อัมมาร์ สยามวาลา นักวิชาการเกียรติคุณ ทีดีอาร์ไอ ปี 2552 ประเทศไทยต้องเผชิญกับพายุเศรษฐกิจอย่างรุนแรง ปัญหาทางการเมืองยืดเยื้อกระทบส่งออก คาดว่าปีหน้าว่างงานเกือบ 2 ล้านคนที่วิตกกัน นโยบายประชานิยมสร้างเสพติดประชาชนนายกปฏิเสธไม่ได้หรอก
อัมมาร์ สยามวาลา นักวิชาการเกียรติคุณ ทีดีอาร์ไอ ปี 2552 ประเทศไทยต้องเผชิญกับพายุเศรษฐกิจอย่างรุนแรง ปัญหาทางการเมืองยืดเยื้อกระทบส่งออก คาดว่าปีหน้าว่างงานเกือบ 2 ล้านคนที่วิตกกัน นโยบายประชานิยมสร้างเสพติดประชาชนนายกปฏิเสธไม่ได้หรอก |
. |
ในการสัมมนาเรื่อง "ศักยภาพของสังคมไทยกับวิกฤติโลก" กรณีศึกษาด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และพลังงาน นายอัมมาร์ สยามวาลา นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า ในปี 2552 ประเทศไทยต้องเผชิญกับพายุเศรษฐกิจอย่างรุนแรง |
. |
นายอัมมาร์ สยามวาลา |
นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) |
. |
เนื่องจากวิกฤติเศรษฐกิจโลกลุกลามสู่ภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง ประกอบกับปัญหาทางการเมืองที่ยืดเยื้อมายาวนานกว่า 3 ปี มีผลต่อการขยายตัวการส่งออกลดลง มีผลกระทบต่อภาคสังคมไทย ซึ่งรัฐบาลใหม่จะต้องดำเนินนโยบาย เพื่อลดผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัว ซึ่งคาดว่าปีหน้าจะมีการว่างงานในช่วงไตรมาส 1 จำนวน 880,000 คน ไม่ถึง 2 ล้านคนที่วิตกกัน |
. |
สำหรับกลุ่มแรกที่รัฐบาลจะต้องดูแล คือ คนตกงาน กลุ่ม 2 เกษตรกร เพราะราคาสินค้าเกษตรปีหน้าจะปรับตัวลดลง หลังจากฟองสบู่ราคาสินค้าเกษตรแตก จึงต้องสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่เกษตรกรอย่างถูกต้อง ไม่ใช่การใช้นโยบายประกันราคาพืชผล กลุ่ม 3 ร้านโชห่วย ได้รับผลกระทบจากการขยายสาขาของห้างค้าปลีกขนาดใหญ่กลุ่ม 4 ภาคการท่องเที่ยว ได้รับผลกระทบหนัก และกลุ่ม 5 ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) |
. |
นอกจากนี้ รัฐบาลจะต้องศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดและถ่องแท้ก่อนที่จะมีการออกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ เช่น การลดภาษีให้กับธุรกิจเอสเอ็มอีลงร้อยละ 5 เพื่อช่วยเอสเอ็มอี ก็ต้องศึกษาข้อมูลให้ลึกซึ้งมากกว่านี้ เพราะปีหน้ามีโอกาสเอสเอ็มอีจะขาดทุน ซึ่งก็ไม่จำเป็นต้องจ่ายภาษีให้รัฐบาล ดังนั้น การลดภาษีลงร้อยละ 5 จึงไม่ใช่มาตรการตรงจุดที่จะช่วยเหลือเอสเอ็มอี ควรศึกษาข้อมูลเดิมให้มีความเข้าใจว่าเอสเอ็มอี ต้องการการช่วยเหลือลักษณะใด |
. |
ส่วนที่หลายคนมองว่า นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของพรรคประชาธิปัตย์ เป็นนโยบายประชานิยมเหมือนกับรัฐบาลอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายอัมมาร์ กล่าวว่า ไม่ได้สนใจว่า เป็นนโยบายประชานิยมหรือไม่ แต่นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจจะต้องมีหลักการ 2 ข้อ คือ 1. จะต้องใช้เงินได้เร็ว ส่งเงินเข้าถึงระบบเศรษฐกิจได้ทัน |
