกิจอาหาร ถึงธุรกิจค้าปลีก และเทเลคอม แต่เรื่องการบริหารคนแล้ว ธนินท์ เลือกที่จะมองคนเก่งให้เก่งไว้ก่อน "การบริหารของผม จะมองทุกคนว่าเป็นคนเก่ง เพราะถ้าผมมองอย่างนั้นแล้ว เวลาผมพูดกับเขา ผมก็เคารพเขาอย่างจริงใจ" |
. |
"มองคนว่า เก่งเข้าไว้" ยังไม่พอ เจ้าสัว แนะว่า เรายังต้องเสาะหาความเก่งของเขา และใช้ความเก่งของเขาให้เป็นประโยชน์ ที่สำคัญ ต้องมอบอำนาจหน้าที่ให้ถูกต้อง อย่ามอบผิดคน เข้าใจง่ายๆ ถ้าเขาเป็นนักมวย แต่ให้ไปวิ่งแข่ง วิ่งร้อยครั้งก็แพ้ร้อยครั้ง กลับกันถ้าเขาเป็นนักวิ่งแต่ให้ไปต่อยมวย ขึ้นเวทีไปอย่างไรก็ถูกน็อค นอกจากมอบงานให้ตรงกับคน เจ้าสัวซีพี ยังเน้นการกระจายอำนาจ ธุรกิจจะโตได้ต้องมาจากหลายส่วนด้วยกัน |
. |
"หลักการใหญ่ผมเป็นคนดู แต่ให้แต่ละคนดูแลธุรกิจไป เราเน้นกระจายอำนาจให้แต่ละคนดูแล" ธนินท์ออกตัว อีกหนึ่งเรื่องละเอียดอ่อนที่ต้องคิดตาม หากต้องการจะนำ "คน" และ "องค์กร" ให้เดินหน้าตามหวัง "ก่อนติ เราต้องชมก่อน หาจุดเด่น และชมเชยเขา แต่หากยังไม่ทันไร ไปติเขาก่อน อย่างนี้ถ้าแนะนำทีหลัง มีหรือจะยอมฟัง" หลักคิด หลักปฏิบัติที่ว่าด้วย "คน" ที่ผู้นำรายนี้ดำเนินมาต่อเนื่องตลอดนับแต่ก่อตั้ง ซีพี จนถึงปัจจุบัน |
. |
ไม่จำเพาะ "คน" ในองค์กรเท่านั้น ยังมี "คน" จากอีกหลายส่วนในสังคมที่ ธนินท์ สนใจ และรู้ใจมากกว่าใคร นั่นคือ เกษตรกร ด้วยความที่เป็นคนค่อนข้างติดดิน และทำธุรกิจภาคการเกษตรพื้นบ้านของไทยมาเป็นเวลานาน เหนือกว่านั้นการเป็นผู้รู้จริง และลงปฏิบัติจริงในแบบที่น้อยคนจะรู้ เขายกตัวอย่างให้เห็นภาพถึงชีวิตเกษตรกรไทยกลุ่มผู้เลี้ยงหมู ว่า ตั้งแต่ซื้อลูกหมูมาเลี้ยงก็เริ่มเสี่ยงแล้ว นั่นเพราะไม่อาจรู้ได้ว่าลูกหมูที่นำมาเลี้ยงนั้น ครบ 5 เดือนแล้วจะไม่เป็นโรคตาย |
. |
เสี่ยงที่สอง คือ ราคา ผู้เลี้ยงไม่สามารถกำหนดได้เรื่องราคาขาย และต้นทุนจากค่าอาหารสัตว์ "ยังไม่รู้ว่าผมเลี้ยงไปแล้ว 5 เดือน ต้องขายให้ใคร และขายราคาเท่าไร ทุกอย่างไม่มีหลักประกัน" ธนินท์ กล่าวและว่า เราเข้าใจดี และบริษัทก็เข้าไปรับความเสี่ยงตรงนี้ให้ "หากว่ามีบริษัทแบบเครือเรามารอรับความเสี่ยงของเกษตรกร ผมเชื่อมั่นว่าถ้าเราใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เลี้ยงอย่างมีประสิทธิภาพ ต้นทุนต่ำแต่คุณภาพสูง" |
