ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า การลงทุนในปี 52 มีแนวโน้มที่จะหดตัวลง 1.4-3.4% เมื่อเทียบกับการลงทุนในปี 51 ที่คาดว่าจะขยายตัวได้ 1.5% โดยแนวโน้มการลงทุนในปีนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขสำคัญด้านการเมือง โดยเฉพาะความมีเสถียรภาพและความสามารถในการผลักดันนโยบายและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า การลงทุนในปี 52 มีแนวโน้มที่จะหดตัวลง 1.4-3.4% เมื่อเทียบกับการลงทุนในปี 51 ที่คาดว่าจะขยายตัวได้ 1.5% โดยแนวโน้มการลงทุนในปีนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขสำคัญด้านการเมือง โดยเฉพาะความมีเสถียรภาพและความสามารถในการผลักดันนโยบายและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล |
. |
ทั้งนี้ ภาวะการชะลอตัวของการลงทุนในปีนี้ มีสาเหตุจากการหดตัวของการลงทุนภาคเอกชน ซึ่งคาดว่าจะลดลงประมาณ 6.2-7.5% จากปัญหาเศรษฐกิจนอกประเทศ ซึ่งส่งผลกระทบต่อเนื่องมาถึงการส่งออก, การผลิต และภาคการเงิน ทำให้เศรษฐกิจในประเทศชะลอตัวตาม |
. |
อย่างไรก็ตาม คาดว่าการลงทุนภาครัฐในปีหน้าอาจขยายตัวได้ 9.7-13.3% กรณีที่รัฐบาลมีเสถียรภาพและไม่มีปัญหาความวุ่นวายทางการเมือง โดยอัตราการเติบโตของการลงทุนภาครัฐขึ้นอยู่กับว่ารัฐบาลมีนโยบายในการจัดสรรงบประมาณและมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างไรและจะเร่งผลักดันให้เกิดผลได้แค่ไหน |
. |
"การที่จะกระตุ้นการลงทุนในอนาคตกลับมาฟื้นตัวได้ในภาวะที่เศรษฐกิจซบเซา คงต้องอาศัยแรงกระตุ้นจากภาครัฐเป็นหลัก หากก็มีข้อจำกัดในด้านงบประมาณและต้องคำนึงถึงกรอบความยั่งยืนทางการคลัง โดยรัฐบาลต้องพิจารณาถึงแหล่งที่มาของเงินทุนและระมัดระวังในการก่อหนี้สาธารณะ ดังนั้นมาตรการและนโยบายที่รัฐเลือกจึงควรเป็นมาตรการที่คุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ" เอกสารเผยแพร่ ระบุ |
. |
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า แม้ว่ารัฐบาลจะเตรียมอัดฉีดงบกลางปี 52 และออกแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ประกอบด้วยมาตรการต่างๆ เพื่อแก้ปัญหาการว่างงาน และให้ความช่วยเหลือแก่ภาคธุรกิจและภาคเอกชน ซึ่งอาจมีผลช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับธุรกิจและประชาชนก็ตาม แต่มาตรการดังกล่าวไม่ส่งผลต่อการกระตุ้นการลงทุนเท่าใดนัก เพราะหลายมาตรการมุ่งเน้นให้ความช่วยเหลือแก่แรงงานที่ถูกกระทบจากภาวะวิกฤติเศรษฐกิจมากกว่าที่จะกระตุ้นการลงทุนโดยตรง |
. |
ขณะที่มาตรการอื่นๆ เช่น การลดภาษีและการให้ความช่วยเหลือด้านสินเชื่อ แม้ว่าจะเป็นมาตรการที่ดีแต่ในภาวะที่คำสั่งซื้อหดตัวและผลประกอบการย่ำแย่ ก็อาจมีผลช่วยกระตุ้นการลงทุนได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น ทำให้มีแนวโน้มที่การลงทุนในปีนี้อาจจะยังคงหดตัว |
. |
ดังนั้นมาตรการที่น่าจะคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพที่จะช่วยกระตุ้นการลงทุนในอนาคตให้กลับมาฟื้นตัวได้ในภาวะที่เศรษฐกิจซบเซา เช่น มาตรการทางภาษีในลักษณะชั่วคราว, เร่งสร้างโครงการขนาดกลางและขนาดเล็กซึ่งจะทำให้เกิดการกระจายของเม็ดเงินไปได้ทั่วถึงและรวดเร็ว |
. |
พร้อมกับการผลักดันโครงการขนาดใหญ่ที่มีอยู่เดิม เพื่อการกระตุ้นอุปสงค์ในประเทศทั้งการลงทุนภาคเอกชนและการบริโภค และโครงการที่จะมีผลช่วยเพิ่มผลิตภาพองประเทศในระยะยาว เช่น โครงการสาธารณูปโภคในภาคขนส่งและโครงการชลประทาน เพื่อให้เศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัวอย่างยั่งยืน |
. |
อย่างไรก็ดี นอกจากการดำเนินนโยบายทางการคลังแล้ว ในด้านการเงินนั้นภาครัฐและธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ควรมีมาตรการที่ช่วยกระตุ้นการปล่อยสินเชื่อให้กับภาคธุรกิจและผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs) เช่น การช่วยค้ำประกันเงินกู้ เพื่อให้ธุรกิจมีสภาพคล่องเพียงพอและมีเงินในการนำมาลงทุนต่อไป |