สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม เผย ภาวะเศรษฐกิจโลกที่ซบเซาตั้งแต่ช่วงกลางปีส่งผลกระทบมายังภาคอุตสาหกรรมไทยอย่างชัดเจน ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนพฤศจิกายน 2551 ติดลบถึง 8.36% ถือเป็นการติดลบเป็นเดือนที่สองในรอบปี และหากเทียบตามสถิติจะเป็นการติดลบสูงสุดในรอบ 6 ปี 9 เดือน
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม เผย ภาวะเศรษฐกิจโลกที่ซบเซาตั้งแต่ช่วงกลางปีส่งผลกระทบมายังภาคอุตสาหกรรมไทยอย่างชัดเจน ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนพฤศจิกายน 2551 ติดลบถึง 8.36% ถือเป็นการติดลบเป็นเดือนที่สองในรอบปี และหากเทียบตามสถิติจะเป็นการติดลบสูงสุดในรอบ 6 ปี 9 เดือน |
. |
นายอาทิตย์ วุฒิคะโร ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.)และรองโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจโลกที่ซบเซาตั้งแต่ช่วงกลางปีส่งผลกระทบมายังภาคอุตสาหกรรมไทยอย่างชัดเจน โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนพฤศจิกายน 2551 ติดลบถึง 8.36% ถือเป็นการติดลบเป็นเดือนที่สองในรอบปี และหากเทียบตามสถิติจะเป็นการติดลบสูงสุดในรอบ 6 ปี 9 เดือน |
. |
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนพ.ย.52 เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ดัชนีผลผลิต (มูลค่าเพิ่ม) อยู่ที่ระดับ 168.39 ลดลง -8.36% ดัชนีผลิต (มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 169.67 ลดลง -9.18%ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 167.39 ลดลง -11.24% ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 113.31 ลดลง -5.48% ดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม อยู่ที่ 129.77 ลดลง -7.99% |
. |
ขณะที่ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 196.04 เพิ่มขึ้น 14.89% ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 178.86 เพิ่มขึ้น 8.48% ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิต อยู่ที่ 56.21 |
. |
อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการขยายตัวติดลบ ได้แก่ กลุ่มเครื่องประดับ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เม็ดพลาสติก และยานยนต์ ซึ่งมีปัจจัยที่ได้รับผลกระทบที่แตกต่างกัน โดยดัชนีผลผลิตกลุ่มเครื่องประดับติดลบ 38.95% เนื่องจากปัจจัยการผันผวนของต้นทุนวัตถุดิบโดยเฉพาะอย่างยิ่งราคาทองในตลาดโลกมีความผันผวนอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งประเทศผู้นำเข้าหลักคือสหรัฐได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจซบเซาที่ทำให้การบริโภคชะลอ |
. |
อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการได้มีการปรับตัวอย่างต่อเนื่อง เช่นการเปิดตลาดส่งออกใหม่ไปยังประเทศแถบตะวันออกกลาง เนื่องจากเป็นประเทศเศรษฐีน้ำมัน ซึ่งไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลงมากนัก |
. |
ด้านชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนพบว่าทั้งการผลิตและจำหน่ายลดลง 15.5% เท่ากัน เนื่องจากความต้องการของตลาดโลกชะลอตัวลงตามภาวะการถดถอยของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าทั่วโลก แม้ว่าปกติช่วงปลายปีจะถือเป็นช่วงที่มีการผลิตอย่างคึกคักเพื่อทำยอดการผลิตประจำปีก็ตาม แต่ด้วยภาวะเศรษฐกิจซบเซาทำให้ส่งผลกระทบอย่างชัดเจน |
. |
รวมทั้งเม็ดพลาสติก การผลิตและการจำหน่าย ติดลบ 32.7% และ15.5% เนื่องจากกำลังซื้อและความต้องการของผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศหดตัวอย่างมาก ประกอบกับโรงงานหลายแห่งหยุดเดินเครื่องจักรและลดการผลิตตามภาวะเศรษฐกิจที่ทำให้ความต้องการของอุตสาหกรรมต่อเนื่องต่างๆ ลดลง เช่นอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ และอุตสาหกรรมพลาสติก ที่ความต้องการลดลงไปมาก |
. |
การผลิตยานยนต์ การผลิตและการจำหน่ายรถยนต์ปรับตัวลดลง 5.2% และ8.6% ซึ่งเป็นผลมาจากตลาดรถยนต์ปิกอัพ 1 ตันที่ยอดจำหน่ายลดลงต่อเนื่อง จากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว คำสั่งซื้อของลูกค้าในต่างประเทศจึงลดลงไปมาก ส่งผลกระทบต่อยอดส่งออกรถยนต์โดยตรง |
. |
อย่างไรก็ตาม คาดว่าในปี 52 มีแนวโน้มที่ลดลงอย่างชัดเจน อันเนื่องมาจากเศรษฐกิจของโลกอยู่ในภาวะหดตัว ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบอย่างมากต่อการผลิตรถยนต์เพื่อการส่งออก โดยคาดว่าในปี 52 การส่งออกจะลดลงประมาณ 20% |
. |
นายอาทิตย์ ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า การผลิตภาคอุตสาหกรรมในปี 2551นั้นขยายตัวในอัตราที่สูง 11.5% ในไตรมาสแรกแล้วค่อยๆลดลงเหลือ 9.4% และ 5.8%ในไตรมาที่ 2 และ 3 ตามลำดับ แล้วติดลบ 6.3% ในไตรมาส 4/51 ตามภาวะเศรษฐกิจโลก และคาดว่า 6 เดือนแรกของปี 52 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมจะติดลบถึง 5.5% |
. |
อย่างไรก็ดี ยังมีโอกาสที่จะปรับตัวในทางที่ดีขึ้นในช่วง 6 เดือนหลังของปี 52 หากมาตรการต่างๆของรัฐที่ออกมากระตุ้นเศรษฐกิจสามารถปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ และไม่มีปัญหาด้านการเมือง ซึ่งนายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รมว.อุตสาหกรรมได้เร่งจัดตั้ง War Room เพื่อระดมความคิดในการกำหนดมาตรการและโครงการต่างๆเพื่อแก้ไขวิกฤตภาคอุตสาหกรรมร่วมกับภาคเอกชน ผู้ทรงคุณวุฒิ และหน่วยงานราชการต่างๆที่เกี่ยวในครั้งนี้ |
. |
โดยจะเร่งจัดให้มีการประชุมในภาพรวมของภาคอุตสาหกรรมและเจาะลึกลงในระดับสาขาอุตสาหกรรมต่างๆต่อไป เชื่อว่าจะได้ข้อสรุปมาตรการแก้ไขปัญหาที่มีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรมอย่างแน่นอน |