. |
ธนินท์ แนะแบบถ้าใครไม่ลงไปเลี้ยงหมูและศึกษาจริง ไม่มีวันรู้ |
. |
หมู ก็เหมือนมนุษย์ พอถึง 100-120 กิโลกรัม ก็จะไม่โตแล้ว แต่ยังคงกินอาหารในระดับเท่าเดิม คือ วันละ 3-4 กิโลกรัม ดังนั้น ถ้าถึงเวลาต้องจับไปขาย หากทำช้าเพียงวันเดียวก็ขาดทุนหลายสิบบาทแล้วจากค่าอาหาร เรื่องเหล่านี้ เกษตรกรส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจ "เขาเพียงขายช้าไป 10 วัน กินวันละ 30 บาท เท่ากับ 300 บาท เป็นกำไรที่หายไป" เกษตรกรไทยในสายตา ธนินท์ นั้น "ยืนยันว่าเกษตรกรไทยเก่ง ถ้ามีผู้นำมานำให้ถูกทางเพราะเราเลี้ยงหมู ไก่ แข่งกับประเทศอื่นได้" |
. |
สิ่งที่เกษตรกรไทยยังขาด และต้องการได้แรงสนับสนุนมี 3 ส่วนด้วยกัน คือ ขาดความรู้และเทคโนโลยี ขาดทุนทรัพย์ และขาดตลาดรองรับ "เข้าใจคน เข้าใจธุรกิจ" หัวใจของการขับเคลื่อนซีพีให้รุดหน้า ดังที่เจ้าสัว ลั่นว่า "ซีพี เราอยากมีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดในโลก ถ้านึกถึงอาหาร นึกถึงซีพี" ภารกิจของซีพี บนเส้นทางธุรกิจโลกนับจากนี้ จึงยังเป็นสิ่งที่ ธนินท์ ยังต้องออกแรงอีกหลายระลอก โดยเฉพาะการสร้างคนเก่ง เข้าไปเสริมในแต่ละส่วนงาน |
. |
หนึ่งในนั้น คือ CPF หรือ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) องค์กรใต้ร่มซีพี ที่เขา บอกว่า จะเติบโตหลัก 10% ขึ้นในปี 2552 ควงคู่มาพร้อม เซเว่นอีเลฟเว่น ที่ขยายตัวไม่ต่ำกว่า 10% เช่นกัน |
. |
2 กลุ่มธุรกิจ เป็นเพียงตัวอย่างการเติบโตของซีพีในรอบปี 2552 ซึ่งหากโดยรวมแล้ว ธนินท์ บอกว่า ทั้งกลุ่มจะเติบโต หรืออาจจะเติบโตได้มากกว่าปีนี้ และยังต้องการ "คน" มาสนับสนุนอีกมาก โดยเฉพาะส่วนงานขาย |
. |
ด้วยปัจจัยหลักของการขยายตลาดออกไปทั่วโลก ทั้ง แอฟริกา อินเดีย จีน ฯลฯ รวมถึงเงินเม็ดเงินที่ใส่แบบไม่อั้นด้านเทคโนโลยีเพื่องานแปรรูปและเพิ่มมูลค่าอาหาร รวมถึงการสร้างเครือข่ายการขายอื่นๆ อาทิเช่น โลจิสติกส์ "เราไม่ขับรถยนต์ 3 วัน ก็นั่งรถเมล์ได้ แต่ไม่กิน 3 วัน เราอยู่ไม่ได้" ธนินท์กล่าว นั่นเป็นคำตอบสุดท้ายที่ว่า ทำไมซีพี ถึงโฟกัสและเติบโตอยู่ที่ธุรกิจอาหาร |
. |
ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ |