เนื้อหาวันที่ : 2008-12-22 10:12:08 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 2190 views

สภาอุตฯ แนะ ก.แรงงานหาเงิน 5 พันล้านบาท แก้ปัญหาว่างงานปีหน้า

ส.อ.ท. แนะรัฐบาล "มาร์ค1" มอง ปีหน้าผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจจากต่างประเทศและภาวะเศรษฐกิจซบเซาภายในประเทศ จะส่งผลให้การจ้างงานลดลง ปัญหาการว่างงานทวีความรุนแรงมากขึ้น จึงต้องการให้รัฐบาลเตรียมดูแลแรงงานที่จะถูกปลดออกจากงาน

ส.อ.ท. แนะรัฐบาล "มาร์ค1" มอง ปีหน้าผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจจากต่างประเทศและภาวะเศรษฐกิจซบเซาภายในประเทศ จะส่งผลให้การจ้างงานลดลง ปัญหาการว่างงานทวีความรุนแรงมากขึ้น จึงต้องการให้รัฐบาลเตรียมดูแลแรงงานที่จะถูกปลดออกจากงาน

.

นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)

.

นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ปีหน้าผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจจากต่างประเทศและภาวะเศรษฐกิจซบเซาภายในประเทศ จะส่งผลให้การจ้างงานลดลง ปัญหาการว่างงานทวีความรุนแรงมากขึ้น จึงต้องการให้รัฐบาล

.

โดยเฉพาะกระทรวงแรงงานเร่งจัดทำมาตรการรองรับใน 2 มาตรการหลัก ได้แก่ หารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้พิจารณาขยายขอบข่ายการให้กู้ยืมเงินของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ซึ่งน่าจะพิจารณาให้นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาแล้วและกำลังจะเข้าสู่ตลาดแรงงาน ให้สามารถกู้เงินเพื่อเรียนต่อไปก่อน เพื่อให้มีความรู้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะช่วยชะลอการเข้ามาในตลาดแรงงานของผู้สำเร็จการศึกษาใหม่ให้ลดลงได้

.

นอกจากนี้ ควรพิจารณาตั้งกองทุนเพื่อฝึกอบรมเพิ่มทักษะฝีมือให้กับแรงงานที่มีงานทำอยู่แล้ว โดยแทนที่จะปลดออกจากงาน ก็นำแรงงานไปฝึกอบรมเพิ่มทักษะฝีมือให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งระยะเวลาฝึกอบรมจะต้องต่อเนื่องไปจนถึงกลางปี 2552 และเมื่อสถานการณ์เศรษฐกิจดีขึ้น ความต้องการแรงงานเพิ่มขึ้น แรงงานเหล่านี้ก็มีศักยภาพที่พร้อมสำหรับความต้องการแรงงานฝีมือที่จะมีขึ้นในอนาคต

.

ซึ่งวิธีการนี้ นอกจากช่วยชะลอการเลิกจ้างแล้ว ยังช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับภาคอุตสาหกรรมของประเทศได้อีกทางหนึ่งด้วย ส่วนแรงงานในอุตสาหกรรมใดที่ควรดำเนินการในลักษณะนี้ กระทรวงแรงงานควรหารือกับสภาอุตสาหกรรมฯ กรมอาชีวศึกษา เพื่อให้แรงงานตรงกับความต้องการของตลาด

.

อีกมาตรการคือ จัดหางบประมาณจำนวนประมาณ 3,000 ล้านบาท เพื่อใช้ในการจ่ายเงินให้กับผู้ว่างงาน ซึ่งปกติจะได้รับเงินจากกองทุนประกันสังคมนาน 6 เดือน ก็ให้ขยายระยะเวลาการจ่ายเงินให้กับแรงงานที่ว่างงานให้กว่า 6 เดือน โดยให้แรงงานที่ประสบปัญหาว่างงานจริงจะต้องมาขึ้นทะเบียนขอรับความช่วยเหลือจากรัฐบาล

.

สำหรับงบประมาณที่จะใช้ในภาพรวมจะเป็นเท่าใดนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานจะต้องเป็นผู้พิจารณาความเหมาะสม ในเบื้องต้น สภาอุตสาหกรรมฯ ประมาณการว่า งบประมาณที่จะต้องใช้ตามมาตรการดังกล่าว น่าจะเพิ่มจากรัฐบาลเดิมที่ได้ทำไว้แล้ว 1,500 ล้านบาท โดยตัวเลขในภาพรวมอาจเพิ่มขึ้นมาจะอยู่ในระดับประมาณ 5,000 ล้านบาท ซึ่งอาจขอใช้เงินจากการเพิ่มงบประมาณกลางปี 2552 จำนวน 100,000 ล้านบาทได้

.

ส่วนการแก้ไขปัญหาการว่างงานที่สภาอุตสาหกรรมฯ ทำอยู่แล้วก็คือ จัดทำโครงการแมทชิ่งแรงงาน หรือจับคู่ระหว่างโรงงานที่จะเลิกจ้าง กับโรงงานที่ต้องการแรงงาน โดยให้โรงงานที่เป็นสมาชิกสภาอุตสาหกรรมฯ แจ้งเข้ามาว่า ต้องการแรงงานประเภทใด จำนวนเท่าใด ก็ให้แจ้งความต้องการพร้อมรายละเอียดความต้องการมาที่สภาอุตสาหกรรมฯ

.

เพื่อจะส่งแรงงานที่ถูกเลิกจ้างเข้าไปทำงาน เพราะขณะนี้บางอุตสาหกรม เช่น อุตสาหกรรมสิ่งทอต้องการมากกว่า 10,000 ตำแหน่ง อุตสาหกรรมรองเท้าก็ต้องการแรงงานฝีมือจำนวนมากเช่นกัน.

.

ที่มา : สำนักข่าวไทย