. |
2. จะต้องเป็นนโยบายที่ถอยหลังหรือยกเลิกได้ ไม่ใช่นโยบายที่หว่านเงินหรือเสพติดจนเกินไป ส่วนเมกะโปรเจกต์ยืนยันว่า ไม่เหมาะสมที่จะดำเนินการขณะนี้ เพราะต้องใช้เวลานานถึง 5 ปี แต่ควรเน้นโครงการในระยะสั้น เช่น การปรับปรุงโรงเรียน การสนับสนุนการศึกษาต่อของนักเรียน โดยเน้นการอัดฉีดเงินให้เร็วที่สุด |
. |
ขณะที่รัฐบาลก็ต้องปรับปรุงระบบการออมเพื่อยามชรา รวมทั้งดูแลรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ ที่มีปัญหาขาดทุนว่า จะแก้ปัญหาเหล่านี้อย่างไร และไม่เห็นด้วยกับการลดภาษีมูลค่าเพิ่ม เพราะปัจจุบันก็อยู่ในอัตราที่ต่ำกว่าประเทศอื่นอยู่แล้ว หากลดภาษีไปแล้วการกลับมาขึ้นใหม่ก็เป็นไปได้ยาก |
. |
นางอัจนา ไวความดี รองผู้ว่าการ สายเสถียรภาพการเงิน ธปท. กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยปี 2552 จะชะลอตัวรุนแรงหรือไม่ ขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจโลก ซึ่งยังไม่มีใครสามารถตอบได้ แต่ยืนยันว่าจะไม่เกิดปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจ เพราะหลังจากที่ไทยผ่านวิกฤติปี 2540 ก็มีการสร้างภูมิคุ้มกันมากขึ้น แต่จุดที่น่าเป็นห่วง คือ ภาคการส่งออก |
. |
หลังจากตัวเลขการส่งออกเดือน ต.ค. ขยายตัวลดลงจากร้อยละ 20 เหลือเพียงร้อยละ 5 เป็นการส่งสัญญาณให้เห็นถึงการชะลอตัวของภาคการส่งออกมากขึ้น ซึ่งปีหน้าเศรษฐกิจ 3 ประเทศหลัก สหรัฐ ญ่ปุ่น และอียู จะเข้าสู่ภาวะถดถอย ดังนั้น ภาคการส่งออกของไทยคงได้รับผลกระทบตามไปด้วย |
. |
นางอัจนา ยืนยันว่านโยบายการเงินระยะต่อไปจะเน้นในเรื่องการดูแลอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเป็นหลัก หลังจากปัญหาเงินเฟ้อผ่อนคลายลงมาก เพราะการที่เศรษฐกิจไทยปีหน้าโตเพียงร้อยละ 0-2 ไม่เพียงพอต่อการดูแลคนยากจน แม้อัตราการว่างงานที่ประมาณ 800,000-900,000 คน จะไม่รุนแรงถึงร้อยละ 3.4 ของจีดีพี เท่ากับปี 2540 ก็ตาม |
. |
นอกจากนี้สิ่งที่เป็นห่วง คือ วิกฤติการณ์ทางการเมือง เพราะปัญหาการเมืองยืดเยื้อกว่า 3 ปี และวิกฤติการณ์ทางสังคมที่เกิดความแตกแยกทางความคิดของคนไทย ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน |
. |
"ปีนี้ถือเป็นปีประวัติศาสตร์ เพราะ กนง.ไม่เคยลดอัตราดอกเบี้ยทันทีร้อยละ 1 ขณะที่อัตราดอกเบี้ยสหรัฐก็ต่ำสุด ที่ร้อยละ 0-0.25" นางอัจนากล่าว |
. |
ส่วนข้อกังวลภาวะเงินฝืดในปี 2552 เพราะเศรษฐกิจขยายตัวลดลง นางอัจนา กล่าวว่า ขึ้นกับราคาน้ำมันในตลาดโลก เพราะว่าทางเทคนิค อัตราเงินเฟ้อขึ้นกับราคาน้ำมัน เมื่อราคาน้ำมันลดลง ราคาสินค้าก็ถูกลง ซึ่งจะมีผลให้เงินเฟ้อที่ต่ำอยู่แล้ว ลดลงต่ำไปอีก จนบางไตรมาสอาจจะถึงขั้นติดลบ ซึ่งถือเป็นภาวะเงินฝืดทางเทคนิค แต่ไม่ใช่เกิดจากการที่ประชาชนหยุดการใช้จ่าย เหมือนที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ ซึ่งในภาวะดังกล่าว ธปท.ยืนยันว่า ไม่น่าจะเกิดขึ้นกับประเทศไทย. |
. |
ที่มา : สำนักข่าวไทย |